พอช. สสส. ร่วมกับกรมป่าไม้ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การขับเคลื่อนป่าชุมชน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

กรุงเทพ / ระหว่างวันที่ 22- 23 มิ.ย. 66 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับกรมป่าไม้ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนการจัดการป่าชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดแผนพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายป่าชุมชน ในระดับพื้นที่ ในระดับจังหวัด และในระดับชาติ ก่อให้เกิดการบูรณาการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในการสนับสนุนงานพัมนาป่าชุมชน และให้เกิดกลไกการพัฒนาแนวทาง/นวัตกรรม ในการขับเคลื่อนการจัดการบริหารป่าชุมชนและฝายมีชีวิตสู่การพัฒนาที่ยั้งยืน และตอบโจทย์ด้านเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยมีภาคีเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคณะทำงานป่าชุมชนฯใน 15 พื้นที่ทั่วประเทศ จำนวนกว่า 60 คน ณ โรงแรมเอบีน่า เฮ้าส์ แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

นายสถาพร สมศักดิ์ ผู้รับผิดชอบโครงการขับเคลื่อนการจัดการป่าชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

นายสถาพร สมศักดิ์ ผู้รับผิดชอบโครงการขับเคลื่อนการจัดการป่าชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดงานและโครงการ ว่า ตามที่คณะกรรมการ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ได้เสนอ แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพิ่มรายได้ให้กับชุมชน จากการรักษาป่าชุมชน ทางสถาบัน จึงมีคำสั่ง ที่ ง 23/2566 เรื่องคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานสนับสนุนการขับเคลื่อนป่าชุมชนและฝายมีชีวิตโดยมีการกล่าวถึงที่มาในการจัดตั้งคณะทำงานที่เป็นผลจากการหารือร่วมกันระหว่าง พอช. และสำนักจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้ ในวันที่ 19 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา

โดยมีการหารือถึงผลจากการประกาศใช้ พ.ร.บ.ป่าชุมชน 2562 ที่เป็นข้อบัญญัติทางกฎหมายที่มีส่วนกระทบต่อสิทธิชุมชน และประชาชนในเชิงปัจเจก เพื่อให้เกิดการวางแผนที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนงานดังกล่าว จึงเห็นควรมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อปรึกษาหารือร่วมกันในการพิจารณาพื้นที่การส่งเสริมป่าชุมชนรวมถึงการเอื้ออำนวยการจัดการและการแก้ไขปัญหาป่าชุมชนภายใต้กรอบกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง เพื่อนำเสนอต่อสำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ต่อไป

ดังนั้นจาก พ.ร.บ. ดังกล่าวสู่โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ ที่จะมีการเสริมการพัฒนาความเข้มแข็งของคณะกรรมการป่าชุมชน ด้วยการสร้างต้นแบบการจัดการ และนวัตกรรมการเรียนรู้ ด้วยกลไกการพัฒนาที่ยั่งยืนและมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการบุคคลชุมชน หรือการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะในระดับพื้นที่และเครือข่าย ทำให้สังคมเล็งเห็นความสำคัญหรือของการบริหารจัดการป่าชุมชนและฝายอย่างยั่งยืน รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงสุขภาพที่เป็นผลจากสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ว่าถ้าหากไม่มีการจัดการป่าชุมชนที่ดีและเข้มแข็งแล้วนั้น สุดท้ายก็จะกลายเป็นวิกฤตสิ่งแวดล้อม “Climate Crisis” หรือวิกฤตโลกร้อน ที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์

นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (เข้าร่วมผ่านระบบ Zoom)

นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ได้กล่าวถึงแนวทางการสนับสนุนองค์กรชุมชนเข้มแข็ง ว่า ปัจจุบัน  ดร.กอบศักดิ์  ภูตระกูล  ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  หรือ ‘พอช.’  มีบทบาทสำคัญในการร่วมกับหน่วยงานภาคีต่างๆ  สนับสนุนให้ประชาชนร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ส่งเสริมการจัดตั้งป่าชุมชน จัดทำฝายมีชีวิต ขณะเดียวประชาชนก็จะได้ประโยชน์จากการอนุรักษ์นี้ด้วย ดร.กอบศักดิ์ มีส่วนสำคัญในการแก้ไขกฎหมายหลายฉบับที่เป็นอุปสรรค ทำให้ประชาชนในชนบทไม่สามารถใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรป่าไม้ในท้องถิ่นของตนเองได้  เช่น  ไม่สามารถตัดไม้มีค่าที่ปลูกในที่ดินของตนเองได้ โดย ดร.กอบศักดิ์ ได้แก้ไขปัญหาเหล่านี้ ทำให้ประชาชนนำไม้มีค่ามาใช้ประโยชน์  นำมาเป็นทรัพย์สิน  ใช้เป็นหลักทรัพย์ในการกู้ยืมเงินจากธนาคารได้ ถ้าเราสามารถบูรณาการร่วมกันทั้งภาคเอกชน ทั้งภาคีเครือข่ายด้านการศึกษา องค์กรภาครัฐและภาคธุรกิจ ถ้าเกิดการบุรณาการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ จะสามารถพัฒนาต่อยอดให้ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนได้ในทุกมิติ

นางนันทยา บุณยานันต์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการป่าชุมชน

นางนันทยา บุณยานันต์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้ บรรยายหลักการและแนวคิดการบริหารจัดการป่าชุมชน ให้สำเร็จและมีความยั่งยืน กล่าวว่า ชุมชนจะต้องมีแผนการจัดการป่าชุมชน และเสนอผ่านคณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัด  กลไกในพื้นที่จะรับรองแผน  ซึ่ง อปท. และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่สามารถที่จะสนับสนุนชุมชนตามแผนนั้นได้  รวมถึงแผนภูมินิเวศน์ที่มีการเสนอเป็นแผนอนุรักษ์  ฟื้นฟู  ควบคุม  พัฒนา  และแผนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยชุมชน ขณะที่ชุมชนสามารถที่จะใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนตามกฎหมายได้ในบริเวณเพื่อการใช้ประโยชน์  เช่น  เก็บหาของป่า  การใช้ประโยชน์จากไม้เพื่อการดำรงชีพ  และการใช้สอยและกิจกรรมสาธารณประโยชน์ภายในชุมชน  การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอื่น  เช่น  น้ำ   ส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้และสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยชุมชน   การใช้ประโยชน์จากไม้  เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนอันเนื่องมาจากภัยพิบัติหรือเหตุจำเป็น

สิ่งที่อยากจะให้เกิดขึ้นคือ  การพัฒนาต่อยอดสร้างรายได้  การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์โดยชุมชน   ในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยวและให้บริการ  ซึ่งรูปแบบการดำเนินการต้องดำเนินการในรูปแบบกลุ่ม/วิสาหกิจชุมชน  และการใช้ไม้ต้องไม่ใช่การใช้ไม้หวงห้ามในพื้นที่ป่าสงวน  เพื่อนำมาใช้ในการขายไม้ท่อน  การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจชุมชนจากฐานราก (BCG)

กล่าวทำความเข้าใจ พรบ.ฉบับใหม่ และสิทธิชุมชนในการจัดการป่าชุมชน โดยนายเดโช ไชยทัพ ประธานคณะทำงานสนับสนุนการขับเคลื่อนป่าชุมชนและฝายมีชีวิต ร่วมกับนายระวี ถาวร ศูนย์วนศาสตร์ชุมชน (ประเทศไทย) และ ผอ.วรากรณ์ เกษมพันธุ์กุล ผอ.ส่วนนโยบายและกฏหมายป่าชุมชน โดยมีใจความคร่าวๆ ดังนี้ พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ ศ 2562 ให้มีกฎหมายว่าด้วยป่าชุมชน เหตุผล โดยที่เป็นการสมควรส่งเสริมให้ชุมชนได้ร่วมกับรัฐในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู จัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และ ความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างสมดุลและยั่งยืน ในรูปแบบของป่าชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถจัดการป่าชุมชนและได้ประโยชน์จากป่าชุมชน อันจะส่งผลให้ชุมชนดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและความหลากหลาย ทางชีวภาพของประเทศให้มีความสมบูรณ์และยั่งยืน

