วงการแฟชั่นต้องอัพเดทเทรนด์ทุกฤดูกาล สิ่งที่น่าภาคภูมิใจ “ผ้าไทย’ งานฝีมือที่คนไทยคุ้นเคยกันดี มีบทบาทโลดแล่นอยู่ในรันเวย์ต่างประเทศ การส่งต่อความรู้เรื่องเทรนด์โลก เฉดสี การผสานผสานสีสันให้กับผ้าไทยในแต่ละภาค จะเกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมแฟชั่นไทย รวมถึงยกระดับการเรียนการสอน หรือใช้ประกอบอาชีพในวงการแฟชั่น
ล่าสุด กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดโครงการเสวนาวิชาการสัญจรสู่ภูมิภาค : การส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล ประจำปี 2567 โดยนายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม มอบหมายให้ นางมงคลทิพย์ รุ่งงามฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษา เป็นประธาน ณ ห้องฉายภาพยนตร์เพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เมื่อวันก่อน
ภายในงานมีผู้เข้าร่วมงานสำคัญ ได้แก่ ผศ.ดร.ศิริชัย นามบุรี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นางสุนิสา อยู่หนูสิงห์ วัฒนธรรมจังหวัดยะลา นางสาวศิวพร ฉันทไกรวัฒน์ ผู้อำนวยการกลุ่มเผยแพร่และต่อยอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม คณาจารย์ และนักเรียนนักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้อง และผู้ประกอบการด้านผ้าไทยในพื้นที่ จ.ยะลา และจังหวัดใกล้เคียง
สำหรับวงเสวนาวิชาการ "การส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล" เหล่านักออกแบบและคนในวงการแฟชั่นที่เขี่ยวชาญด้านผ้าไทย สิ่งทอ และการออกแบบแฟชั่น ทั้งนายวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข ดร.กรกลด คำสุข นางสาวแพรวา รุจิณรงค์ และนายธนวัฒน์ พรหมสุข มาแบ่งปันความรู้ เทคนิค ช่วยจุดประกายความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบผ้าไทยร่วมสมัยที่ตอบโจทย์ความต้องการคนยุุคใหม่ สวมใส่ได้จริง โดยไม่ทิ้งอัตลักษณ์ผ้าภาคใต้
อีกตัวชูโรงในงานจัดแสดงนิทรรศการหนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย เล่มที่ 4 (Thai Textiles Trend Book Autumn/Winter 2023-2024 ชวนตื่นตาตื่นใจกับความมหัศจรรย์ของผ้าไทย นักศึกษาแฟชั่นและนักออกแบบรุ่นใหม่อีกหลายคนยังไม่ค่อยรู้จักสีธรรมชาติ เทคนิคใหม่ๆ เทรนด์บุ๊กเล่มนี้เปิดโลกทัศน์ให้คนรุ่นใหม่ได้ไอเดียออกแบบงานที่สนุกขึ้น และรู้สึกใกล้ชิดกับความเป็นไทยมากขึ้นด้วย
เรียกว่าเป็นงานวิชาการงานที่ครบเคริ่องเผยแพร่องค์ความรู้ผ้าไทย เพื่อต่อยอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากล และผลักดันให้คนในพื้นที่ภาคใต้มีบทบาทร่วมขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ผ่านมิติผ้าไทย ผู้สนใจชมนิทรรศการเทรนด์บุ๊กนี้จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 25 ถึงวันที่ 29 มิถุนายน 2567 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บอร์ด ICH ขึ้นบัญชี 10 มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม ‘งานนมัสการพระธาตุพนม-เสื่อกกจันทบูร-ผ้าหม้อห้อม-ตำนานสุบินกุมาร‘
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมครั้งที่ 3/2567 พิจารณาเห็นชอบให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
อาลัย ‘สันติ ลุนเผ่’ ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลังอมตะ ผู้ขับร้องเพลงปลุกใจรักชาติ
10 ธ.ค.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พ.ศ.2558 ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม
สิ้น'สันติ ลุนเผ่' ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลัง
นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) โดยกองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พุทธศักราช 2558 ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2567
ฉลอง'ต้มยำกุ้ง' กระหึ่มโลก ชวนลองเมนูมรดกวัฒนธรรม
โด่งดังก้องโลกกับเมนูต้มยำกุ้งของดีเมืองไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ในโอกาสที่ ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) และ “เคบายา” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List
ลุ้น'ต้มยำกุ้ง'ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม
3 ธ.ค.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก จะประชุมพิจารณาประกาศขึ้นทะเบียนอาหาร “ต้มยำกุ้ง” ของประเทศไทย และชุด “เคบายา” เสนอโดยสิงคโปร์ ร่วมกับไทย มาเลเซีย อินโ
'หมูเด้ง' ซุปตาร์ดันวัฒนธรรมไทยสู่ระดับโลก
“หมูเด้ง”ซุปเปอร์สตาร์ฮิปโปแคระที่โด่งดังเป็นไวรัลทั่วโลกจากความน่ารักขี้เล่น สื่อต่างประเทศนำไปลงข่าว นิตยสาร TIME พาดหัวข่าวเป็นไอคอนไลฟ์สไตล์ที่กิน นอน และแอคชั่นดราม่า สร้างปรากฎการณ์หมูเด้ง ช่วยให้ยอดนักท่องเที่ยวเข้าชมสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี เพิ่มทวีคูณ