ผู้ว่า กยท. ปลื้ม จัดโครงการ “Rubber Start up " ปีที่ 3 ตอบโจทย์สร้างแรงบันดาลใจคนรุ่นใหม่ ผลักดันยางไทยสู่ระดับโลก

ผู้ว่าการ กยท. ปลื้ม ความสำเร็จโครงการ Natural Rubber Startup Acceleration Program: Batch 3 ปี 2566 ตอบโจทย์สร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่พัฒนาอุตสาหกรรมยางไทยก้าวไกลในตลาดโลก พร้อมทุ่มเทเดินหน้าต่อ เพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ ดึงนักลงทุนนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดโครงการส่งเสริม และพัฒนาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยาง การพัฒนาด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยาง (Natural Rubber Startup Acceleration Program: Batch 3) ประจำปี 2566 ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 6 ชั้น 5 โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ ว่า โครงการนี้ กยท. ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 ซึ่งตอบโจทย์อย่างมากในการสร้างแรงบันดาลใจ และแสวงหานวัตกรรมใหม่มาใช้ในการพัฒนายกระดับยางพารา และอุตสาหกรรม จากฝีมือการพัฒนาโดยคนรุ่นใหม่

“โครงการนี้ ถือเป็นการตอกย้ำบทบาทตามภารกิจที่สำคัญของ กยท. ตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ในด้านการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา และเผยแพร่ข้อมูล และที่สำคัญยังเป็นการตอบโจทย์การพัฒนา ด้วยในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทยให้ก้าวหน้าและเติบโตอย่างยั่งยืนได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาช่วยพัฒนา ดังนั้น โครงการนี้ จึงเป็นก้าวสำคัญของการส่งเสริม สนับสนุนคนที่มีแนวคิดต้องการสิ่งใหม่ ให้ได้มีเวทีในการนำเสนอ และสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้น และที่สำคัญ โครงการในครั้งที่ 3 นี้ ได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่เป็นอย่างมาก เหมือนกับการจัดใน 2 ครั้งที่ผ่านมา จึงถือว่าประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้เป็นอย่างดี” ผู้ว่าการ กยท. กล่าว    

ผู้ว่าการ กยท. กล่าวต่อไปว่า กยท. พร้อมที่จะให้การสนับสนุนคนรุ่นใหม่อย่างเต็มที่ในการขับเคลื่อนการสร้างธุรกิจ Ecosystem ได้อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมกันนี้ ทาง กยท. ยังคงมุ่งมั่นกับการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในการทำวิจัย ที่จะช่วยต่อยอดผลิตภัณฑ์ยางให้เพิ่มมากขึ้น

“Natural Rubber Startup Acceleration Program ถือเป็นโครงการที่ กยท. มุ่งมั่นตั้งใจอย่างเต็มที่ในการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะการเชิญผู้ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ มาเป็นวิทยากรแบ่งปันความรู้ แนวคิด เพื่อสร้างแรงบันดาลให้กับคนรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงการเชิญชวนนักลงทุนที่สนใจ ให้ได้เข้ามาร่วมขยายผล นำผลงานนวัตกรรมใหม่ๆ ที่คิดค้นขึ้นไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ เพื่อนำมาซึ่งประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทย”  ผู้ว่าการ กยท. กล่าวในตอนท้าย

อนึ่ง โครงการ Natural Rubber Startup Acceleration Program: Batch 3 ประจำปี 2566 มีกำหนดที่จะจัดกิจกรรมอีกครั้งในวันที่ 29 ก.ย.2566 ภายใต้กิจกรรม RUBBER INNOVATION MACTHING DAY เพื่อนำเสนอผลงานผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และการจับคู่ธุรกิจ พร้อมเปิดรับสมัครนักลงทุนที่สนใจเข้าร่วมลงทุนธุรกิจด้านยางพารา ซึ่งนักลงทุน และประชาชนที่สนใจ สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ facebook page : P-seda  หรือ Line : @pseda  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กยท.จับมือญุี่ปุ่น แปรรูปเมล็ดยางผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ ชาวสวนยาง เตรียมเฮ! มั่นใจช่วยเพิ่มรายได้/สร้างความมั่นคง

กยท.จับมือเอกชนญี่ปุ่น ขับเคลื่อนขยายผลการแปรรูปเมล็ดยางพาราเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากวัตถุดิบชีวมวล ไร้มลพิษ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรับกระแสโลก

อบก. ไฟเขียว สวนยางพาราขายคาร์บอนเครดิตได้ กยท.เดินหน้าพัฒนาสู่เป็นกลางทางคาร์บอน 20 ล้านไร่

อบก. ไฟเขียว ต้นยางพาราสามารถนำมาผ่านกระบวนการซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตได้ กยท. รับลูก เร่งขับเคลื่อนพัฒนาสวนยางที่ขึ้นทะเบียนไว้กว่า 20 ล้านไร่ทั่วประเทศ

2กระทรวงใหญ่ผนึกกำลังขับเคลื่อนนิคมฯยางพารา ใช้มาตรการตรวจสอบย้อนกลับดึงนักลงทุนต่างชาติ

กยท.เดินหน้า จับมือ กนอ.ลงนาม MOU ขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมยางพาราให้เห็นผลเป็นรูปธรรม พร้อมดึงนักลงทุนจากต่างชาติ ชูจุดเด่นตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มายาง ดันไทยก้าวขึ้นสู่ศูนย์กลางยางพาราโลก สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ให้ทุกภาคส่วนในวงการยางพาราอย่างยั่งยืน

อย่ากระพริบตา...ราคายางทะลุ100บาท/กก. จริงหรือ?

สถานการณ์ราคายางในปี 2567 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยางแผ่นรมควันชั้น 3 จากราคากิโลกรัมละ 57 บาทเมื่อช่วงต้นเดือนมกราคม 2567 ล่าสุดช่วงกลางเดือนมีนาคม 2567

กยท. เดินหน้าสร้างความมั่งคั่งให้เกษตรกรชาวสวนยาง จับมือ กนอ. เซ็น MOU ลุยสร้างฐานวิจัยพัฒนา บริการวิชาการ ธุรกิจยางและเกี่ยวเนื่อง รับโอกาสทองจากระบบ EUDR

2 รัฐวิสาหกิจ กยท. และ กนอ. จับมือลงนามบันทึกความเข้าใจ วิจัยพัฒนา การบริการวิชาการ และความเป็นไปได้ของการดำเนินธุรกิจยางพารา

กยท.ตั้งเป้ากำหนดราคายางโลก เร่งตรวจสอบย้อนกลับ3.5ล้านตัน ใช้EUDRเป็นเครื่องมือสร้างเสถียรภาพ/ขยายตลาด

กยท.เร่งขับเคลื่อนมาตรการตรวจสอบย้อยกลับแหล่งกำหนดยางพารา ใช้กฎเหล็ก EUDR เป็นเครื่องมือชิงความได้เปรียบ เดินหน้าขยายตลาดสร้างเสถียภาพก้าวสู่การเป็นผู้นำกำหนดราคายางโลก