ป่าชุมชนภายใต้ พ.ร.บ. ป่าชุมชน พ.ศ. 2562 สิ่งที่ดีขึ้นจากการที่มีกฎหมายส่งเสริม 1.มีกฎหมายเฉพาะทำให้คล่องตัวในการจัดการป่าชุมชน 2.สามารถขยายการจัดตั้งป่าชุมชนเพิ่มมากขึ้น นำไปสู่ป่า 40 % 3.คณะกรรมการป่าชุมชน สามารถดูแลป่าชุมชนโดยมีกฎหมายรองรับ 4.ประชาชนที่ดูแลป่าได้รับสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์จากป่าตามกฎหมายเพิ่มรายได้ครัวเรือน 5.ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น

วงเสวนาพูดคุย

ในช่วงบ่ายของของการประชุมฯเป็นการตั้งวงเสวนาพูดคุย ในเรื่อง “ทิศทางการบูรณาการความร่วมมือ การสนับสนุน ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับองค์กรชุมชน โดยภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาสังคม Move Forward 20 ปี ยุทธศาสตร์ชาติ” ดำเนินรายการโดย นางสาวรมย์รัมภา เริ่มรู้ ผู้สื่อข่าวเนชั่นทีวี โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา ได้แก่ 1. นายวิชัย นะสุวรรณโน รองผู้อำนวยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) 2. นายอภิสิทธิ์ เสนาวงค์ นักวิชาการชำนาญการพิเศษองค์การบริการจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) 3. นายสุขสันต์ เพ็งดิษฐ์ ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษ ๘ การองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) 4. นายระวี ถาวร ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อการคนกับป่า- ประเทศไทย (RECOFTC) 5.นางจรรจรีย์ บุรณเวช อนุกรรมการด้านจัดทำชุดข้อมูลและแผนที่กรรมการและเลขานุการโครงการรักษ์ป่าน่าน

โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มีเป้าประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเชื่อมโยงดังนี้ 1.พื้นที่ที่มีศักยภาพมีความพร้อมและมีการบริหารจัดการป่าชุมชนและฝายอย่างยั่งยืนที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน 2.การพัฒนาศักยภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีความสามารถในการ (บุคคลชุมชน และองค์กร) ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะในระดับพื้นที่และเครือข่ายสมัชชาป่าชุมชน 68 จังหวัด ในด้านการบริหารจัดการป่าชุมชนและฝายอย่างยั่งยืน

3.การสานเสริมพลังเครือข่ายการจัดการป่าชุมชนและฝายอย่างยั่งยืนด้วยการสร้างความเข้มแข็งในการจัดการตนเอง และรวมตัวกันเป็นเครือข่ายที่มีการพัฒนาศักยภาพชุมชนท้องถิ่นตามบริบทของพื้นที่ 4. การมีกลไกทางนโยบาย สังคม และสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการป่าชุมชนและฝายอย่างยั่งยืน 5.เกิดการสื่อสารรณรงค์ในสังคมที่ทำให้เห็นความสำคัญหรือการเปลี่ยนแปลงในสังคมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการป่าชุมชนและฝายอย่างยั่งยืนและปัจจัยเสี่ยงสุขภาพที่เป็นผลจากสิ่งแวดล้อม

