ปิดประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบลระดับชาติเฟ้น 5 ปัญหาหลัก ‘สิทธิชุมชน-สิทธิมนุษยชน-กระจายอำนาจ-ศก.ฐานราก-นโยบายรัฐ’ เสนอ รมว.พม.-ครม.แก้ปัญหาประชาชนทั่วประเทศ

ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนฯ ยื่นประเด็นข้อเสนอการแก้ไขปัญหาจากที่ประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบลระดับชาติให้ผู้แทนรมว. กระทรวง พม.

พอช. / ที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลประชุมวันสุดท้ายที่ พอช.  รวบรวมปัญหาจากชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศ  5 ด้าน  คือ  สิทธิชุมชน  สิทธิมนุษยชน  การกระจายอำนาจ  เศรษฐกิจฐานราก  และผลกระทบจากนโยบายการพัฒนาของรัฐเสนอ รมว.กระทรวง พม. เพื่อนำเข้าสู่ ครม.เพื่อพิจารณาสั่งการ โดยมี นต.สุธรรม  เลขาฯ รมว.พม.เป็นผู้แทนรับมอบ  ด้าน ‘กอบศักดิ์’ ประธานบอร์ด พอช. ย้ำ “พอช.เป็นเสบียงสนับสนุนชุมชน”

ระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน  มีการจัด ‘การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล ประจำปี 2565’  ที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ หรือ ‘พอช.’ ถนนนวมินทร์  เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ  โดยมีผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลทั่วประเทศ  77 จังหวัดๆ ละ 2 คน  ผู้ทรงคุณวุฒิ  พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่และผู้บริหาร พอช. เข้าร่วมประชุมประมาณ 200 คน

14 ปีสภาองค์กรชุมชนตำบลจัดตั้งแล้ว 7,795 แห่งทั่วประเทศ

โดยในวันนี้ (30 พ.ย.) เป็นการประชุมวันสุดท้าย  ในช่วงเช้ามีการประชุมตามระเบียบวาระต่อเนื่องจากเมื่อวาน  เพื่อเตรียมนำข้อเสนอจากที่ประชุมในระดับชาติฯ เสนอต่อนายจุติ  ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาแก้ไขปัญหาของคณะรัฐมนตรีต่อไป   โดยนาวาตรีสุธรรม ระหงษ์  เลขานุการ รมว.พม. เดินทางมารับมอบข้อเสนอจากที่ประชุมแทนนายจุติ  ไกรฤกษ์  รมว. พม.  

การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลที่ พอช.วันสุดท้าย

ทั้งนี้สภาองค์กรชุมชนตำบลก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2551 ตาม ‘พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551’ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ  รักษาการตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้  และมีสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ ทำหน้าที่ส่งเสริมการจัดตั้งและการดำเนินกิจการของสภาองค์กรชุมชนตำบล

ปัจจุบันสภาองค์กรชุมชนตำบลดำเนินการมาได้ 14 ปี  มีการจัดตั้งในระดับตำบล  เทศบาล  และเขต (ในกรุงเทพฯ)  รวมทั้งหมด 7,795 แห่ง  คิดเป็นร้อยละ 99.62 ของจำนวนตำบล/เทศบาล/เขตทั่วประเทศ (7,825 แห่ง)  ที่ผ่านมา  สภาฯ มีบทบาทในการเป็นกลไกการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น  รวมทั้งยังสามารถนำปัญหาหรือผลกระทบจากการพัฒนาประเทศเสนอเข้าสู่ที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลเพื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีได้ (ดู ข้อมูลเพิ่มเติมที่ ‘14 ปี สภาองค์กรชุมชน... / www.thaipost.net/public-relations-news/270916/)

ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนฯ จากจังหวัดต่างๆ เสนอความเห็น

ปัญหาและข้อเสนอจากชุมชนท้องถิ่นสู่ ครม.

นายทองใบ  สิงสีทา  หัวหน้าสำนัก  สำนักประสานเครือข่ายสภาองค์กรชุมชน  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  กล่าวว่า ตาม พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551’  มาตรา 30  กำหนดว่า  “ในปีหนึ่งให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ จัดให้มีการประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลอย่างน้อยหนึ่งครั้ง” 

มาตรา 32  ให้ที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล  ดำเนินการเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

(1)กำหนดมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งและการพัฒนาสภาองค์กรชุมชนในระดับตำบลให้เกิดความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้  เพื่อเสนอให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ

(2) ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคมและกฎหมาย รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะของหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผลต่อพื้นที่มากกว่าหนึ่งจังหวัดทั้งด้านเศรษฐกิจ  สังคม  คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม

(3) สรุปปัญหาที่ประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ประสบ และข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขเพื่อเสนอต่อคณะ รัฐมนตรีพิจารณาสั่งการ

การประชุมในปีนี้มี Theme หรือสาระสำคัญในการประชุม  คือ สภาองค์กรชุมชนเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา  สร้างการกระจายอำนาจ  สู่ความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น  ภายใต้วิถีวัฒนธรรมพื้นถิ่น โดยจะมีการประชุมหารือใน 5 ประเด็นหลัก  คือ  1.สิทธิชุมชน  2.สิทธิมนุษยชน  -3.การกระจายอำนาจ  4.เศรษฐกิจฐานราก  และ 5.ผลกระทบจากนโยบายการพัฒนา  เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก  โครงการผันน้ำยวม  จังหวัดแม่ฮ่องสอน  ฯลฯ  เพื่อนำข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาจากภาคประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ต่อไป”  นายทองใบกล่าว

ข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคประชาชนสู่ ครม.

