"เสมา1" มอบ สพฐ. ใช้ระบบไอทีทำใบ ปพ.5 ช่วยลดขั้นตอนเอกสารของครูผู้สอน ใบสำคัญด้านการศึกษา หวังก้าวสู่องค์กรดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

เมื่อวันที่ 21 มี.ค. นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตามที่ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ ได้มีนโยบายลดภาระครู ซึ่งจะเร่งผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หลุดกรอบการทำเอกสารของครูผู้สอนแบบเดิม สู่ระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบโดยเร็วที่สุดนั้น จากที่ได้รับเสียงสะท้อนในโลกออนไลน์ เรื่องภาระครูที่มีความซ้ำซ้อนอยู่มากในหลายเรื่องที่ยังคงแบบเดิมอย่างเห็นได้ชัดคือ การที่ครูต้องกรอกรายละเอียดด้วยลายมือใน ปพ.5 เป็นเอกสารที่ผู้สอนจัดทำขึ้น เพื่อใช้บันทึกผลการเรียนเป็นรายวิชา แสดงผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ข้อมูลการวัดและประเมินผลการเรียน เพื่อใช้เป็นหลักฐานสำหรับตรวจสอบยืนยันสภาพการเรียน และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยจำนวนนักเรียนแต่ละชั้นเรียนทำให้ใช้เวลานานและล่าช้า และด้วยแนวปฏิบัติตามระเบียบคำสั่งบางประการทำให้ไม่สามารถก้าวข้ามสู่ระบบดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์แบบ
.
โฆษก ศธ. กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ รมว.ศธ. มีความห่วงใยเรื่องดังกล่าวจึงต้องการนำ Digital Transformation มาพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองการลดภาระครู ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยของโลก โดยมอบหมายให้ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ดำเนินการในส่วนนี้เพื่อลดภาระครู ก้าวสู่องค์กรดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ใช้เทคโนโลยีพัฒนาแพลตฟอร์มการจัดทำใบ ปพ.5 และทุกเอกสารที่เป็นใบสำคัญทางด้านการศึกษา เพื่อลดขั้นตอนของครูผู้สอนอย่างเป็นระบบ และในอนาคตจะต้องตรวจสอบและติดตามข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ได้ 100% ซึ่งขณะนี้องค์การค้าของ สกสค. ได้จัดทำระบบจัดเก็บเอกสารหลักฐานทางการศึกษาแบบอิเล็กทรอนิกส์เรียบร้อยแล้ว โดยดำเนินการผ่าน Block chain ซึ่งเป็นเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลที่มีความปลอดภัย ไม่สามารถปลอมแปลงหรือแก้ไขได้ เป็นประโยชน์ในระยะยาว
.
ทั้งนี้ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. ได้ดำเนินการพัฒนาระบบจัดทำและจัดเก็บเอกสารหลักฐานทางการศึกษาแบบระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยจัดทำคำสั่งที่ลงนามโดย รมว.ศธ. และร่างแนวทางในการ Transform แปลงโฉมจากระบบเดิมที่ครูต้องบันทึกการผลการเรียนด้วยลายมือ ให้เกิดเป็นการลงระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อลดงานด้านเอกสารที่ซ้ำซ้อนของครูผู้สอน คาดว่าจะเสร็จสิ้น และให้สถานศึกษาเปิดใช้ได้อย่างเป็นทางการในปีการศึกษา 2567 เป็นต้นไป และนอกจากจะเริ่มจาก สพฐ. แล้ว หน่วยงานอื่นในสังกัด ก็จะทยอยปฏิบัติตามให้เป็นมาตรฐานเดียวกันด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“รมช.สุรศักดิ์” ร่วมถก การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ฯ

เมื่อวันศุกร์ ที่ 5 เมษายน 2567 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และสร้างจิตสำนึกในความเป็นไทย ครั้งที่ 1/2567 ที่

“รมช.สุรศักดิ์” เปิดงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Kick Off Soft Power

เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 28 มีนาคม 2567 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงานการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Kick Off Soft Power

"รมช.สุรศักดิ์" ลงพื้นที่เมืองเชียงราย​ ลุย​ รับฟังสภาพปัญหาอุปสรรคจากหน่วยงานทางการศึกษา​ ก่อนนำข้อมูลเสนอต่อ​ที่ประชุม​ ครม.

เมื่อวันจันทร์​ ที่ ​18 มีนาคม 2567 นายสุรศักดิ์​ พันธ์​เจริญ​ว​ร​กุล​ รัฐมนตรี​ช่วยว่าการ​กระทรวง​ศึกษาธิการ​ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ก่อนการประชุม​ ครม.สัญจร​ ณ โรงเรียนวัดพระเกิดคงคาราม อ.เทิง จ.เชียงราย​ โดยมี​ นายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ประจำนายอนุทิน ชาญวีรกูล)

ครูเฮ! คืนครูให้นักเรียนทั่วประเทศลดภาระครู “เสมา 2” เผย ศธ.ชงงบจ้างภารโรงให้ทุกโรงเรียนที่ขาด ดีเดย์ 1 พ.ค.นี้

เมื่อวันพุธ ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงกรณีกระทรวงศึกษาธิการเสนอของบประมาณสนับสนุนให้จัดสรรนักการภารโรงให้สถานศึกษาทั่วประเทศ

“รมช.สุรศักดิ์” ลงพื้นที่เกาะติดการศึกษา จ.สุราษฎร์ธานี รับฟังเสียงสะท้อนปัญหาอุปสรรค ลั่นเรื่องไหนขับเคลื่อนเร่งด่วนได้ทำทันที พ

เมื่อวันจันทร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดอาคารเรียนแบบพิเศษ