พอช. ร่วม 3 พื้นที่รูปธรรมภาคอีสาน ถอดบทเรียนเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

ระหว่างวันที่ 22-24 เมษายน 2567 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) โดยสำนักพัฒนาองค์ความรู้และสื่อสารองค์กร  ร่วมกับสำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลงพื้นที่ถอดบทเรียน 3 พื้นที่รูปธรรม ประกอบด้วย โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต  ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์  จังหวัดศรีษะเกษ , ถอดบทเรียนจังหวัดจัดการตนเองจังหวัดอำนาจเจริญ และสหกรณ์เคหสถานแก่นนคร จำกัด บริหารงานดีมีเงินปันผลกลับคืนให้สมาชิก โดยมีผู้แทนขบวนองค์กรชุมชน และภาคีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ไม่น้อยกว่า 20 คน/เวที

ถอดบทเรียนคนไพรพัฒนา เลี้ยงผึ้งสร้างรายได้ ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพชีวิตคนในชุมชน

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2567 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) โดยสำนักพัฒนาองค์ความรู้และสื่อสารองค์กร  ร่วมกับสำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลงพื้นที่ถอดบทเรียนโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต  ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์  จังหวัดศรีษะเกษ  มีผู้เข้าร่วมจากตัวแทนชุมชนผู้เลี้ยงผึ้ง ทีมงานพัฒนาการอำเภอภูสิงห์ เจ้าหน้าที่พอช.ส่วนกลางและสำนักงานภาค จำนวน 20 กว่าคน

ทั้งนี้ตัวแทนกลุ่มเลี้ยงผึ้งได้ร่วมวง ช่วยกันเล่าที่มาที่ไปของการเลี้ยงผึ้ง   เริ่มต้นจากการหาน้ำผึ้งจากป่าชุมชนพนมดงรัก  นำมาสู่การเลี้ยงผึ้งโพรง จากตัวแทนชุมชน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวนาสวรรค์   กลุ่มเลี้ยงผึ้งบ้านโอปังโกว่  กลุ่มผึ้งป่าทางสายลวด   จากการสนับสนุนโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สนับสนุนกล่องเลี้ยงผึ้งโพรง  ก่อให้เกิดรายได้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ เลี้ยงผึ้งโพรง  1 กล่อง เกิดรายได้ 1,000 บาท  ช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ผึ้งผลิตน้ำผึ้งได้เยอะ รังผึ้งบางรังสามารถผลิตน้ำผึ้งได้ถึง 20 ขวด

โครงการสร้างรายได้จากการเลี้ยงผึ้งโพรง​ เป็นโครงการพัฒนาเชิงพื้นที่​ มุ่งเน้นการขยายผลการเลี้ยงผึ้ง​ ซึ่งเป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้​ให้ครัวเรือนเป้าหมาย​ โดยพื้นที่ตำบลไพรพัฒนาเป็นพื้นที่​ ซึ่งตั้งอยู่บนไหลเขาพนมดงรัก​ พื้นที่ป่าต้นน้ำ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า ที่มีความอุดมสมบูรณ์​ อาชีพการเลี้ยงผึ้ง​ สามารถสร้างรายได้​ และยังช่วยสร้างสำนึกหวงแหนฐานทรัพยากรชุมชน​ ด้วยอีกทางหนึ่ง

จังหวัดจัดการตนเองอำนาจเจริญ เมืองธรรมเกษตร

วันอังคารที่ 23 เมษายน 2567 สำนักพัฒนาองค์ความรู้และสื่อสารองค์กร ร่วมกับสำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  ร่วมกับขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ  และภาคีที่เกี่ยวข้อง ถอดบทเรียนจังหวัดจัดการตนเองจังหวัดอำนาจเจริญ  ณ มหาวิทยาลัยมหิดล  วิทยาเขตอำนาจเจริญ

บทเรียนการพัฒนากว่า 3-4 ทศวรรษ

เกิดพัฒนการ เส้นรอยเวลา Timeline การทำงานภาพรวมจังหวัดจัดการตนเอง  การบูรณาการแผนกับยุทธศาสตร์จังหวัด  หน่วยงานขับเคลื่อนตามแผนยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย เกษตร องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) โรงสีชุมชน  สวนผัก อุตสาหกรรม พาณิชย์จังหวัด มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ ฯลฯ การดำเนินโครงการวิจัยชีวิตสาธารณะฝึกให้ขบวนองค์กรชุมชนมองเป้าหมายร่วม เป้าหมายกลางของทีมทำงาน  เป้าหมายร่วมระดับจังหวัด เมืองธรรมเกษตร

เมื่อถามว่าอะไรที่ทำให้งานสำเร็จ  คำตอบที่ได้จากการแลกเปลี่ยน คือ  1) ผู้นำที่มา มาจากพื้นที่รูปธรรม มาจากพื้นที่จริง ทำให้หน่วยงานราชการยอมรับ  1) การมีเป้าหมายร่วม 2) การเข้าไปร่วมงานกับกลไกของหน่วยงานรัฐ ที่สำคัญ พวกเราต้องยอมรับซึ่งกันและกัน    3) การสื่อสารผ่านช่องทางต่าง ๆ วิทยุ สวท.ให้เราจัดรายการสัปดาห์ละ 1 ชม. รายการประชาชนสนทนา  ทุกวันอาทิตย์เวลา 11.00-12.00 น.  รายการธรรมาภิบาล   และทีมสื่อสร้างสุข  ของ Thai PBS  

เมื่อมีโครงการต่างๆ เข้ามา จะมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันเสมอ กรณีงานวิจัยแก้ไขปัญหาความยากจน ทีมงานบางส่วนได้ร่วมเป็นทีมผู้ช่วยนักวิจัย  ผู้ให้ข้อมูล เป็นการเปิดพื้นที่ให้กับภาคีวิชาการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  ปีนี้ดำเนินการเข้าสู่ปีที่ 5  ความท้าทายของการทำงานพัฒนาคือ เรื่องพัฒนาคนรุ่นใหม่  ให้เข้ามาอยู่ในขบวนองค์กรชุมชน ได้มีการประสานขอรับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

คนอำนาจเจริญมีความเชื่อมั่นว่าแนวทางจังหวัดจัดการตนเอง คือแนวทางแก้ไขปัญหาของประเทศชาติของเรา  “ความเหลื่อมล้ำ ความไม่ยุติธรรม  ต้องแก้ไข” เราใช้คำว่าธรรมเกษตร  มันมีความหมาย  เชื่อว่าแนวทางการทำงานของพี่น้อง จะแก้ไขปัญหา 3 ระดับ ได้แก่  1) ปัญหาโครงสร้าง  ความสัมพันธ์ดีขึ้น  2) การเปลี่ยนแนวคิดจิตสำนึกของพี่น้องประชาชน  ซึ่งถือว่ายากที่สุด  3) สร้างพื้นที่รูปธรรม จัดการตนเอง ผ่านงานพอช. และหน่วยงานอื่น ๆ ยกระดับการดำเนินการตามโครงการต่าง ๆ   ความท้าทาย คือ   อยากให้เด็ก เยาวชนมาสานต่อการทำงานร่วมกัน   ผู้ใหญ่จะไปเชื่อมโยงกับเด็ก การใช้สื่อที่สื่อสารในวงกว้าง  ไม่ให้แตกต่างคนละขั้วเกินไป

บทเรียน "สหกรณ์เคหสถานแก่นนคร จำกัด : บริหารงานดีมีเงินปันผลกลับคืนให้สมาชิก"

วันพุธที่ 24 เมษายน 2567 สำนักพัฒนาองค์ความรู้และสื่อสารองค์กร ร่วมกับสำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลงพื้นที่ถอดบทเรียนการบริหารสหกรณ์ ของคณะกรรมการและสมาชิกสหกรณ์เคหสถานแก่นนคร จำกัด   ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น  มีผู้เข้าร่วม 20 คน

เดิมสหกรณ์เคหสถานแก่นนคร จำกัด  

มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ ปี 2549  ออมเงินอาทิตย์ละ 300 บาท  และนำเงินไปฝากที่กลุ่มใหญ่  ช่วงแรกถูกโกงเงินไป จึงต้องออมกันใหม่ด้วยความที่อยากมีบ้านเป็นของตนเอง  จนปี 2552 จัดตั้งเป็นสหรณ์  ความเชื่อมั่นเกิดขึ้นหลังจากได้เข้าร่วมเวทีต่างๆ การได้ไปศึกษาดูงาน และมีทีมพี่เลี้ยงจากชุมชนตะวันใหม่  ได้รับความร่วมมือจากเทศบาลนครขอนแก่น  สนับสนุนด้านบุคลากรจากสำนักช่าง งานสวัสดิการเข้ามาช่วยสนับสนุนการดำเนินงาน   สมาชิกชุมชนก้าวหน้า 95 นคร มีทั้งหมด  333 ครอบครัว  ซื้อที่ดินใหม่ ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ทำนา   สร้างบ้านทีละเฟส  ตามความพร้อมของสมาชิก  แบบบ้านมีอาคารพาณิชย์  2 ชั้น ขนาด 10 ตร.วา  และ  12 ตร.วา  และบ้านแฝด 32 หลัง 16 ตร.วา    คณะกรรมการ 12 คน   วาระ 2 ปี ดำรงตำแหน่งได้ 2 วาระ