นายประยูร  จงไกรจักร  ประธานที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล กล่าวว่า  การประชุมระดับชาติในปี 2565 นี้ ที่ประชุมได้รวบรวมนำเสนอปัญหาในท้องถิ่นและปัญหาเชิงนโยบายจากทั่วประเทศที่มีผลกระทบต่อประชาชน  รวมทั้งหมด  5 ประเด็นหลัก  เพื่อเตรียมนำเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)  และนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาแก้ไขปัญหาของคณะรัฐมนตรีต่อไป   โดยมีประเด็นต่างๆ  ดังนี้

1.ประเด็นสิทธิชุมชน ประกอบด้วย ข้อเสนอด้านที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย การจัดการทรัพยากร การจัดการน้ำ สภาพภูมิอากาศ  การจัดการภัยพิบัติ  กลุ่มชาติพันธุ์ และประมงพื้นบ้าน 

โดยมีกรณีเร่งด่วน  คือ  ปัญหาที่ชาวเลหรือกลุ่มชาติพันธุ์อุรักลาโว้ย  บนเกาะหลีเป๊ะ  จ.สตูล  ถูกเอกชนอ้างเอกสารสิทธิครอบครองที่ดินที่ชาวบ้านเคยใช้ประโยชน์ร่วมกันปิดกั้นเส้นทางสาธารณะที่ชาวบ้านใช้ร่วมกันมานานตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ โดยเอกชนนำรั้วตาข่ายมากั้นเป็นประตู  ทำให้ชาวบ้านและเด็กนักเรียนไม่สามารถใช้เส้นทางนี้ได้ ต้องเดินอ้อมไปไกล  เกิดผลกระทบต่อการไปโรงเรียนของเด็กและชาวบ้านที่ต้องเดินผ่านเพื่อไปสถานีอนามัย  ฯลฯ

นอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมา  ชาวเลถูกนายทุนฟ้องร้องเพื่อขับไล่ออกจากที่ดินที่เคยอยู่อาศัยมานานประมาณ 30 คดี  จึงให้ที่ประชุมนำปัญหานี้เสนอให้ผู้แทนกระทรวง พม.ที่จะมารับข้อเสนอจากที่ประชุมในวันนี้ด้วย

ชาวเลที่เกาะหลีเป๊ะ  จ.สตูล

ประเด็นสิทธิมนุษยชน  ประกอบด้วยข้อเสนอ เช่น  ด้านสิทธิทางการเมือง  การแสดงออกทางสังคมการเมือง  กรณีการชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองของประชาชนถูกจับกุม  ทำร้ายร่างกาย  ถูกละเมิดสิทธิ  จึงเสนอให้มีการคุ้มครองสิทธิและมีพื้นที่ปลอดภัยให้แก่ประชาชน ด้านสวัสดิการสังคม ประชาชนเข้าไม่ถึงสวัสดิการพื้นฐานจากรัฐ  ควรปรับปรุงให้เป็นระบบรัฐสวัสดิการ  ด้านกลุ่มชาติพันธุ์  ถูกจำกัดสิทธิด้านต่างๆ  ควรได้รับสิทธิคุ้มครองและบริการเท่าเทียมกับประชาชนทั่วไป    และด้านพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้  การถูกรุกรานจากโครงการพัฒนาของรัฐ เช่น  โรงไฟฟ้าชีวมวล  สัมปทานเหมืองหิน  แต่เมื่อประชาชนนำเสนอปัญหากลับถูกคุกคาม จึงต้องให้การปกป้องคุ้มครองสิทธิในการแสดงออก

3.ประเด็นการกระจายอำนาจ  ประกอบด้วยข้อเสนอด้านการปกครอง  การจัดการทรัพยากร  และการพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ (จังหวัดจัดการตนเอง)  มีตัวอย่างข้อเสนอ  เช่น  การกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมีความเป็นอิสระ  เพื่อลดอำนาจรัฐจากส่วนกลาง  เพื่อให้ท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง  มีความเจริญ  ลดความแออัดด้านการพัฒนา   สามารถใช้อำนาจรัฐปกครองตัวเองได้ตามวิถีชีวิตของแต่ละท้องถิ่น 

โดยจะต้อง 1.กระจายอำนาจทางการเมือง เพื่อท้องถิ่นสามารถเลือกผู้นำได้ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่

2.กระจายอำนาจด้านการบริหาร  3.กระจายอำนาจด้านการคลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถรับงบประมาณพัฒนาจากท้องถิ่นได้โดยตรง  และ 4.การกระจายอำนาจด้านกฎหมาย เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถออกกฎหมายให้เหมาะสมกับท้องถิ่นได้  ฯลฯ 

4.ประเด็นเศรษฐกิจฐานราก  มีตัวอย่างข้อเสนอ  เช่น  1.เรื่องเขตเศรษฐกิจ EEC มีข้อเสนอให้ยกเลิกผังเมืองรวมที่กำหนดขึ้นมาใหม่  และให้กลับไปใช้ผังเมืองเดิมของจังหวัดนั้นๆ   2.กระบวนการพิจารณาวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมควรให้มีสัดส่วนของประชาชนในท้องถิ่นมากกว่าคณะกรรมการที่มาจากส่วนกลาง   3.ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG หรือเศรษฐกิจชีวภาพ  ควรให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนเป็นสำคัญ  4. BCG ควรให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการขนาดเล็ก  ประชาชนในท้องถิ่น  มากกว่าธุรกิจรายใหญ่  5.การอนุรักษ์พันธุ์พืชพื้นบ้าน  ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว  ฯลฯ