นายเดโช ไชยทัพ ประธานคณะทำงานสนับสนุนการขับเคลื่อนป่าชุมชนและฝายมีชีวิต

นายเดโช ไชยทัพ ประธานคณะทำงานสนับสนุนการขับเคลื่อนป่าชุมชนและฝายมีชีวิต ได้กล่าวสรุปถึงเรื่องประชุมสัมมนาในครั้งนี้ว่า “โครงการที่จะเกิดขึ้นนี้เราดีไซน์ว่าในพื้นที่ 15 จังหวัด น่าจะมีเครือข่ายแบบจุด ทุกๆจังหวัดขึ้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พูดง่ายๆก็คือว่ามีเวทีคล้ายสมัชชาประจำจังหวัดมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันว่าที่นั่นทำอะไร ที่นี่ทำอะไร อะไรสำเร็จ อะไรล้มเหลวอะไรเป็นบทเรียนที่จะต้องแก้ จะทำแบบนี้จะทำยังไง จะประสานกันมันไม่ใช่แค่จัดการระดับพื้นที่ แต่มันเป็นการจัดการเชื่อมความสัมพันธ์กับคณะกรรมการป่าชุมชนระดับจังหวัด ชวนผู้ว่าฯ มาดูพื้นที่ทำความเข้าใจ ชวนสำนักงานจังหวัดมาพัฒนาแผนเพื่อให้ต่อยอดยังไง เข้าไปกำหนดยุทธศาสตร์จังหวัดนี้จะใช้งบยังไงจะชวนนายก อบจ.ลงพื้นที่ยังไงเพราะคนเหล่านี้อยู่ในโครงสร้างคณะกรรมการ จะชวนผู้ทรงคุณวุฒิจะเชิญอัยการเข้าไป จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไปสัมผัสป่าชุมชนอย่างไร ไม่ใช่เราทำฝ่ายเดียวเพราะฉะนั้นโครงการนี้ ก็เลยดีไซน์ออกแบบว่าการสร้างเครือข่ายความชัดเจนของป่าชุมชนถ้าชัดเจนแล้วเราก็จะเชื่อมโยงกับกลไกต่างๆได้ชัดเจน ผมก็คิดว่านี่เป็นเรื่องสำคัญที่ผมคิดว่ามันเป็นคุณูปการ  มันจะมีหลักอย่าง หนึ่ง คือหน้าที่หลักคือหน้าที่ของกรมป่าไม้ แต่ว่ากฏหมายเนี่ยออกแบบเป็นกฎหมายของสังคมเพราะสังคมต้องเข้ามาต้องมีช่องมีทางชอบโดยระเบียบอันนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ พอช.จับกับ สสส.จับมือกับกรมป่าไม้ ถ้าจะเข้ามาหนุนมาดูระเบียบมาดูช่องทางให้ชัดเจนอันนี้ผมก็คิดว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการทำงานตามเจตนารมณ์กฎหมายป่าชุมชนแบบซึ่งผมคิดว่าประเด็นสุดท้ายที่หลายคนพูดว่า ระเบียบกฎหมายบางทีมันก็บังคับใช้ทั่วประเทศ ต่อรองการเขียนกันออกมาอาจจะไม่สอดคล้องกับชุมชน ก็อาจจะมีบางประเด็นที่ที่เป็นประเด็นที่อาจจะต้องทบทวนพัฒนาให้แก้ไขดีขึ้นก็จากพื้นที่ 15 พื้นที่นี้ ก็จะเป็นตัวอย่างว่า ในอนาคตถ้าจะให้ชุมชนเข้มแข็งกว่านี้ควรจะเพิ่มเติมวิธีนี้ให้มันก็จะเป็นงานวิชาการ โอกาสนี้ก็จะเชื่อมนักวิชาการกฎหมายในทางรัฐศาสตร์มาช่วยดูว่าถ้าเราจะ ไม่ต้องไปไกลแล้วเอาแค่อนุบัญญัติระดับล่างสุดระดับกติกาชุมชนเขียนให้ดีเขียนยังไง เริ่มจากตรงนี้ก่อนเขียนให้มันสอดคล้องกับความต้องการของชาวบ้านเขียนให้มันบังคับใช้แล้วก็เป็นประโยชน์ เขียนแล้วไปส่งเสริมสนับสนุนให้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน อาจจะมีหลายระดับใช้ งานของเราทั้ง 3 ระดับ ที่เรามารวมกันไว้ใน 15 พื้นที่ แล้วก็การขับเคลื่อนในระดับจังหวัดการขับเคลื่อนในระดับตัวบทกฎหมาย อันนี้ผมก็คิดว่าเป็นเรื่องที่ผมอยากจะมาเสริมให้พวกเรามั่นใจว่า เราจะไม่ทิ้งกัน”

