สสส.เร่งส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะละแวกบ้านทั่วประเทศแก้ปัญหา NCDs เน้นกระบวนการมีส่วนร่วม ใช้ “พื้นที่สุขภาวะ” แก้ปัญหาเมืองเพิ่มคุณภาพชีวิตดี

สสส. เสริมพลังภาคีเครือข่าย ชูกระบวนการมีส่วนร่วม แชร์ข้อมูลและองค์ความรู้ สร้างสรรค์พื้นที่ 
สุขภาวะสีเขียวละแวกบ้านยั่งยืน เพื่อส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง ป้องกัน NCDs  พร้อมชวนภาคีเครือข่ายทำพื้นที่สุขภาวะแก้ปัญหาใหญ่ของเมืองทั้งระบบนิเวศ มลภาวะ น้ำท่วม แหล่งอาหาร ขับเคลื่อนไทยสู่สังคมสุขภาวะ ยกระดับคุณภาพเมือง คุณภาพชีวิต ทุกภาคส่วนได้ประโยชน์ร่วมกัน 

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)เปิดเผยว่า สสส.และภาคีเครือข่ายเร่งพัฒนาขยายพื้นที่สุขภาวะหรือพื้นที่สาธารณะสีเขียวละแวกบ้าน หรือสวนที่แทรกอยู่ในเขตชุมชนที่เข้าถึงได้ในระยะ 400-800 เมตร สามารถเดินเท้าได้ภายใน 15 นาที ซึ่งได้รับการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม ทั้งเชิงกายภาพผสาน การสัญจรที่เข้าถึงสะดวก พื้นที่ปลอดภัย ตามบริบทของแต่ละพื้นที่ เป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อสนับสนุนให้คนทุกเพศวัยสามารถเข้าใช้พื้นที่ประกอบกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะการมีกิจกรรมทางกายได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญต่อการขับเคลื่อนให้ไทยเป็นสังคมสุขภาวะใน 4 มิติ คือ กาย จิต ปัญญา และสังคม  

ทั้งนี้ มิติด้านกาย พื้นที่สุขภาวะละแวกบ้านจะเป็นพื้นที่ประกอบการมีกิจกรรมทางกายและ ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง เพื่อป้องกันและลดอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (NCDs) เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ การเสียชีวิตจากโรคความดันโลหิตสูง มะเร็งเฉพาะจุด เบาหวานประเภท 2 สุขภาพจิต (อาการวิตกกังวลและหดหู่ที่ลดลง) และการนอนหลับ ซึ่งโรคร้ายเหล่านี้เป็นสาเหตุสำคัญการเสียชีวิตของคนไทยถึงร้อยละ 75 ของการเสียชีวิตทั้งหมด   

มิติด้านจิตใจ พื้นที่สุขภาวะละแวกบ้านจะช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตของคนเมืองด้วยการผ่อนคลายความเครียด ลดความวิตกกังวลและซึมเศร้าจากการได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ มิติด้านปัญญาและมิติด้านสังคมเป็นพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม ดึงดูดผู้คนได้มาพบปะกัน เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน เป็นสังคมที่มีความถ้อยทีถ้อยอาศัย ร่วมกันแก้ปัญหาและรับผิดชอบพื้นที่ นอกจากนั้น การรวมตัวของผู้คนจะกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมการค้าเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจ และเป็นพื้นที่ส่งเสริมระบบนิเวศน์เมือง เช่น การเป็นทางระบายน้ำ การรักษาคุณภาพอากาศ เป็นต้น   

เน้นกระบวนการมีส่วนร่วม ทุกภาคส่วนได้ประโยชน์ สู่ความยั่งยืนของพื้นที่ 

ทั้งนี้ ตัวอย่างความสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะละแวกบ้าน ของสสส.ที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ เช่น พื้นที่สุขภาวะ “Healthy Rayong” จังหวัดระยอง พื้นที่สุขภาวะ “เพชรบุรีดีจัง” จังหวัดเพชรบุรี พื้นที่สุขภาวะคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ และภูเก็ตเมืองสุขภาวะ เป็นต้น นอกจากนั้นสสส.ยังพัฒนาองค์ประกอบพื้นที่สุขภาวะเชิงประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น การพัฒนาหลักสูตรนักพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ พื้นที่สุขภาวะชุมชนเพื่อผู้สูงอายุ พื้นที่สุขภาวะสำหรับเยาวชนและวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นต้น  

“ชุมชนไม่ใช่แค่คนที่อาศัยในพื้นที่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงภาคเอกชนซึ่งทำธุรกิจในนั้น คอนโดมิเนียม วัด โรงเรียน หน่วยงานราชการ ดังนั้นทุกภาคส่วนต้องได้ประโยชน์จากการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะร่วมกัน ซึ่งตรงกับวิสัยทัศน์ของสสส. ที่ มุ่งให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี โดยสิ่งสำคัญคือกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ในทุกๆ ขั้นตอน เนื่องจากเป็นผู้ใช้ประโยชน์ ดังนั้นพื้นที่ต้องเกิดจากความต้องการจริง เพราะไม่ใช่แค่การพัฒนาพื้นที่ แต่เป็นการปรับรูปแบบการใช้ชีวิตของคนเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะด้วย” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว   

จากพื้นที่สุขภาวะละแวกบ้าน สู่การแก้ปัญหาใหญ่ของเมือง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า  