5.ประเด็นนโยบายการพัฒนาของรัฐ  ประเด็นย่อยประกอบด้วย  ด้านสิทธิการพัฒนาพื้นที่  เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคเหนือ ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง แลนด์บริดจ์ภาคใต้ ไทย-มาเลเซีย-อินโดนีเซีย  โครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ จ.สงขลา ซึ่งจะส่งผลกระทบกับความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของประชาชนหลายด้าน  โครงการสร้างเขื่อน  อุโมงค์ผันน้ำยวม  จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่  และตาก  จะเกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม  ทรัพยาป่าไม้  ถิ่นที่อยู่อาศัยของประชาชนชน  ฯลฯ

มีตัวอย่างข้อเสนอ   1.รัฐต้องให้ความสำคัญกับสิทธิชุมชนในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเอง  2.การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ต้องให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการมากขึ้น  3.เรื่องเศรษฐกิจสีเขียว  คาร์บอนเครดิต   ฯลฯ  ต้องทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจ

นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอจากที่ประชุมฯ ต่อสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ หรือ พอช.  เพื่อให้ พอช.สนับสนุนส่งเสริมให้สภาองค์กรชุมชนในระดับตำบลเกิดความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้  เช่น  ให้ พอช.จัดทำแผนสนับสนุนการทำงานของสภาฯ อย่างเป็นระบบ  ใช้สภาฯ เป็นพื้นที่กลางในการขับเคลื่อนงาน  ปรับรูปแบบการทำงานของ พอช.จากงานเชิงประเด็น  เป็นงานเชิงยุทธศาสตร์   ให้ พอช.สนับสนุนการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายของสภาฯ  ให้เป็นวาะร่วมทางสังคม   ให้มีการสื่อสารผลงานรูปธรรมพื้นที่ของสภาฯ ให้สังคมสาธารณะได้รับรู้  ฯลฯ

“ข้อเสนอต่างๆ จากที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลในวันนี้  จะรวบรวมเพื่อนำเสนอต่อ พอช.และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ  เพื่อนำเสนอเข้าสู่การประชุมของคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป”  ประธานที่ประชุมกล่าว

ผู้แทน รมว.พม.รับมอบข้อเสนอจากประชาชน

ทั้งนี้การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลประจำปี 2565  ในวันสุดท้าย (30 พ.ย.)  นาวาตรีสุธรรม  ระหงษ์  เลขานุการ รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้เดินทางมารับมอบข้อเสนอจากที่ประชุมแทน รมว.พม. เพื่อนำไปดำเนินการตาม พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551 ต่อไป

โดยมาตรา 32 กำหนดให้ที่ประชุมดำเนินการเรื่องต่างๆ  (3)  สรุปปัญหาที่ประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ประสบ  และข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการ”

นาวาตรีสุธรรม  ระหงษ์  กล่าวว่า  ที่ผ่านมา พอช.ได้หนุนเสริมในการจดแจ้งจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนและพัฒนาความเข้มแข็งของสภาองค์กรชุมชนมาโดยตลอด จนทำให้เกิดผู้นำสภาองค์กรชุมชนที่มีศักยภาพเข้มแข็ง เกิดผู้นำท้องถิ่นต่าง ๆ มากมายที่ได้ร่วมมือในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่เกิดความเข้มเข็ง ภายใต้ พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน

นาวาตรีสุธรรม  ระหงษ์ 

“ในวันนี้รัฐมนตรีกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ นายจุติ ไกรฤกษ์  ได้ฝากถึงผู้นำสภาองค์กรชุมชนว่ารู้สึกท่านรู้สึกเป็นเกียรติที่ให้กระทรวงการพัฒนาสังคม ฯ มารับข้อเสนอเชิงนโยบายของที่ประชุม ฯ และได้ดำเนินการตามระเบียบวาระประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชน  รวมถึงได้รวบรวมข้อเสนอที่ระชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  จึงขอขอบคุณทุกท่านที่ได้ร่วมจัดการประชุม และดำเนินการจัดประชุมได้ครบถ้วนสมบูรณ์  และฝากกล่าวให้กำลังใจแก่สภาองค์กรชุมชน ในการทำงานพัฒนาชุมชนต่อไป” 

เลขาฯ รมว.พม.กล่าว  และว่า ในส่วนของการพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนต้องมีการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ   รวมไปถึงการเชื่อมโยงการพัฒนาของชุมชนร่วมกับภาคการเมือง จะเป็นแนวทางให้เกิดแผนการพัฒนา  และการค้นหาแนวทางหนุนเสริมการทำโครงการต่าง ๆ ที่ประชาชนจะได้รับการช่วยเหลือ หรือได้รับการแก้ไขปัญหาอื่น ๆ ในพื้นที่ที่มีหน่วยงานในท้องถิ่นเข้ามาให้การสนับสนุน  โดยต้องให้สภาองค์กรชุมชนเสริมสร้างการเครือข่ายในการทำงานเพิ่มขึ้น และมุ่งหวังให้เกิดการสร้างความเข้มแข็ง  สร้างองค์ความรู้ในการทำงานต่อไป 

ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนฯ  มอบข้อเสนอต่อผู้แทน รมว.พม.

‘กอบศักดิ’ ย้ำ “พอช.จะเป็นเสบียงหนุนเสริมเปลี่ยนประเทศไทยใน 3 ปี”

การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลวันสุดท้ายนี้  ดร.กอบศักดิ์  ภูตระกูล  ประธานคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ   บรรยายพิเศษ  ‘เรื่องการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง’   มีสาระสำคัญว่า   พี่น้องชุมชนต่างๆ ทำโครงการพัฒนามานาน  ขณะที่ พอช.มีงบประมาณน้อย  พี่น้องก็เข้าไม่ถึงแหล่งทุน  เพราะไม่รู้ข้อมูล  ไม่รู้ว่าจะติดต่อที่ไหน  อย่างไร  ทั้งที่หน่วยงานต่างๆ เช่น  กระทรวงพลังงาน  กระทรวงการอุมดมศึกษา  วิทยาศาสตร์ฯ มีงบประมาณหลายพันล้านบาท   รวมทั้งบริษัทเอกชนหลายแห่งที่อยากจะสนับสนุนชุมชน

ดร.กอบศักดิ์  ภูตระกูล  ประธานบอร์ด พอช.

“บริษัทเอกชนบริจาคให้วัด  โรงเรียน  ปีหนึ่ง  100 ล้านบาท  ผมจะชวนเขามาทำงานกับ พอช.และชุมชน      จะเป็นโครงการที่หากทำได้  จะมีเงินมาที่ พอช. และชุมชนโดยตรง  นอกจากนี้องค์กรระหว่างประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ อยากมาทำเรื่องโค  แพะ   แกะ  เขาสามารถมาร่วมกับชุมชนที่เข้มแข็ง  ญี่ปุ่นอยากทำหอยมุก   หากเราทำได้เรื่อย ๆ  จะนำเงินของรัฐบาลต่างประเทศและเอกชนมาทำงานกับเรา  เราอยู่กัน 3 ปี จะทำให้เป็น 3 ปีที่ดีที่สุด”  ดร.กอบศักดิ์กล่าวถึงเป้าหมายวาระการทำงานในฐานะประธานบอร์ด พอช.คนใหม่ในช่วง 3 ปีที่เหลือ

ดร.กอบศักดิ์กล่าวต่อไปว่า  เมื่อถึงจุดนั้น  เมืองไทยจะเป็นต้นแบบของทุก ๆ เรื่อง และตนอยากจะทำโรงเรียนคนรุ่นใหม่  เพื่อสร้างคนรุ่นต่อไป  และจะทำศูนย์เรียนรู้ online  โดยให้พี่น้องชุมชนเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนใน social media   เช่น  เรื่องป่า   เรื่องบ้านมั่นคง  ฯลฯ  และมีทีมงานด้านเทคนิคที่สามารถรายงานสถานการณ์ต่างๆ ผ่าน Application line  เช่น  รายงานสถานการณ์น้ำท่วม  หากบ้านไหนเสียหายจากภัยพิบัติจะได้รีบช่วยเหลือซ่อมแซม

เขาบอกด้วยว่า  หากเราทำเรื่องป่าชุมชน  การปลูกไม้มีค่า  ทำธนาคารปูม้า  ซึ่งเป็นเศรษฐกิจชุมชนที่มีมูลค่าสูงเทียบเท่ากับราคาทองคำ  ชุมชนก็ไม่ต้องรองบประมาณจากรัฐ  เพราะชุมชนสามารถกำหนดชีวิตได้เอง  ไม่ต้องรอใคร

ผมมั่นใจว่าเราทุกคนทำได้  ไม่ต้องรอเขา  หากเขาให้งบประมาณเพิ่มก็ดีใจ  หากไม่ให้งบประมาณเพิ่มก็หาเองได้  ผมเชื่อมั่นว่าเงิน 10 ล้านบาทหาเองได้  10 ปีก็ 100 ล้านบาท  เราจะมี 8,000 ทีม ทุกคนไม่ต้องเหมือนกัน  เรามีความหลากหลาย  พอช.จะเป็นกองเสบียงหนุนเสริม   เราจะเปลี่ยนประเทศไทยภายใน 3 ปี”  ดร.กอบศักดิ์กล่าวถึงเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้สภาองค์กรชุมชนฯ ทั่วประเทศที่จัดตั้งทั่วประเทศเกือบ 8,000 แห่ง (7,795 แห่ง) มีบทบาทในการเปลี่ยนประเทศไทย

 

เรื่องและภาพ :  สำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชนจัดการความรู้และสื่อสาร  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)

ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนฯ ยื่นประเด็นข้อเสนอการแก้ไขปัญหาจากที่ประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบลระดับชาติให้ผู้แทนรมว. กระทรวง พม.

พอช. / ที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลประชุมวันสุดท้ายที่ พอช.  รวบรวมปัญหาจากชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศ  5 ด้าน  คือ  สิทธิชุมชน  สิทธิมนุษยชน  การกระจายอำนาจ  เศรษฐกิจฐานราก  และผลกระทบจากนโยบายการพัฒนาของรัฐเสนอ รมว.กระทรวง พม. เพื่อนำเข้าสู่ ครม.เพื่อพิจารณาสั่งการ โดยมี นต.สุธรรม  เลขาฯ รมว.พม.เป็นผู้แทนรับมอบ  ด้าน ‘กอบศักดิ์’ ประธานบอร์ด พอช. ย้ำ “พอช.เป็นเสบียงสนับสนุนชุมชน”

ระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน  มีการจัด ‘การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล ประจำปี 2565’  ที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ หรือ ‘พอช.’ ถนนนวมินทร์  เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ  โดยมีผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลทั่วประเทศ  77 จังหวัดๆ ละ 2 คน  ผู้ทรงคุณวุฒิ  พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่และผู้บริหาร พอช. เข้าร่วมประชุมประมาณ 200 คน

14 ปีสภาองค์กรชุมชนตำบลจัดตั้งแล้ว 7,795 แห่งทั่วประเทศ

โดยในวันนี้ (30 พ.ย.) เป็นการประชุมวันสุดท้าย  ในช่วงเช้ามีการประชุมตามระเบียบวาระต่อเนื่องจากเมื่อวาน  เพื่อเตรียมนำข้อเสนอจากที่ประชุมในระดับชาติฯ เสนอต่อนายจุติ  ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาแก้ไขปัญหาของคณะรัฐมนตรีต่อไป   โดยนาวาตรีสุธรรม ระหงษ์  เลขานุการ รมว.พม. เดินทางมารับมอบข้อเสนอจากที่ประชุมแทนนายจุติ  ไกรฤกษ์  รมว. พม.  

การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลที่ พอช.วันสุดท้าย

ทั้งนี้สภาองค์กรชุมชนตำบลก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2551 ตาม ‘พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551’ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ  รักษาการตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้  และมีสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ ทำหน้าที่ส่งเสริมการจัดตั้งและการดำเนินกิจการของสภาองค์กรชุมชนตำบล

ปัจจุบันสภาองค์กรชุมชนตำบลดำเนินการมาได้ 14 ปี  มีการจัดตั้งในระดับตำบล  เทศบาล  และเขต (ในกรุงเทพฯ)  รวมทั้งหมด 7,795 แห่ง  คิดเป็นร้อยละ 99.62 ของจำนวนตำบล/เทศบาล/เขตทั่วประเทศ (7,825 แห่ง)  ที่ผ่านมา  สภาฯ มีบทบาทในการเป็นกลไกการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น  รวมทั้งยังสามารถนำปัญหาหรือผลกระทบจากการพัฒนาประเทศเสนอเข้าสู่ที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลเพื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีได้ (ดู ข้อมูลเพิ่มเติมที่ ‘14 ปี สภาองค์กรชุมชน... / www.thaipost.net/public-relations-news/270916/)

ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนฯ จากจังหวัดต่างๆ เสนอความเห็น

ปัญหาและข้อเสนอจากชุมชนท้องถิ่นสู่ ครม.

นายทองใบ  สิงสีทา  หัวหน้าสำนัก  สำนักประสานเครือข่ายสภาองค์กรชุมชน  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  กล่าวว่า ตาม พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551’  มาตรา 30  กำหนดว่า  “ในปีหนึ่งให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ จัดให้มีการประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลอย่างน้อยหนึ่งครั้ง” 

มาตรา 32  ให้ที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล  ดำเนินการเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

(1)กำหนดมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งและการพัฒนาสภาองค์กรชุมชนในระดับตำบลให้เกิดความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้  เพื่อเสนอให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ

(2) ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคมและกฎหมาย รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะของหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผลต่อพื้นที่มากกว่าหนึ่งจังหวัดทั้งด้านเศรษฐกิจ  สังคม  คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม

(3) สรุปปัญหาที่ประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ประสบ และข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขเพื่อเสนอต่อคณะ รัฐมนตรีพิจารณาสั่งการ

การประชุมในปีนี้มี Theme หรือสาระสำคัญในการประชุม  คือ สภาองค์กรชุมชนเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา  สร้างการกระจายอำนาจ  สู่ความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น  ภายใต้วิถีวัฒนธรรมพื้นถิ่น โดยจะมีการประชุมหารือใน 5 ประเด็นหลัก  คือ  1.สิทธิชุมชน  2.สิทธิมนุษยชน  -3.การกระจายอำนาจ  4.เศรษฐกิจฐานราก  และ 5.ผลกระทบจากนโยบายการพัฒนา  เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก  โครงการผันน้ำยวม  จังหวัดแม่ฮ่องสอน  ฯลฯ  เพื่อนำข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาจากภาคประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ต่อไป”  นายทองใบกล่าว

ข้อเสนอเชิงนโยบายจากภาคประชาชนสู่ ครม.

นายประยูร  จงไกรจักร  ประธานที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล กล่าวว่า  การประชุมระดับชาติในปี 2565 นี้ ที่ประชุมได้รวบรวมนำเสนอปัญหาในท้องถิ่นและปัญหาเชิงนโยบายจากทั่วประเทศที่มีผลกระทบต่อประชาชน  รวมทั้งหมด  5 ประเด็นหลัก  เพื่อเตรียมนำเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)  และนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาแก้ไขปัญหาของคณะรัฐมนตรีต่อไป   โดยมีประเด็นต่างๆ  ดังนี้

1.ประเด็นสิทธิชุมชน ประกอบด้วย ข้อเสนอด้านที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย การจัดการทรัพยากร การจัดการน้ำ สภาพภูมิอากาศ  การจัดการภัยพิบัติ  กลุ่มชาติพันธุ์ และประมงพื้นบ้าน 

โดยมีกรณีเร่งด่วน  คือ  ปัญหาที่ชาวเลหรือกลุ่มชาติพันธุ์อุรักลาโว้ย  บนเกาะหลีเป๊ะ  จ.สตูล  ถูกเอกชนอ้างเอกสารสิทธิครอบครองที่ดินที่ชาวบ้านเคยใช้ประโยชน์ร่วมกันปิดกั้นเส้นทางสาธารณะที่ชาวบ้านใช้ร่วมกันมานานตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ โดยเอกชนนำรั้วตาข่ายมากั้นเป็นประตู  ทำให้ชาวบ้านและเด็กนักเรียนไม่สามารถใช้เส้นทางนี้ได้ ต้องเดินอ้อมไปไกล  เกิดผลกระทบต่อการไปโรงเรียนของเด็กและชาวบ้านที่ต้องเดินผ่านเพื่อไปสถานีอนามัย  ฯลฯ

นอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมา  ชาวเลถูกนายทุนฟ้องร้องเพื่อขับไล่ออกจากที่ดินที่เคยอยู่อาศัยมานานประมาณ 30 คดี  จึงให้ที่ประชุมนำปัญหานี้เสนอให้ผู้แทนกระทรวง พม.ที่จะมารับข้อเสนอจากที่ประชุมในวันนี้ด้วย

ชาวเลที่เกาะหลีเป๊ะ  จ.สตูล

ประเด็นสิทธิมนุษยชน  ประกอบด้วยข้อเสนอ เช่น  ด้านสิทธิทางการเมือง  การแสดงออกทางสังคมการเมือง  กรณีการชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองของประชาชนถูกจับกุม  ทำร้ายร่างกาย  ถูกละเมิดสิทธิ  จึงเสนอให้มีการคุ้มครองสิทธิและมีพื้นที่ปลอดภัยให้แก่ประชาชน ด้านสวัสดิการสังคม ประชาชนเข้าไม่ถึงสวัสดิการพื้นฐานจากรัฐ  ควรปรับปรุงให้เป็นระบบรัฐสวัสดิการ  ด้านกลุ่มชาติพันธุ์  ถูกจำกัดสิทธิด้านต่างๆ  ควรได้รับสิทธิคุ้มครองและบริการเท่าเทียมกับประชาชนทั่วไป    และด้านพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้  การถูกรุกรานจากโครงการพัฒนาของรัฐ เช่น  โรงไฟฟ้าชีวมวล  สัมปทานเหมืองหิน  แต่เมื่อประชาชนนำเสนอปัญหากลับถูกคุกคาม จึงต้องให้การปกป้องคุ้มครองสิทธิในการแสดงออก

3.ประเด็นการกระจายอำนาจ  ประกอบด้วยข้อเสนอด้านการปกครอง  การจัดการทรัพยากร  และการพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ (จังหวัดจัดการตนเอง)  มีตัวอย่างข้อเสนอ  เช่น  การกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมีความเป็นอิสระ  เพื่อลดอำนาจรัฐจากส่วนกลาง  เพื่อให้ท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง  มีความเจริญ  ลดความแออัดด้านการพัฒนา   สามารถใช้อำนาจรัฐปกครองตัวเองได้ตามวิถีชีวิตของแต่ละท้องถิ่น 

โดยจะต้อง 1.กระจายอำนาจทางการเมือง เพื่อท้องถิ่นสามารถเลือกผู้นำได้ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่

2.กระจายอำนาจด้านการบริหาร  3.กระจายอำนาจด้านการคลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถรับงบประมาณพัฒนาจากท้องถิ่นได้โดยตรง  และ 4.การกระจายอำนาจด้านกฎหมาย เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถออกกฎหมายให้เหมาะสมกับท้องถิ่นได้  ฯลฯ 

4.ประเด็นเศรษฐกิจฐานราก  มีตัวอย่างข้อเสนอ  เช่น  1.เรื่องเขตเศรษฐกิจ EEC มีข้อเสนอให้ยกเลิกผังเมืองรวมที่กำหนดขึ้นมาใหม่  และให้กลับไปใช้ผังเมืองเดิมของจังหวัดนั้นๆ   2.กระบวนการพิจารณาวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมควรให้มีสัดส่วนของประชาชนในท้องถิ่นมากกว่าคณะกรรมการที่มาจากส่วนกลาง   3.ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG หรือเศรษฐกิจชีวภาพ  ควรให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนเป็นสำคัญ  4. BCG ควรให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการขนาดเล็ก  ประชาชนในท้องถิ่น  มากกว่าธุรกิจรายใหญ่  5.การอนุรักษ์พันธุ์พืชพื้นบ้าน  ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว  ฯลฯ

5.ประเด็นนโยบายการพัฒนาของรัฐ  ประเด็นย่อยประกอบด้วย  ด้านสิทธิการพัฒนาพื้นที่  เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคเหนือ ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง แลนด์บริดจ์ภาคใต้ ไทย-มาเลเซีย-อินโดนีเซีย  โครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ จ.สงขลา ซึ่งจะส่งผลกระทบกับความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของประชาชนหลายด้าน  โครงการสร้างเขื่อน  อุโมงค์ผันน้ำยวม  จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่  และตาก  จะเกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม  ทรัพยาป่าไม้  ถิ่นที่อยู่อาศัยของประชาชนชน  ฯลฯ

มีตัวอย่างข้อเสนอ   1.รัฐต้องให้ความสำคัญกับสิทธิชุมชนในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเอง  2.การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ต้องให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการมากขึ้น  3.เรื่องเศรษฐกิจสีเขียว  คาร์บอนเครดิต   ฯลฯ  ต้องทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจ

นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอจากที่ประชุมฯ ต่อสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ หรือ พอช.  เพื่อให้ พอช.สนับสนุนส่งเสริมให้สภาองค์กรชุมชนในระดับตำบลเกิดความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้  เช่น  ให้ พอช.จัดทำแผนสนับสนุนการทำงานของสภาฯ อย่างเป็นระบบ  ใช้สภาฯ เป็นพื้นที่กลางในการขับเคลื่อนงาน  ปรับรูปแบบการทำงานของ พอช.จากงานเชิงประเด็น  เป็นงานเชิงยุทธศาสตร์   ให้ พอช.สนับสนุนการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายของสภาฯ  ให้เป็นวาะร่วมทางสังคม   ให้มีการสื่อสารผลงานรูปธรรมพื้นที่ของสภาฯ ให้สังคมสาธารณะได้รับรู้  ฯลฯ

“ข้อเสนอต่างๆ จากที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลในวันนี้  จะรวบรวมเพื่อนำเสนอต่อ พอช.และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ  เพื่อนำเสนอเข้าสู่การประชุมของคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป”  ประธานที่ประชุมกล่าว

ผู้แทน รมว.พม.รับมอบข้อเสนอจากประชาชน

ทั้งนี้การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลประจำปี 2565  ในวันสุดท้าย (30 พ.ย.)  นาวาตรีสุธรรม  ระหงษ์  เลขานุการ รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้เดินทางมารับมอบข้อเสนอจากที่ประชุมแทน รมว.พม. เพื่อนำไปดำเนินการตาม พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551 ต่อไป

โดยมาตรา 32 กำหนดให้ที่ประชุมดำเนินการเรื่องต่างๆ  (3)  สรุปปัญหาที่ประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ประสบ  และข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการ”

นาวาตรีสุธรรม  ระหงษ์  กล่าวว่า  ที่ผ่านมา พอช.ได้หนุนเสริมในการจดแจ้งจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนและพัฒนาความเข้มแข็งของสภาองค์กรชุมชนมาโดยตลอด จนทำให้เกิดผู้นำสภาองค์กรชุมชนที่มีศักยภาพเข้มแข็ง เกิดผู้นำท้องถิ่นต่าง ๆ มากมายที่ได้ร่วมมือในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่เกิดความเข้มเข็ง ภายใต้ พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน

นาวาตรีสุธรรม  ระหงษ์ 

“ในวันนี้รัฐมนตรีกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ นายจุติ ไกรฤกษ์  ได้ฝากถึงผู้นำสภาองค์กรชุมชนว่ารู้สึกท่านรู้สึกเป็นเกียรติที่ให้กระทรวงการพัฒนาสังคม ฯ มารับข้อเสนอเชิงนโยบายของที่ประชุม ฯ และได้ดำเนินการตามระเบียบวาระประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชน  รวมถึงได้รวบรวมข้อเสนอที่ระชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  จึงขอขอบคุณทุกท่านที่ได้ร่วมจัดการประชุม และดำเนินการจัดประชุมได้ครบถ้วนสมบูรณ์  และฝากกล่าวให้กำลังใจแก่สภาองค์กรชุมชน ในการทำงานพัฒนาชุมชนต่อไป” 

เลขาฯ รมว.พม.กล่าว  และว่า ในส่วนของการพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนต้องมีการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ   รวมไปถึงการเชื่อมโยงการพัฒนาของชุมชนร่วมกับภาคการเมือง จะเป็นแนวทางให้เกิดแผนการพัฒนา  และการค้นหาแนวทางหนุนเสริมการทำโครงการต่าง ๆ ที่ประชาชนจะได้รับการช่วยเหลือ หรือได้รับการแก้ไขปัญหาอื่น ๆ ในพื้นที่ที่มีหน่วยงานในท้องถิ่นเข้ามาให้การสนับสนุน  โดยต้องให้สภาองค์กรชุมชนเสริมสร้างการเครือข่ายในการทำงานเพิ่มขึ้น และมุ่งหวังให้เกิดการสร้างความเข้มแข็ง  สร้างองค์ความรู้ในการทำงานต่อไป 

ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนฯ  มอบข้อเสนอต่อผู้แทน รมว.พม.

‘กอบศักดิ’ ย้ำ “พอช.จะเป็นเสบียงหนุนเสริมเปลี่ยนประเทศไทยใน 3 ปี”

การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลวันสุดท้ายนี้  ดร.กอบศักดิ์  ภูตระกูล  ประธานคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ   บรรยายพิเศษ  ‘เรื่องการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง’   มีสาระสำคัญว่า   พี่น้องชุมชนต่างๆ ทำโครงการพัฒนามานาน  ขณะที่ พอช.มีงบประมาณน้อย  พี่น้องก็เข้าไม่ถึงแหล่งทุน  เพราะไม่รู้ข้อมูล  ไม่รู้ว่าจะติดต่อที่ไหน  อย่างไร  ทั้งที่หน่วยงานต่างๆ เช่น  กระทรวงพลังงาน  กระทรวงการอุมดมศึกษา  วิทยาศาสตร์ฯ มีงบประมาณหลายพันล้านบาท   รวมทั้งบริษัทเอกชนหลายแห่งที่อยากจะสนับสนุนชุมชน

ดร.กอบศักดิ์  ภูตระกูล  ประธานบอร์ด พอช.

