กยท. จัดสัมมนาใหญ่ ผนึกกำลัง IRRDB แลกเปลี่ยนความรู้ - สร้างความเข้าใจซื้อขายคาร์บอนเครดิตในสวนยางฯ

กยท. ลุย จับมือสภาวิจัยและพัฒนายางระหว่างประเทศ (IRRDB) จัดสัมมนาใหญ่ที่กรุงเทพฯ ยกทัพผู้เชี่ยวชาญร่วมหารือ แลกเปลี่ยนความรู้ สร้างความเข้าใจการซื้อขายคาร์บอนเครดิตจากสวนยางฯ เพื่อช่องทางสร้างรายได้เพิ่มแก่ชาวสวนยาง พัฒนาตลาดคาร์บอน และการใช้สวนยางพาราลดการปล่อยคาร์บอน

วันนี้ ( 8 พ.ค.66 ) การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ภายใต้ความร่วมมือกับสภาวิจัยและพัฒนายางระหว่างประเทศ (IRRDB) จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านการพัฒนาโครงการซื้อขายคาร์บอนด้วยการปลูกยางเพื่อตลาดคาร์บอนโดยสมัครใจ (Workshop on Developing Carbon Trading Projects with Rubber Cultivation for Voluntary Carbon Market) โดยมี ดาโต๊ะเสรี ดร. อับดุล อะซิส (Dato Seri Dr. Abdul Aziz ) เลขาธิการ IRRDB กล่าวเปิดงาน และ นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ( กยท.) บรรยายพิเศษในหัวข้อ “มุมมองของประเทศไทยเกี่ยวกับกระบวนการการจัดการคาร์บอน” ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการ กยท. ได้กล่าวว่า การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านการพัฒนาโครงการซื้อขายคาร์บอนด้วยการปลูกยางเพื่อตลาดคาร์บอนโดยสมัครใจในครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อหารือด้านตลาดคาร์บอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอุปสรรคและผลกำไร การคิดค้น และดำเนินโครงการการค้าคาร์บอน การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ รวมถึงหารือว่าการทำสวนยางพาราสามารถมีบทบาทช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้

“ตลาดคาร์บอนโดยสมัครใจ และการซื้อขายคาร์บอน ถือเป็นหนึ่งแนวทางเสริมรายได้ให้กับเกษตรกรชาวสวนยางสามารถพัฒนาความเป็นอยู่ของตนให้ดียิ่งขึ้น และเป็นอีกสิ่งที่ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงหวังว่า งานสัมมนาครั้งนี้จะสามารถเป็นเวทีสำหรับแบ่งปันความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญ สถาบันการศึกษา ผู้ค้าและผู้ขายคาร์บอน ซึ่งทุกคนให้ความสนใจและมีองค์ความรู้มากมายด้านการสร้างอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน ผ่านการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอน ซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้รับข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับความคืบหน้าล่าสุดของตลาดคาร์บอนและมองเห็นศักยภาพของอุตสาหกรรมยางพารา เพื่อนำการเปลี่ยนแปลงโลกให้ดียิ่งขึ้น และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อันเป็นสิ่งที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อสังคม” นายณกรณ์ กล่าว

การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มีหัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิตจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากทั้งในและต่างประเทศ อาทิ “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : ปลูกยางพาราช่วยบรรเทาได้อย่างไร” “การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์” “ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ: การทดลอง อุปสรรคและผลกำไร” และ “การสร้างโครงการการค้าคาร์บอนเพื่อตลาดการค้าโดยสมัครใจ”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กยท.จับมือญุี่ปุ่น แปรรูปเมล็ดยางผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ ชาวสวนยาง เตรียมเฮ! มั่นใจช่วยเพิ่มรายได้/สร้างความมั่นคง

กยท.จับมือเอกชนญี่ปุ่น ขับเคลื่อนขยายผลการแปรรูปเมล็ดยางพาราเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากวัตถุดิบชีวมวล ไร้มลพิษ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรับกระแสโลก

อบก. ไฟเขียว สวนยางพาราขายคาร์บอนเครดิตได้ กยท.เดินหน้าพัฒนาสู่เป็นกลางทางคาร์บอน 20 ล้านไร่

อบก. ไฟเขียว ต้นยางพาราสามารถนำมาผ่านกระบวนการซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตได้ กยท. รับลูก เร่งขับเคลื่อนพัฒนาสวนยางที่ขึ้นทะเบียนไว้กว่า 20 ล้านไร่ทั่วประเทศ

2กระทรวงใหญ่ผนึกกำลังขับเคลื่อนนิคมฯยางพารา ใช้มาตรการตรวจสอบย้อนกลับดึงนักลงทุนต่างชาติ

กยท.เดินหน้า จับมือ กนอ.ลงนาม MOU ขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมยางพาราให้เห็นผลเป็นรูปธรรม พร้อมดึงนักลงทุนจากต่างชาติ ชูจุดเด่นตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มายาง ดันไทยก้าวขึ้นสู่ศูนย์กลางยางพาราโลก สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ให้ทุกภาคส่วนในวงการยางพาราอย่างยั่งยืน

อย่ากระพริบตา...ราคายางทะลุ100บาท/กก. จริงหรือ?

สถานการณ์ราคายางในปี 2567 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยางแผ่นรมควันชั้น 3 จากราคากิโลกรัมละ 57 บาทเมื่อช่วงต้นเดือนมกราคม 2567 ล่าสุดช่วงกลางเดือนมีนาคม 2567

กยท. เดินหน้าสร้างความมั่งคั่งให้เกษตรกรชาวสวนยาง จับมือ กนอ. เซ็น MOU ลุยสร้างฐานวิจัยพัฒนา บริการวิชาการ ธุรกิจยางและเกี่ยวเนื่อง รับโอกาสทองจากระบบ EUDR

2 รัฐวิสาหกิจ กยท. และ กนอ. จับมือลงนามบันทึกความเข้าใจ วิจัยพัฒนา การบริการวิชาการ และความเป็นไปได้ของการดำเนินธุรกิจยางพารา

กยท.ตั้งเป้ากำหนดราคายางโลก เร่งตรวจสอบย้อนกลับ3.5ล้านตัน ใช้EUDRเป็นเครื่องมือสร้างเสถียรภาพ/ขยายตลาด

กยท.เร่งขับเคลื่อนมาตรการตรวจสอบย้อยกลับแหล่งกำหนดยางพารา ใช้กฎเหล็ก EUDR เป็นเครื่องมือชิงความได้เปรียบ เดินหน้าขยายตลาดสร้างเสถียภาพก้าวสู่การเป็นผู้นำกำหนดราคายางโลก