นายยศพล บุญสม คณะกรรมการเครือข่ายพื้นที่สุขภาวะ และผู้ร่วมก่อนตั้งโครงการ we! park กล่าวว่า ปัจจุบัน we! park ภายใต้การสนับสนุนของสสส. กรุงเทพมหานคร และภาคีเครือข่ายต่างๆ มีแผนดำเนินงานพัฒนาสวนละแวกบ้านในเขตกรุงเทพฯ บนพื้นที่รกร้างแต่มีศักยภาพจำนวน 30 แห่ง และใช้เป็นโครงการต้นแบบนำร่องจำนวน 6 แห่ง เช่น หัวลำโพงรุกนิเวศน์ สวนป่าเอกมัย และสวนสานธารณะคลองสาน เป็นต้น โดยผ่านกระบวนการทดลองพัฒนาพื้นที่ต้นแบบที่เรียกว่าโครงการ Pop up park เพื่อให้ภาคีที่เกี่ยวข้องและชุมชนได้เห็นตัวอย่างความเป็นไปได้ของการใช้ประโยชน์ก่อนการพัฒนาพื้นที่จริงตามศักยภาพความเหมาะสมซึ่งสามารถแบ่งพื้นที่การพัฒนาได้ 6 ประเภท คือ Community & Well-being หรือพื้นที่ส่งเสริมสุขภาวะแก่ คนในชุมชน, Mobility & Connectivity พื้นที่เชื่อมต่อเมืองเพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน, Blue-green infrastructure พื้นที่วิถีชีวิตและธรรมชาติชุมชนริมน้ำ, Cultural and creative activity พื้นที่แห่งการสร้างสรรค์จากส่วนร่วมของชุมชน, Urban Agriculture พื้นที่แปลงเกษตรสำหรับคนเมือง และ Biodiversity values หรือพื้นที่ความหลากหลายทางชีวะภาพของธรรมชาติในเมือง   

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะละแวกบ้าน นอกจากความจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเจ้าของพื้นที่แล้ว ยังต้องอาศัยการแบ่งปันทรัพยากร ข้อมูล องค์ความรู้และศักยภาพจากหลายๆภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน เพราะนอกจากจะช่วยเร่งกระบวนการให้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์และสำเร็จอย่างรวดเร็วแล้ว พื้นที่สุขภาวะละแวกบ้านยังสามารถช่วยแก้ไขปัญหาในภาพใหญ่ของเมืองได้อีกด้วย เช่น  การพัฒนาพื้นสุขภาวะเพื่อสร้างระบบนิเวศของเมือง การช่วยลดมลภาวะ การเป็นพื้นที่สำหรับรับน้ำเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในเขตเมือง หรือพื้นที่สุขภาวะในเชิงเกษตรแหล่งอาหารปลอดภัยของคนเมือง เป็นต้น 

“โครงการไม่ได้มองแค่การแก้ปัญหาเรื่องพื้นที่สุขภาวะละแวกบ้านให้คนมาเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายเพื่อป้องกันโรค NCDs เท่านั้น แต่ยังต้องการลงทุนในภาพเล็ก เพื่อไปแก้ไขปัญหาในภาพใหญ่ของเมืองด้วย  ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกันจากคุณภาพของเมืองและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” นายยศพล กล่าว 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อึ้ง!! ผู้ติดเชื้อ HIV รายใหม่เกือบครึ่ง เป็นเยาวชนอายุ 15-24 ปี วันเอดส์โลก ‘66 สสส.-สถาบันยุวทัศน์ฯ สานพลังภาคี ขับเคลื่อนนโยบาย 'พก ซื้อ ใช้' ลดอุปสรรคการเข้าถึงถุงยางอนามัยของเยาวชน ชงข้อเสนอรัฐบาล 'ลดราคาถุงยาง เพิ่มการเข้าถึง'

ณ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย (ยท.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ สายด่วน 1663 เครือข่ายประชาชนขจัดการเลือกปฏิบัติ (MovED) และเครือข่ายสถานศึกษาในกรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรมขับเคลื่อนนโยบายวิถีชีวิตปกติกับถุงยางอนามัย “พก ซื้อ ใช้”

ประกาศปฏิญญากรุงเทพฯ ยกวาระสุขภาพสู่ระดับโลก

มิติสุขภาพในอนาคต โดยเฉพาะในอีก 10 ปีข้างหน้า จะมีการเปลี่ยนแปลงก้าวตามโลกสังคมเทคโนโลยี ทั้งนี้ เห็นได้จากสถานการณ์ที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับภาวะโรคโควิด-19 และยังต้องโฟกัสกับสภาวะโลกร้อนที่กลายเป็นโลกเดือด

ก้าวต่อไปของ ‘คนไร้บ้าน’ พม. - สสส. - จุฬาฯ แถลงผลแจงนับคนไร้บ้านปี 66 เกินครึ่งวัยกลางคน เป็นผู้สูงอายุ 22%

เมื่อวันที่ 22 พ.ย.2566 ณ อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

น่าน...ต้นแบบแข่งเรือปลอดเหล้า เดินหน้า Blue Zone ลดอุบัติเหตุ

งานประเพณีแข่งเรือวันออกพรรษา ตานก๋วยสลากวัดบุญยืนพระอารามหลวง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน เป็นประเพณีท้องถิ่นที่สืบทอดกันมานานนับหลายร้อยปี ที่คงเอกลักษณ์เดิมไว้มากที่สุด

สมาคมโรคเบาหวานฯ ผนึกพลังภาคีเครือข่าย จัดงานมหกรรมสุขภาพ เนื่องในวันเบาหวานโลก 2566 ชูแคมเปญ “รู้ว่าเสี่ยง รู้แล้วต้องเปลี่ยน”

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับภาคีเครือข่ายคนไทยไร้พุง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สำนักอนามัย กทม. กรมควบคุมโรค สมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย เครือข่ายชมรมเบาหวานไทย ชมรมเพื่อเด็กและวัยรุ่นเบาหวาน