“บริษัทเอกชนบริจาคให้วัด  โรงเรียน  ปีหนึ่ง  100 ล้านบาท  ผมจะชวนเขามาทำงานกับ พอช.และชุมชน      จะเป็นโครงการที่หากทำได้  จะมีเงินมาที่ พอช. และชุมชนโดยตรง  นอกจากนี้องค์กรระหว่างประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ อยากมาทำเรื่องโค  แพะ   แกะ  เขาสามารถมาร่วมกับชุมชนที่เข้มแข็ง  ญี่ปุ่นอยากทำหอยมุก   หากเราทำได้เรื่อย ๆ  จะนำเงินของรัฐบาลต่างประเทศและเอกชนมาทำงานกับเรา  เราอยู่กัน 3 ปี จะทำให้เป็น 3 ปีที่ดีที่สุด”  ดร.กอบศักดิ์กล่าวถึงเป้าหมายวาระการทำงานในฐานะประธานบอร์ด พอช.คนใหม่ในช่วง 3 ปีที่เหลือ

ดร.กอบศักดิ์กล่าวต่อไปว่า  เมื่อถึงจุดนั้น  เมืองไทยจะเป็นต้นแบบของทุก ๆ เรื่อง และตนอยากจะทำโรงเรียนคนรุ่นใหม่  เพื่อสร้างคนรุ่นต่อไป  และจะทำศูนย์เรียนรู้ online  โดยให้พี่น้องชุมชนเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนใน social media   เช่น  เรื่องป่า   เรื่องบ้านมั่นคง  ฯลฯ  และมีทีมงานด้านเทคนิคที่สามารถรายงานสถานการณ์ต่างๆ ผ่าน Application line  เช่น  รายงานสถานการณ์น้ำท่วม  หากบ้านไหนเสียหายจากภัยพิบัติจะได้รีบช่วยเหลือซ่อมแซม

เขาบอกด้วยว่า  หากเราทำเรื่องป่าชุมชน  การปลูกไม้มีค่า  ทำธนาคารปูม้า  ซึ่งเป็นเศรษฐกิจชุมชนที่มีมูลค่าสูงเทียบเท่ากับราคาทองคำ  ชุมชนก็ไม่ต้องรองบประมาณจากรัฐ  เพราะชุมชนสามารถกำหนดชีวิตได้เอง  ไม่ต้องรอใคร

ผมมั่นใจว่าเราทุกคนทำได้  ไม่ต้องรอเขา  หากเขาให้งบประมาณเพิ่มก็ดีใจ  หากไม่ให้งบประมาณเพิ่มก็หาเองได้  ผมเชื่อมั่นว่าเงิน 10 ล้านบาทหาเองได้  10 ปีก็ 100 ล้านบาท  เราจะมี 8,000 ทีม ทุกคนไม่ต้องเหมือนกัน  เรามีความหลากหลาย  พอช.จะเป็นกองเสบียงหนุนเสริม   เราจะเปลี่ยนประเทศไทยภายใน 3 ปี”  ดร.กอบศักดิ์กล่าวถึงเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้สภาองค์กรชุมชนฯ ทั่วประเทศที่จัดตั้งทั่วประเทศเกือบ 8,000 แห่ง (7,795 แห่ง) มีบทบาทในการเปลี่ยนประเทศไทย

 

เรื่องและภาพ :  สำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชนจัดการความรู้และสื่อสาร  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เครือข่ายสวัสดิการชุมชนจัดงานสมัชชาสวัสดิการชุมชนระดับภาค ที่สุพรรณบุรี “สวัสดิการชุมชน พลังสร้างสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ แก้วิกฤตประชากรไทย”

สุพรรณบุรี : เครือข่ายสวัสดิการชุมชน ร่วม กระทรวง พม. พอช. จัดงานสมัชชาสวัสดิการชุมชนระดับภาค ภาคกลางและตะวันตก และภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑลและตะวันออก

‘วราวุธ’ รมว.พม. เยี่ยมชุมชนริมคลองเปรมประชากร ด้าน ‘พอช.’ เดินหน้าพัฒนาที่อยู่อาศัย-คุณภาพชีวิตแล้ว 17ชุมชน 1,699 ครัวเรือน

คลองเปรมประชากร/ ‘วราวุธ ศิลปอาชา’ รมว.พม.ลงพื้นที่เยี่ยมชาวชุมชนริมคลองเปรมประชากร โดยลงเรือบริเวณท่าเรือชั่วคราวสะพานสูง เขตบางซื่อ

มอบรางวัลกองทุนสวัสดิการชุมชนดีเด่น 10 ประเภท ตามแนวคิดสวัสดิการสังคมของ ‘ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์’

ธนาคารแห่งประเทศไทย / แบงก์ชาติร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดงาน ‘ธรรมาภิบาลดีเด่นแห่งปี 2567’ มอบรางวัลให้แก่ผู้ประกอบการ SME และ 10

10 กองทุนสวัสดิการชุมชนดีเด่นรับรางวัล ‘ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์’ (10) กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลลาดชะโด จ.พระนครศรีอยุธยา “ย้อนรอยวิถีน้ำ คืนชีพเรือเก่า เล่าขานตำนานท้องถิ่น”

กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลลาดชะโด อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็น 1 ใน 10 กองทุนสวัสดิการชุมชนจากทั่วประเทศที่ได้รับรางวัล

10 กองทุนสวัสดิการชุมชนดีเด่นรับรางวัล ‘ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์’ (9) กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสุไหงปาดี จ.นราธิวาส “สร้างความเป็นธรรม.....เพื่อรักษาที่ดินทำกินให้ลูกหลาน”

กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส เป็น 1 ใน 10 กองทุนสวัสดิการชุมชนจากทั่วประเทศที่ได้รับรางวัล