รมว.สุชาติ ห่วงใยกรณีลูกจ้างถูกไฟดูดเสียชีวิต 2 ราย สั่ง กสร. กับหน่วยงานในสังกัด หาสาเหตุและช่วยเหลือตามสิทธิทันที

รมว.แรงงาน ห่วงใยกรณีลูกจ้างถูกไฟดูดเสียชีวิต 2 ราย ขณะทำความสะอาดแท็งก์น้ำที่ติดตั้งบนชั้นดาดฟ้า สั่งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ร่วมกับสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกรมการจัดหางาน (กกจ.) ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและเร่งช่วยเหลือสิทธิตามกฎหมายทันที พร้อมยืนยันไม่ทอดทิ้งและช่วยเหลือครอบครัวลูกจ้างที่เสียชีวิตอย่างเต็มที่ โดยเชิญพบ 30 มีนาคมนี้

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงกรณีสื่อนำเสนอข่าว ทำความสะอาดแท็งก์น้ำถูกไฟช็อตเสียชีวิต 2 คน ว่า ทันที่ทราบข่าว ผมต้องขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และได้สั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ร่วมกับสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกรมการจัดหางาน (กกจ.) ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและเร่งช่วยเหลือสิทธิตามกฎหมายทันที เบื้องต้นได้รับรายงานจาก พนักงานตรวจความปลอดภัยสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 (สรพ.5) และศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 12 (ศปข.12) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 เวลา 13.40 น. สถานที่เกิดเหตุเป็นอาคารชุดคอนโดมิเนียม แถวห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ขณะเกิดเหตุมีลูกจ้างทำความสะอาดอาคารชุด จำนวน 4 คน โดยลูกจ้าง 2 คน คือนายเหมือน ทองครบุรี อายุ 50 ปี สัญชาติไทย ทำงานเป็นลูกจ้างตำแหน่งช่างประจำอาคารของนิติบุคคลอาคารชุด และนายคอน กี้ โซ อายุ 45 ปี สัญชาติเมียนมา ซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างประจำของนิติบุคคลฯ แต่มาช่วยทำงานเป็นครั้งคราว ได้ขึ้นไปทำความสะอาดบนชั้นดาดฟ้าเพื่อทำความสะอาดภายในแทงก์น้ำ ระหว่างทำงานทั้ง 2 คน เกิดหมดสติ เพื่อนร่วมงานได้ขึ้นมาพบ จึงคาดว่าอาจเกิดไฟฟ้ารั่วแล้วถูกไฟฟ้าดูด จึงได้ทำการสับคัทเอ้าท์แล้วแจ้งเจ้าหน้าที่กู้ภัยและโรงพยาบาลเข้าช่วยเหลือปฐมพยาบาล แต่ทั้งสองคนได้เสียชีวิต ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอผลชันสูตรเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต ทั้งนี้ ผมได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดเร่งดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ พร้อมให้ความช่วยเหลือครอบครัวญาติของลูกจ้างผู้เสียชีวิตได้รับสิทธิตามกฎหมายโดยเร็ว

ทางด้าน นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวว่า พนักงานตรวจความปลอดภัยสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 (สรพ.5) และศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 12 (ศปข.12) ได้มีหนังสือเชิญนายจ้างและผู้เกี่ยวข้องมาพบ ในวันที่ 30 มีนาคม 2566 เพื่อสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่านายจ้างได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 และกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558 หรือไม่ ซึ่งหากนายจ้างฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวจะดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

ทางด้าน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวเพิ่มว่า ในส่วนของสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 หากตรวจสอบพบว่าลูกจ้างผู้เสียชีวิต ทั้งสองคนเป็นผู้ประกันตนเบื้องต้นทายาทจะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิตเนื่องจากการทำงานเป็น ค่าทำศพ จำนวน 50,000 บาท เงินทดแทนกรณีเสียชีวิต และเงินบำเหน็จชราภาพ ซึ่งสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 จะเร่งดำเนินการตามสิทธิต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมสวัสดิการย้ำวันแรงงานฯ นายจ้างต้องให้ลูกจ้างหยุดงานและจ่ายค่าจ้างปกติ

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ย้ำเตือนนายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างหยุดงานในวันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม และจ่ายค่าจ้างเท่ากับวันทำงาน หากมีลูกจ้างจำเป็นต้องทำงานให้หยุดชดเชยในวันถัดไปหรือจ่ายเงินเพิ่มไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของวันปกติ

"พิพัฒน์" เตรียมเปิดบิ๊กเซอร์ไพรส์ มอบของขวัญวันแรงงาน ค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 400 บาท

วันที่ 22 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงงาน กล่าวถึงของขวัญสำหรับผู้ใช้แรงงาน ในวันแรงงาน 1 พ.ค.2567 นี้ว่า

ข่าวดี!! “พิพัฒน์” รมว.แรงงาน จัดให้บริการตรวจเช็คสภาพรถฟรี ขับขี่ปลอดภัย ใส่ใจทุกเส้นทาง ก่อนเดินทางช่วงสงกรานต์ 2567

วันที่ 11 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 นี้ ตนมีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงาน และพี่น้องประชาชนทั่วไปที่เดินทางกลับภูมิลำเนา รวมทั้งผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันนั้น

เปิดสาระสำคัญ 11 ข้อ กฎหมายคุ้มครองลูกจ้างทำงานบ้าน ครม.อนุมัติแล้ว

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ (9 เม.ย.2567) ครม.มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงมิให้ใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานบางส่วนแก่นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับการงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย

"พิพัฒน์" เชื่อมขยายผล ทันที! หลังบริษัทอาหารญี่ปุ่น ชื่นชมแรงงานไทยมีทักษะ เปิดรับแรงงาน เริ่มวุฒิ ม.6 รายได้ 3 หมื่นขึ้นไป

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นายอัครพงศ์ เฉลิมนนท์ กงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา นางสาวสดุดี กิตติสุวรรณ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน)