ผลักดัน “เมืองดีต่อใจวัยเกษียณ” รองรับผู้สูงวัยครองเมือง

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือไทยพีบีเอส ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดกิจกรรม เนื่องในวันผู้สูงอายุสากล พ.ศ. 2566 เปิดเวทีสาธารณะ “เมืองดีต่อใจ วัยเกษียณ” เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2566 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยมีนางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส.เปิดงานเมืองที่ดีสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน มีหัวข้อเสวนา “จากเมืองไปสู่นโยบาย 4 มิติเพื่อวัยเกษียณ” โดยวิทยากร นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. น.ส.บุษยา ใจสว่าง รองอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ ผศ.ดร.ธร ปีติดล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม (CRISP) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายชาคริต พรหมยศ Co-Founder ยังแฮปปี้ นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานสมาคมผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย เข้าร่วมสานพลัง สร้างเมืองดีมีสุขภาวะยั่งยืน ภายในงานยังมีกิจกรรม Mini Workshop ออกแบบเมือง I Have a Dream TALK 4 เมือง ดีต่อใจ วัยเกษียณ และเสวนา “การไปสู่เมืองดีต่อใจ วัยเกษียณ” เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานชุมชนเมือง-ท้องถิ่น ให้ผู้สูงอายุและวัยก่อนสูงอายุมีคุณภาพชีวิตดี 4 มิติ คือ สุขภาพ, เศรษฐกิจ, สังคม และสภาพแวดล้อม

ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. เปิดเผยว่า เป็นความท้าทายของสังคมในการสร้างเมืองดีต่อใจวัยเกษียณ องค์การอนามัยโลกกำหนดอาคารสถานที่ให้ปลอดภัย สะดวกโดยไม่ต้องขึ้นบันได โดยเฉพาะการข้ามสะพานลอยเพียง 10 ขั้นก็เหนื่อยแล้ว ระบบขนส่งมวลชนก็ต้องเป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ คนพิการ สะดวกในการเดินถึงที่ ในเมืองจีนเพียงแตะบัตรประชาชนก็โดยสารได้แล้ว บ้านเราค่าโดยสารผู้สูงอายุครึ่งราคา ใช้บันไดเลื่อน

เราต้องจัดกิจกรรมทางสังคมให้ผู้สูงอายุ มากด้วยประสบการณ์และบารมี เป็นที่เคารพนับถือมีชมรม ทุกคอนโดฯ ต้องมีกิจกรรมให้ผู้สูงวัยได้รู้จักกัน ออกกำลังกายด้วยกัน มีการรดน้ำดำหัว ไม่ใช่ปล่อยให้แก่แล้วแก่เลย รอเวลาไปทำปุ๋ย กรมกิจการผู้สูงอายุกำหนดให้ทุกสำนักงานจ้างงานผู้สูงอายุมีรายได้ คนที่มีอายุมากกว่า 60 ปีทำงาน 10% หรือทำงานสัปดาห์ละ 1-2 วัน

ระบบการให้บริการ Care Giver Care Manager ทั่วประเทศ การทำงานจิตอาสากับผู้สูงอายุ มีธนาคารเวลาสะสมไว้ ช่วยเหลือคนไม่สบายพาไปรักษาที่โรงพยาบาล เก็บคะแนนสะสมไว้ ตัดผม เย็บปักถักร้อยให้ผู้สูงอายุ สร้างบ้านแปงเมือง จดลงสมุดบันทึกไว้เป็น Social Service ขณะนี้นำร่องที่เขตภาษีเจริญ และขยายตัวสร้างเครือข่ายใน 3-4 จังหวัด รวมถึงภาคเหนือด้วย

น.ส.บุษยา ใจสว่าง รองอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เปิดเผยว่า เมืองไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ เดินมา 5 คนมีผู้สูงวัย 1 คน ขณะนี้ผู้มีฐานะยากจน 5.3 ล้านคนมีบัตรสวัสดิการสงเคราะห์เป็นผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุที่พิการ 1.2 ล้านคน เมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุสุขภาพก็เสื่อมลง ช่วงอายุ 60-69 ปีอยู่คนเดียว 12.0% และ 21.1% อยู่ลำพังกับคู่สมรส ทั้ง 2 กลุ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงมีความเปราะบางต่อปัญหาต่างๆ ทั้งพบปัญหาสุขภาพโรคไม่ติดต่อ (NCDs) อย่างต่อเนื่อง ผู้สูงอายุส่วนหนึ่งมีสุขภาพดี มีสังคมออกนอกบ้านได้จำนวนมาก แต่ยังมีผู้สูงอายุอีกจำนวนหนึ่งที่ป่วยนอนติดเตียง สังคมปัจจุบันจึงเป็นเรื่องท้าทายที่ผู้สูงวัยได้อยู่อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี กรมฯ ทำงานคนเดียวไม่ได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

“เราต้องเตรียมพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ คนไทยเริ่มออมเงินในวัย 42 ปี ผู้สูงอายุ 47% มีเงินออม 53% ไม่มีเงินออม กลุ่มที่มีเงินออมไม่เกิน 5 หมื่นบาท เป็นการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับสุขภาพ หลักประกันรายได้ สร้างสภาพแวดล้อมด้วยมิติทางสังคม เป็นสิ่งสำคัญมาก เราไม่ได้เตรียมพร้อมเมื่ออายุ 59 ปี แต่ต้องเตรียมพร้อมตั้งแต่เป็นเยาวชน กรมฯ มีรูปแบบสวัสดิการ โรงเรียนผู้สูงอายุ เรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาอาชีพในชุมชน Best Practice มีพื้นที่สร้างสรรค์ดีๆ ยิ่งเราอยู่ในสังคมยุค digital ผู้ใหญ่ก็ต้องเข้าใจเด็ก ขณะเดียวกันเด็กในยุคอัลฟาก็ต้องเข้าใจผู้ใหญ่ การเข้าถึงรูปแบบสวัสดิการสังคม”

ผศ.ดร.ธร ปีติดล  ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม (CRISP) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้แจงว่า ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของสังคมสูงวัยเป็นงานที่ท้าทายมากที่สุด ภาพความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยช่วง 20 ปี ผู้สูงอายุที่มีรายได้ 20% ยากจนเพิ่มจำนวนสูงขึ้น 15%-37% หรือเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า การที่คนเปลี่ยนอาชีพจากเกษตรมาสู่ภาคอุตสาหกรรม งานบริการ เมื่ออายุมากกว่า 60 ปีเลิกทำงานไม่มีรายได้ ต้องพึ่งรายได้จากลูกหลาน เงินอุดหนุนจากรัฐ ไม่มีรายได้อื่นในการดูแลตัวเอง ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำในผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย “ขอตั้งคำถามว่าสังคมไทยเป็นอย่างไรถึงปล่อยให้มีปรากฏการณ์ ปล่อยคนแก่และยากจนให้ไม่สามารถคาดหวังในการดูแลได้ เราไม่มีระบบบำนาญที่ดี ไม่มีการส่งเสริมการประกันสังคม กองทุนการออมแห่งชาติเพื่อความมั่นคงทางรายได้”

“แก่แล้วจน แก่แล้วเจ็บป่วย มีปัญหาตามมาอีกมากมาย ผู้สูงอายุป่วยเพิ่มขึ้น 5%-15% อายุเกิน 80 ปีโอกาสเจ็บป่วย พิการเพิ่ม 1 เท่า ยิ่งสังคมไทยอายุยืนขึ้น ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังจำนวน 15% ไม่มีลูกหลานอยู่ด้วย ส่วนใหญ่คนหนุ่มสาวไปทำงานในเมือง ส่งผลให้ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพัง โอกาสที่ผู้สูงอายุ จน ป่วย เดียวดายมากขึ้น อยากให้ผู้สูงอายุใช้เทคโนโลยีเพื่อใช้งานอย่างเหมาะสม ขณะเดียวกันภาครัฐควรยืดหยุ่นให้ท้องถิ่นได้กระจายสวัสดิการ อำนวยความสะดวกผ่านเทคโนโลยีด้วย”

นายชาคริต พรหมยศ Co-Founder ยังแฮปปี้ เปิดเผยว่า ผู้สูงวัยจน ป่วย เดียวดาย เทคโนโลยีจะเป็นตัวเร่งหรือชะลอให้ช้าลงก็ได้ “ต้องยอมรับว่า smart phone กลายเป็นปัจจัยที่ 5 เข้ามาในชีวิต ระหว่างการลืมกระเป๋าสตางค์หรือมือถือ เราจะกลับบ้านไหม เพราะทุกวันนี้ในมือถือมีแอปมากมาย ติดต่อเพื่อน สังคม สุขภาพในการติดต่อสื่อสาร การรับสิทธิเบี้ยผู้สูงอายุ 600 บาท เทคโนฯ กระจายสิทธิ สวัสดิการ ผ่านแอป ถ้าคนที่เข้าไม่ถึงแอปก็จะไม่ได้สิทธิที่ควรจะได้ ทำให้คนกลุ่มหนึ่งถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เพราะไม่มีเครื่องมือที่จะเข้าถึงสิทธิได้.

นพ.วิชัย โชควิวัฒน

ประธานสมาคมผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ในสมเด็จพระศรีนครินทราฯบรมราชชนนี

“ผมอายุ 76 ปีครึ่งแล้วยังทำงานทุกวัน คนมักจะถามว่าอายุขนาดนี้แล้วทำอะไร ผมก็ตอบว่าปฏิบัติธรรมด้วยการเข้าที่ทำงาน ผมเป็นลูกศิษย์ท่านพุทธทาสภิกขุ การทำงานคือการปฏิบัติธรรมโดยไม่มีวันหยุดทั้ง 7 วัน  แต่คุณหมอพรเทพทำงานสัปดาห์ละ 8 วัน ไม่ต้องไปรอ กม.บังคับให้คนอายุเกิน 60 ปีทำงาน เราทำงานกันทุกวันอยู่แล้ว ไม่ต้องรอให้ใครเขาจ้าง ถ้าเขาเห็นคุณค่าของเรา ผมเป็นคนทำงานไม่ต้องมีการต่อรองค่าแรง ฟรีก็ได้ แต่เขาก็ส่งค่าตอบแทนมาให้โดยไม่ต้องต่อรองอะไรเลย ทรัพย์สินก็งอกเงยมาด้วยเพราะทำตัวมีประโยชน์”

“ผมทำงานทุกวัน ถือหลักทำงานเต็มที่ วันละ 10ชั่วโมงเหมือนกับว่าวันนี้เป็นวันสุดท้ายของการทำงาน ไม่รู้ว่าพรุ่งนี้เช้าจะได้ตื่นหรือไม่? ยังแสวงหาความรู้อ่านหนังสือทุกวัน ดูโทรทัศน์ การสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ดีต่อใจของคนทุกวัย รวมทั้งคนที่อยู่ในวัยเกษียณด้วย ขณะนี้ที่เมืองจีนไม่มีคนยากจนหลงเหลืออีกแล้ว คนจนคนสุดท้ายหมดไปแล้วหลังจากจีนใช้เวลา 40 ปีแก้ไขปัญหาความยากจน เขาขจัดความยากจนหมดไปแล้วเมื่อ 4 ปีก่อน ดังนั้นคนแก่ที่ยากจนย่อมไม่มีในเมืองจีน จึงเป็นเรื่องดีต่อคนเกษียณอายุด้วย พื้นที่ดีต่อใจเป็นเมืองในวัยเกษียณ เมืองที่ปลอดภัยอยู่เย็นเป็นสุข ผู้คนเอื้ออาทรต่อกัน พร้อมเผชิญกับภัยพิบัติได้อย่างยั่งยืน”

“เราสร้างเมืองที่น่าอยู่ดีต่อใจทำได้ เราต้องทำเรื่องระบบสุขภาพ ขณะนี้ข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 8,000 คน จำนวนมากกว่าข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขของจีนที่ดูแลประชากร 1,400 ล้านคน กระทรวงสาธารณสุขให้กระจายอำนาจไปยัง สปสช.ดูแลเงิน และยังมี สสส.ดูแลงบประมาณในการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ด้วยรากฐานสังคมไทยเป็นเกษตรกรรม คนไทยทำนาดำต่างจากนาหว่าน จึงต้องมีการลงแขกทำทั้งครอบครัว รวมทั้งเพื่อนบ้านด้วยจนถึงทุกวันนี้ เป็นการทำงานคนละไม้คนละมือด้วยการกระจายอำนาจ”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสส. พอช. และไทยพีบีเอส เปิดบ้าน ชวนคนรุ่นใหม่เสนอโครงการ คนรุ่นใหม่คืนถิ่นเฟส 2 “Movement คนรุ่นใหม่”

สสส. : วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น. สสส. ร่วม พอช. และ Thai PBS เปิดบ้านรับข้อเสนอโครงการ “Movement คนรุ่นใหม่” ตั้งแต่วันนี้ – 25 พฤษภาคม 2567

เครือข่าย “ชุมชนล้อมรักษ์” ต้นแบบช่วยผู้ติดยามีความหวัง

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาองค์รวม การแก้ไขไม่ใช่แค่เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่ถือเป็นปัญหาสุขภาพความเจ็บป่วย เมื่อเป็นแล้วก็เป็นใหม่ได้อีก

สสส. ปลื้ม ครบรอบ 4 ปี ThaiHealth Academy พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรสุขภาวะ 82 หลักสูตร

เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 ที่โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ หรือ ThaiHealth Academy

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022