ดร.ชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส.

ด้าน ดร.ชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. กล่าวเพิ่มเติมว่า สุดท้ายป่าชุมชนคือบ้านของพี่ๆทุกคนบ้านของพวกเรา เราดูแลเพื่อให้บ้านไม่ถูกเผา ป่าชุมชนคือพื้นที่วัฒนธรรมพื้นที่ชุมชนพื้นที่การเรียนรู้ พื้นที่สร้างราย พื้นที่มีโภชนาการที่สมบูรณ์พื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ที่เรารู้สึกว่าเราอยู่แล้วปลอดภัย สุดท้ายเนี่ยถ้าใครมาเผาบ้านเราช่วยกันดูแลเมื่อไม่เผามันก็ไม่เกิดพีเอ็ม 2.5 ก็เลยกลายเป็นที่มาที่ไปว่าโครงการแบบนี้ สสส. ต้องเร่งสนับสนุนให้ชุมชนเข้าใจถึงผลกระทบแล้วก็เป็นเจ้าของป่าเป็นเจ้าของบ้านที่จะดูแล แต่ทำยังไงให้เราเติมพลังชุมชนเพื่อไปแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ได้ ก็เป็นที่มาที่ไปตรวจสอบเป็นองค์กรนวัตกรรมเพราะฉะนั้น ถ้าอยากทำอะไรที่มันดูใหม่ ดูเป็นสิ่งที่แบบภาครัฐไม่เคยทำมาก่อน เราใช้งบประมาณ สสส. เพื่อทำให้มันมันมีโมเดลใหม่ๆมาป้องกันป่า ป้องกันบ้านของตัวเองแบบใหม่ๆได้ ยิ่งเมื่ออากาศมันร้อนขึ้น ยิ่งเมื่อสภาพอากาศมันเปลี่ยนไป เราเจอประสบการณ์ที่ฝนน้อยแต่ฝนหนักมาก มาเละเทะน้ำท่วมบ้านหลายบ้านแทบสูญสิ้น คิดว่าสุดท้าย เราแก้ปัญหาที่ต้นทาง ทำให้เราสามารถเทรดแลกป่าเป็นพื้นที่ ที่มันเป็นต้นทุนของชุมชนมันช่วยได้ ในบทสรุปผมคิดว่า สสส.เราเหมือนเป็นหน่วยตรงกลางที่ชวนคนทุกคนพี่ๆเพื่อนๆทั้งรัฐและเอกชนมานั่งคุยกัน อย่างพื้นที่ลำปาง เราเชื่อมโยงกับ เอสซีจี(ฆฉฌ) มาซื้อเศษชีวมวลของชาวบ้านที่ไม่ต้องเผานาข้าวแล้ว อะไรแบบนี้ ที่ทำให้พวกเราสามารถที่จะแทนที่จะไม่เผาแต่สร้างประโยชน์ได้หรือป่าชุมชนต่างๆ ที่มันเป็นเป็นพื้นที่ทำมาหากินมันไม่ถูกความหวงของภาครัฐ ทำยังไงให้ความเชื่อใจไว้ใจ การทำให้เกิดคณะกรรมการป่าชุมชนและอนุจังหวัด ต่างๆ มันเคลื่อนไปได้ เมื่อเช้าอยู่ด้วยกันเช้าแล้วผมรู้สึกว่าเราชื่นใจที่เราเห็นที่เราเห็นความรู้สึกการเป็นเจ้าของการพยายามทำให้ป่าเป็นพื้นที่ปลอดภัยและการใช้ประโยชน์ โดยเราไม่ได้รู้สึกว่ามันน่ากังวลขนาดนั้นแล้ว สมัยก่อนเรารู้สึกว่าเรื่องป่ามันจะดูแลกันยังไงได้ พอเรามี พรบ.