อิ่มดี..มีสุขภาวะถ้วนหน้า สร้างระบบที่อาหารยั่งยืน

ตั้งแต่ปี 2564 ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้ประกาศความร่วมมือการขับเคลื่อนระบบอาหารที่ยั่งยืน "อิ่มและดี 2030"  Healthy Diets for All   และขับเคลื่อนผักให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยมุ่งเน้นผนึกกำลังทุกภาคส่วน ร่วมกันวางแผนพัฒนาอนาคตของภาคเกษตรไทย ฟื้นเศรษฐกิจไทยกลับสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามแนวทางและมาตรการที่มุ่งเน้นการพลิกโฉมระบบอาหาร ไปสู่ระบบอาหารที่ดี  ยั่งยืน และเป็นธรรมมากขึ้น มุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable  Development Goals 2030 : SDGs) ทั้ง 17 ข้อ  ภายในปี 2573 โดยเฉพาะเป้าหมายด้าน "การยุติความหิวโหย การบรรลุความมั่นคงทางอาหาร ปรับปรุงภาวะโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน"

เพื่อขับเคลื่อน "อิ่มและดี 2030"  อย่างต่อเนื่อง เมื่อกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรฯ ในฐานะหน่วยประสานงานหลัก ร่วมกับ สสส. และภาคีเครือข่าย 40 หน่วยงาน สานพลังความร่วมมือจัดกิจกรรม Press interview เพื่อสื่อสาร Food and Agriculture Systems Stocktaking  "เส้นทางสู่การพลิกโฉมระบบอาหารที่ยั่งยืนของประเทศไทย" เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสดงเจตจำนงที่จะพลิกโฉมระบบเกษตรและอาหารที่ยั่งยืน    อีกทั้งทบทวนความก้าวหน้า แชร์ประสบการณ์  เพื่อเตรียมความพร้อมในการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Summit)  ในเดือนกันยายนศกนี้ต่อไป

กิจกรรมดังกล่าวมีประเด็นที่น่าสนใจเปิดเผยโดย .ส.นวรัตน์ เฉลิมเผ่า ผู้ช่วยผู้แทนองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agricultural Organization : FAO) ประจำประเทศไทย ที่ระบุว่า สถานการณ์ตัวเลขคนอดอยากทั่วโลกหลังเผชิญโควิด-19 อยู่ที่ 820 ล้านคน  เพิ่มขึ้นจากในปี 2562 ถึง 132 ล้านคน มีประชากรโลกกว่า 3 พันล้านคนไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ และกว่า 2 พันล้านคนประสบปัญหาโภชนาการจากการบริโภค เช่น บริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม น้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน กระทบต่อสุขภาพที่ส่งผลต่อรายจ่ายด้านสาธารณสุขของประเทศ

FAO สนับสนุนประเทศไทยในการส่งเสริมระบบอาหารทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สอดคล้องเป้าหมายหลักของกรอบยุทธศาสตร์ใหม่ ที่มุ่งเน้นพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนและระบบอาหารสีเขียว โดยเฉพาะการลดการสูญเสียอาหารและของเสีย เสริมสร้างการจัดการดิน น้ำ ป่าไม้ และระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืน ผ่านการเกษตรที่เป็นมิตรต่อความหลากหลายทางชีวภาพและการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (DRR) นำไปสู่การผลักดันนโยบายแก้ปัญหาการเกษตรระยะยาว

คนไทยขาดสารอาหารโดยเฉลี่ย 3.7 ล้านคนในปี 2020-2022 ค่าเฉลี่ยปี 2019-2021 จำนวน 6.2 ล้านคน ปี 2018-2020 จำนวน 5.7 ล้านคน เป็นข้อสังเกตว่าในช่วงสถานการณ์โควิด มีการผลิตที่ดีขึ้น คนไทยได้รับคุณค่าทางโภชนาการดีขึ้นด้วยระบบ logistic เป็นการสั่งซื้ออาหารถึงมือผู้บริโภคโดยตรง เมื่อเปรียบเทียบสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร

ข้อมูลจาก FAO ปี 2022 คน 700 ล้านคนอดอยากหิวโหยทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในทวีปแอฟริกา กลุ่มประเทศที่ต้องเผชิญกับสงคราม ความขัดแย้งสูงทำให้คนอดอาหารสูง คน 2.4 พันล้านคนมีภาวะความไม่มั่นคงทางอาหารอย่างรุนแรงน่าเป็นห่วง ภาวะทุพโภชนาการ 5 ปีก่อน มากกว่า 489 ล้านคน มากกว่า 45 ล้านคนผอมไป อ้วนไป 37 ล้านคน

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. ให้ข้อมูลด้วยว่า FAO ให้คนไทยบริโภคผักผลไม้ 400 กรัม/วัน แต่คนไทยกินได้เพียง 37% ทั้งที่เมืองไทยมีผักผลไม้จำนวนมาก ขณะเดียวกันให้ลดการบริโภคหวาน มัน เค็ม FAO  ให้บริโภคน้ำตาลเพียงวันละ 6 ช้อนชา แต่คนไทยบริโภคน้ำตาล 26 ช้อนชา/วัน ส่งผลให้คนไทยเจ็บป่วยด้วยโรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง  มะเร็ง หัวใจ 3 ใน 4 คนไทยเจ็บป่วยด้วยโรค NCDs ถึงการเสียชีวิตเป็นเพราะการบริโภคอาหารที่มีผลเสียต่อคุณภาพชีวิต พื้นที่เกษตรอินทรีย์ในเมืองไทย 1 ล้านไร่ ตั้งเป้าหมายเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ขึ้นเป็น 5 ล้านไร่ ลดการใช้สารเคมีด้วยข้อ กม.ใช้ระบบการตลาดบริหารจัดการ

