ลูกจ้างต้องรู้! สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน เมื่อถูกเลิกจ้าง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง

สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 นั้น ถือเป็นสิทธิที่ช่วยคุ้มครองลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง ซึ่งนอกจากจะทำให้ลูกจ้างยังคงสถานะผู้ประกันตนที่สามารถใช้สิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมได้อย่างครบถ้วนต่อเนื่องแล้ว ผู้ประกันตนยังคงได้รับเงินทดแทนจากกรณีว่างงานอีกด้วย

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้าง หรือ ลาออกจากงาน หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างแล้ว สามารถรับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานได้ โดยผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน ดังนี้ กรณีถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ครั้งละไม่เกิน 180 วันต่อปีปฏิทิน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง ตามกำหนดระยะเวลา ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ครั้งละไม่เกิน 90 วันต่อปีปฏิทิน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย
ผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ จะต้องเป็นผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงานกับนายจ้างรายสุดท้าย มีระยะเวลาการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป ซึ่งผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่าน https://e-service.doe.go.th เว็บไซต์ของกรมจัดหางานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลาออกหรือถูกเลิกจ้างหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง จึงจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานนับแต่วันที่ 8 ของการว่างงาน นอกจากนี้ผู้ประกันตนจะต้องรายงานตัวตามกำหนดนัดผ่าน https:// e-service.doe.go.th เว็บไซต์ของกรมจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง รวมถึงเป็นผู้มีความสามารถในการทำงานและพร้อมทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดให้ ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงานและผู้ที่ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณีดังต่อไปนี้ คือ ทุจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรงละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควร ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา และต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ

ทั้งนี้ การยื่นเรื่องรับขอเงินทดแทนกรณีว่างงาน ต้องยื่นสิทธิภายใน 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน หากยื่นสิทธิเกินกว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง และหากยื่นสิทธิเกินวันที่จะได้รับสิทธิไปแล้ว จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน สำหรับกรณีผู้ประกันตนชาวต่างชาติ/ต่างด้าว ไม่สามารถยื่นผ่านระบบได้ต้องติดต่อที่สำนักงานจัดหางานของรัฐได้ทุกแห่ง เพื่อขึ้นทะเบียนว่างงานและรายงานตัวตามตารางนัด ซึ่งผู้ประกันตนสามารถยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7) ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตามหากผู้ประกันตนลาออกจากมาตรา 33 แล้ว ยังสามารถรักษาสิทธิประโยชน์ได้ 6 กรณีจากประกันสังคมโดยต้องสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ออกจากงาน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง Line: @ssothai และเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th

#Website: www.sso.go.th
#Facebook: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
#Instagram: sso_1506
#Twitter: @sso_1506
#YouTube: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
#Hotline: 1506 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
#LINE: @SSOTHAI
#TikTok: @SSONEWS1506

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดสาระสำคัญ 11 ข้อ กฎหมายคุ้มครองลูกจ้างทำงานบ้าน ครม.อนุมัติแล้ว

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ (9 เม.ย.2567) ครม.มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงมิให้ใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานบางส่วนแก่นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับการงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย

นายกฯ สั่ง 'สปสช.-สปส.' ร่วมยกระดับหลักประกันสุขภาพ

นายกฯ สั่งการเดินหน้าบูรณาการการทำงาน สปสช.- สปส. ร่วมมือการทำงาน เริ่ม 1 เม.ย.2567 ยกระดับหลักประกันสุขภาพตรวจสุขภาพเพิ่มเติมตามกลุ่มช่วงอายุ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ผู้ประกันตนควรรู้ 'กองทุนเงินทดแทน-กองทุนประกันสังคม' ต่างกันอย่างไร

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน อธิบายเกี่ยวกับ "กองทุนเงินทดแทน กับกองทุนประกันสังคม" ต่างกันอย่างไรบ้าง มีสิทธิประโยชน์แบบไหนที่ผู้ประกัน

เปิดขั้นตอนผู้ประกันตนมาตรา 39 ตรวจสอบสิทธิประโยชน์ต่างๆ

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน โพสต์เฟซบุ๊กว่า ผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของตัวเองผ่าน LINE ได้หรือไม่❓