ป่าชุมชนเป็นโจทย์สำคัญโดยเฉพาะ 15 พื้นที่ หรือการมีเทมเพลตได้ไปขอพัฒนาแผน ผมว่ามันดีมากเพราะสุดท้ายให้เรามานั่งทำแผนแต่ละพื้นแต่ละพื้นที่จะเหนื่อยมาก เข้าใจเลยว่ากว่าจะพัฒนาแผนออกมาได้ ซึ่งการมีเทมเพลต จะช่วยเราได้มาก อาจจะเหมือนกันก็ได้ ไม่เป็นไรแต่สุดท้ายมันคือมันคือแผนที่ทุกคนตกลงยินยอมเป็นเจ้าของด้วยกันคือคือสิ่งที่ดีมากๆ จริงๆโครงการ ระดับนี้เนี่ยมันทำให้ประชาชนแอคทีฟซิติเซน เป็นพลเมืองตื่นรู้ พร้อมสู้ เราก็สู้ไปด้วย เรื่องความยากลำบากในเรื่องปัญหามลพิษทางอากาศไม่ได้หยุดอยู่แค่นี้ สสส.ก็คุยเรื่องมลพิษจากต่างประเทศเราเพิ่งทำวงพูดคุยกับกับลาว และกัมพูชา มีกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงการต่างประเทศ เพราะสุดท้าย PM 2.5 ไม่ได้อยู่แค่ในบ้านเราอย่างเดียว เป็นมลพิษข้ามแดน  ก็เป็นนโยบายประเทศที่เราเข้าไปเร่งดำเนินการเพื่อให้ให้พวกเราไม่ป่วย สสส.เราเป็นคนทำงานสุขภาพ เราต้องไม่ป่วย ถ้าป่วยไม่ได้ป่วยเรื่อง PM 2.5 ต้องไม่ป่วยเรื่องนี้เพราะว่าเป็นเรื่องป้องกันได้ มันแก้ไขปัญหาได้ วันนี้มาให้กำลังใจ ให้อยากเสริมพลังเก็บเติมพลัง พี่ๆเพื่อนๆทุกคนว่าเราอยู่ด้วยกันในเชิงงบประมาณในเชิงต้นทุนในเชิงการสนับสนุน สสส. ไม่หายไปไหน เพื่อที่จะให้พวกเราภาคีฝั่งชุมชนได้รับการหนุนเสริมเติมพลัง

ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา มีการจัดตั้งป่าชุมชนในพื้นที่ป่าต่างๆ ทั่วประเทศก่อนจะมี พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ.2562 และหลังมี พ.ร.บ.แล้ว จนถึงปัจจุบันประมาณ 12,000 แห่ง  เนื้อที่รวมประมาณ 6.6 ล้านไร่   และกรมป่าไม้มีเป้าหมายภายในปี 2570 จะเพิ่มจำนวนป่าชุมชนอีก 15,000 แห่ง เนื้อที่รวมประมาณ 10 ล้านไร่ พอช. จึงร่วมกับกรมป่าไม้ รวมถึงภาคประชาสังคม และขบวนองค์กรชุมชนในการส่งเสริมป่าชุมชนนำร่อง  จำนวน 15 แห่งทั่วประเทศภายในปีนี้ เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมกันอนุรักษ์ป่า  และสามารถใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน

เช่น  การจัดทำโครงการคาร์บอนเครดิตเพื่อลดภาวะโลกร้อน  ซึ่งประชาชนจะได้รับงบประมาณมาสนับสนุนการพัฒนาชุมชน  รวมทั้งการดึงภาคธุรกิจเอกชนมาส่งเสริมให้ชาวบ้านดูแลป่า  และการสร้างฝายมีชีวิตเพื่อกักเก็บน้ำ  จะทำ ให้ประชาชนมีน้ำใช้   มีผลผลิตต่างๆ จากป่า  รวมทั้งการส่งเสริมการปลูกไม้มีค่าเป็นทรัพย์สิน  เช่น ต้นยางนา  ไม้สัก  ประดู่  ตะเคียนทอง

“พื้นที่  1 ไร่  จะปลูกต้นไม้ดีๆ ได้ประมาณ 200 ต้น  ได้ต้นละ 2-3 หมื่นบาท  จะได้มูลค่าประมาณ 2 ล้านบาท  หาก 1 ชุมชนปลูก 1,000 ไร่  จะสร้างมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท  ประเทศไทยจะเปลี่ยนไปใน 3 ปีด้วยมือเรา  และในอนาคตจะมีการต่อยอดในพื้นที่ป่าชายเลนที่สามารถจัดทำแผนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์   สร้างอาชีพ  สร้างรายได้  สร้างพื้นที่สีเขียวได้” 

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พอช. แจงความคืบหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากรถไฟทางคู่ 9 จังหวัด ภาคใต้

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช.เดินหน้าแก้ไขปัญหาชุมชนในที่ดินการรถไฟฯ ทั่วประเทศตาม มติ ครม.14 มีนาคม 2566 ในพื้นที่ 35 จังหวัด 300 ชุมชน จำนวน 27,084 ครัวเรือน ใช้งบประมาณรวม 7,718 ล้านบาทเศษ

ชาวบ้านเฮ!! 'พัชรวาท' มอบ 'กรมป่าไม้' เร่งพัฒนาสร้างสาธารณูปโภคในพื้นที่ป่า เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ได้มอบนโยบายให้กรมป่าไม้ไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ป่าไม้ โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำ ชั้น 1 และ ชั้น 2 ซึ่งมีปัญหาในเรื่องการพัฒนาสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่ป่าไม้

เครือข่าย “ชุมชนล้อมรักษ์” ต้นแบบช่วยผู้ติดยามีความหวัง

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาองค์รวม การแก้ไขไม่ใช่แค่เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่ถือเป็นปัญหาสุขภาพความเจ็บป่วย เมื่อเป็นแล้วก็เป็นใหม่ได้อีก

พอช. ร่วม ศูนย์คุณธรรม และ สช. ขับเคลื่อนคุณธรรมของเครือข่ายทางสังคม มุ่งสร้างคุณธรรมด้วยระบบเครดิตทางสังคม

กรุงเทพมหานคร / วันนี้ 29 เมษายน 2567 ระหว่างเวลา 14.00 – 16.00 น. ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) นำโดย รศ นพ.สุริยเดว ทรีปราตีผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม

พอช. ร่วม 3 พื้นที่รูปธรรมภาคอีสาน ถอดบทเรียนเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

ระหว่างวันที่ 22-24 เมษายน 2567 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) โดยสำนักพัฒนาองค์ความรู้และสื่อสารองค์กร ร่วมกับสำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลงพื้นที่ถอดบทเรียน 3 พื้นที่รูปธรรม

สสส. ปลื้ม ครบรอบ 4 ปี ThaiHealth Academy พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรสุขภาวะ 82 หลักสูตร

เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 ที่โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ หรือ ThaiHealth Academy