การบริหารสหกรณ์ใช้หลัก  “เปิดใจ ให้อภัยซึ่งกันและกัน เรียนรู้ไปด้วยกัน”  สมาชิกส่วนใหญ่จะชำระหนี้คืนตรงเวลา สหกรณ์เคหสถานแก่นนคร จำกัด ชำระหนี้คืนกับพอช. และได้เข้าร่วมโครงการสร้างแรงจูงใจ  จากสำนักสินเชื่อ ช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19  สมาชิกสหกรณ์ยินดีให้นำเงินส่วนนี้ประมาณ 700,000 กว่าบาท ไปดำเนินกิจกรรมงานกลาง หรือสาธารณูปโภคต่าง ๆ ของสหกรณ์  สหกรณ์วางแผนการชำระคืนหนี้ตามสัญญาที่ดินก่อน และจะชำระคืนหนี้สัญญาบ้านในลำดับต่อไป การบริหารงานของสหกรณ์ทำให้มีพอส่วนต่างเกิดรายได้ จากการปล่อยกู้ให้สมาชิก   จากกประชุมเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา สหกรณ์บริหารงานมีกำไร 1,900,000 บาท  ที่ทำการสหกรณ์ เปิดทุกวัน หยุด ส-อ วันหยุดนขัตฤกษ์

สมาชิกมีความความพยายามมุ่งมั่นในการส่งคืนชำระหนี้ จากเดิมที่เป็นผู้เช่าห้องพัก  จ่ายค่าเช่าอยู่แล้ว นำค่าเช่ามาจ่ายค่าบ้านที่เป็นบ้านของตนเอง  สมาชิกกับคณะกรรมการอยู่กันแบบพี่น้อง  ก็มีความคิดเห็นไม่ตรงกันบ้าง  หากมีปัญหาคณะกรรมการจะช่วยกันแก้ไขปัญหา  สมาชิกสหกรณ์บางคนเล่าว่า สิ่งที่ได้มากกว่าบ้าน คือ “นอกจากได้บ้านแล้วการอยู่กันแบบพี่น้องเพื่อนบ้านยังช่วยกันดูแลความปลอดภัยของบ้านตอนที่ตนเองไม่อยู่อีกด้วย”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คนลิบงร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล “พะยูนอยู่ไม่ได้ คนเกาะลิบงก็อยู่ไม่ได้”

“ถ้าไม่มีพะยูน คนเกาะลิบงก็อยู่ไม่ได้ เพราะถ้าที่ไหนมีพะยูน ท้องทะเลตรงนั้นก็จะแสดงถึงความอุดมสมสมบูรณ์ และคนเกาะลิบงส่วนใหญ่ก็หากินกับท้องทะเล

สสส. พอช. และไทยพีบีเอส เปิดบ้าน ชวนคนรุ่นใหม่เสนอโครงการ คนรุ่นใหม่คืนถิ่นเฟส 2 “Movement คนรุ่นใหม่”

สสส. : วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น. สสส. ร่วม พอช. และ Thai PBS เปิดบ้านรับข้อเสนอโครงการ “Movement คนรุ่นใหม่” ตั้งแต่วันนี้ – 25 พฤษภาคม 2567

พอช. แจงความคืบหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากรถไฟทางคู่ 9 จังหวัด ภาคใต้

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช.เดินหน้าแก้ไขปัญหาชุมชนในที่ดินการรถไฟฯ ทั่วประเทศตาม มติ ครม.14 มีนาคม 2566 ในพื้นที่ 35 จังหวัด 300 ชุมชน จำนวน 27,084 ครัวเรือน ใช้งบประมาณรวม 7,718 ล้านบาทเศษ

พอช. ร่วม ศูนย์คุณธรรม และ สช. ขับเคลื่อนคุณธรรมของเครือข่ายทางสังคม มุ่งสร้างคุณธรรมด้วยระบบเครดิตทางสังคม

กรุงเทพมหานคร / วันนี้ 29 เมษายน 2567 ระหว่างเวลา 14.00 – 16.00 น. ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) นำโดย รศ นพ.สุริยเดว ทรีปราตีผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม

เครือข่ายสวัสดิการชุมชนจัดงานสมัชชาสวัสดิการชุมชนระดับภาค ที่สุพรรณบุรี “สวัสดิการชุมชน พลังสร้างสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ แก้วิกฤตประชากรไทย”

สุพรรณบุรี : เครือข่ายสวัสดิการชุมชน ร่วม กระทรวง พม. พอช. จัดงานสมัชชาสวัสดิการชุมชนระดับภาค ภาคกลางและตะวันตก และภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑลและตะวันออก

‘วราวุธ’ รมว.พม. เยี่ยมชุมชนริมคลองเปรมประชากร ด้าน ‘พอช.’ เดินหน้าพัฒนาที่อยู่อาศัย-คุณภาพชีวิตแล้ว 17ชุมชน 1,699 ครัวเรือน

คลองเปรมประชากร/ ‘วราวุธ ศิลปอาชา’ รมว.พม.ลงพื้นที่เยี่ยมชาวชุมชนริมคลองเปรมประชากร โดยลงเรือบริเวณท่าเรือชั่วคราวสะพานสูง เขตบางซื่อ