สสส.มีพันธกิจในการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะการสนับสนุนการพลิกโฉมระบบอาหารที่ยั่งยืนให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในปี 2573 สสส.เร่งสานพลังภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ ภายใต้วัตถุประสงค์หลัก 3 ข้อ 1.ส่งเสริมให้เกิดความรอบรู้และบูรณาการความร่วมมือหนุนเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะด้วยระบบอาหารที่ยั่งยืน ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤต 2.ส่งเสริมระบบตลาดอาหารปลอดภัยในชุมชน สร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือน/ชุมชน 3.ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ สื่อสารรณรงค์สังคมขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ

“โมเดลต้นแบบระบบอาหารชุมชนได้เน้นความสำคัญใน “การสร้างผลลัพธ์ทางสุขภาพอย่างก้าวกระโดด” ด้วยการขยายผลต้นแบบงานสร้างเสริมสุขภาพตั้งแต่ระดับต้นน้ำ พัฒนาต้นแบบแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย/อินทรีย์ พัฒนาผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค กระตุ้นเศรษฐกิจอาหารชุมชน ระดับกลางน้ำ ส่งเสริมระบบการขนส่ง/เชื่อมโยงผลผลิต และพัฒนารูปแบบการประกอบการให้เหมาะสมกับบริบทชุมชน วัฒนธรรม สร้างรายได้ชุมชน (ตลาดเขียว/ตลาดชุมชน/ตลาดเชิงสถาบัน) และระดับปลายน้ำ  สื่อสารความรอบรู้การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ  พัฒนาทักษะและสร้างจิตสำนึกสู่วิถีการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ ลดหวาน มัน เค็ม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาวะ ลดเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ ส่งผลสู่การผลักดันนโยบายสาธารณะ สร้างกระบวนการเรียนรู้และการสื่อสารที่มีประสิทธิผลและยั่งยืนในระดับพื้นที่ ระดับชาติ และระดับสากล” ดร.นพ.ไพโรจน์กล่าว

นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตอกย้ำถึง “เส้นทางสู่การพัฒนาระบบอาหารที่ยั่งยืน “อิ่มและดี 2030” 5 ด้าน ว่าได้แก่

1.“อิ่ม ดี ถ้วนหน้า” เข้าถึงอาหารปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ

2.“อิ่ม ดี มีสุข” ปรับเปลี่ยนวิถีการบริโภคเพื่อความยั่งยืน

3.“อิ่ม ดี รักษ์โลก” ส่งเสริมระบบการผลิตที่เพียงพอและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

4.“อิ่ม ดี ทั่วถึง” ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่เสมอภาค เท่าเทียม

5.“อิ่ม ดี ทุกเมื่อ” สร้างระบบที่มีความยืดหยุ่นปรับตัวได้ในทุกวิกฤต ตอบโจทย์เป้าหมายความยั่งยืน 17 ข้อ SDGs ของสหประชาชาติในการเป็นหุ้นส่วนระหว่างกัน

“ประเทศไทยมีศักยภาพ มีความพร้อมในการเดินหน้าสู่การเป็นครัวโลก เป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารที่สำคัญ พืชผักผลไม้ ธัญพืช ปศุสัตว์ ประมง การเตรียมความพร้อมด้านอาหารไม่เป็นรองใคร เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ พลิกโฉมในการผลิตอาหารให้สอดคล้องกับองค์การสหประชาชาติ รักษาความยั่งยืน รักษาสิ่งแวดล้อมด้วยมาตรฐาน ไม่ใช่ผลผลิตที่เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า พร้อมขับเคลื่อนภายในปี 2573” นายเศรษฐเกียรติยืนยัน

ทุกภาคีทำงานอย่างบูรณาการความร่วมมือ สู่เป้าหมายให้สอดคล้อง SDGs Zero Hunger ทำให้ทุกคนในโลกรอดพ้นจากความอดอยาก ทุกคนอิ่มและมีสุขภาพดี เท่ากับว่าอิ่มดี แม้ขณะนี้มีปรากฏการณ์เอลนีโญภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง โลกร้อน ความแห้งแล้ง การลดคาร์บอนเครดิต เกษตรกรจัดทำโครงการข้าวรักษ์โลก ไม่ทำให้การปลูกข้าวสร้างปัญหาคาร์บอนเครดิต เป็นการสร้างพลังให้ไทยเชื่อมโลกเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดี “บ้านเราในน้ำมีปลาในนามีข้าว คนไทยมีอัตราการอดอยากต่ำมาก เมื่อเดือดร้อนก็มีคนนำอาหารไปแจกจ่าย คุณภาพอาหารที่บริโภคมีโภชนาการที่เหมาะสม  อิ่มท้องและมีประโยชน์ด้วย”.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เครือข่าย “ชุมชนล้อมรักษ์” ต้นแบบช่วยผู้ติดยามีความหวัง

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาองค์รวม การแก้ไขไม่ใช่แค่เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่ถือเป็นปัญหาสุขภาพความเจ็บป่วย เมื่อเป็นแล้วก็เป็นใหม่ได้อีก

สสส. ปลื้ม ครบรอบ 4 ปี ThaiHealth Academy พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรสุขภาวะ 82 หลักสูตร

เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 ที่โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ หรือ ThaiHealth Academy

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