นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ย้ำ สิทธิการรักษาพยาบาล “กรณีเจ็บป่วย” ในระบบประกันสังคม ได้รับความคุ้มครองด้วยการรักษาพยาบาลที่ครอบคลุม โดยผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน 270 แห่ง และสามารถเลือกโรงพยาบาลได้เอง โดยสถานพยาบาลภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานประกันสังคมนั้น เป็นสถานพยาบาลระดับทุติยภูมิขึ้นไป มีมาตรฐานทางการแพทย์ มีความพร้อมด้านบุคลากรทางการแพทย์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และสามารถให้บริการในทุกสาขาที่จำเป็นได้อย่างครบวงจร หากเกินศักยภาพในการรักษา สามารถส่งต่อไปยังสถานพยาบาลระดับสูงกว่าทันที
ที่ผ่านมา สำนักงานประกันสังคมได้มีการพัฒนาสิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วยอย่างต่อเนื่อง เช่น SSO515 ให้ผู้ประกันตนได้รับการผ่าตัดภายใน15 วัน รักษากลุ่มโรคที่ร้ายแรง เช่น กลุ่มโรคมะเร็งโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ และการให้สิทธิประโยชน์การบำบัดทดแทนไตให้ผู้ประกันตนเข้าถึงการรักษามากขึ้น การตรวจสุขภาพเชิงรุกในสถานประกอบการ เพื่อค้นหาความเสี่ยงจากโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ ได้จัดให้มีรถทันตกรรมเคลื่อนที่ไปยังสถานที่ทำงาน โดยไม่ต้องสำรองจ่ายและไม่เสียเวลาในการทำงาน อีกทั้ง ยังมีการปรับเพิ่มรายการตรวจสุขภาพเพื่อป้องกันโรคที่เหมาะสมกับผู้ประกันตน เช่น การเอกซเรย์ปอด ทุก 3 ปี และปรับให้ผู้ที่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาล ไขมัน และการทำงานของไต รวมถึงการตรวจปัสสาวะทุกปี โดยเป็นสิทธิเสริมจากการตรวจพื้นฐานจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะเห็นได้ว่า สิทธิการรักษาของสำนักงานประกันสังคมไม่ด้อยกว่าสิทธิสุขภาพอื่น นอกจากนี้สำนักงานประกันสังคมได้จัดช่องทางให้ผู้ประกันตนประเมินความพึงพอใจการให้บริการทางการแพทย์ และสามารถให้ข้อเสนอแนะหากพบว่ามีการให้บริการที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน โดยสามารถแสดงความคิดเห็นผ่าน QR Code ที่ได้ติดไว้ ณ สถานพยาบาลทุกแห่ง โดยสำนักงานประกันสังคมมีความยินดีรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกันตนทุกคน
เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยแล้ว สำนักงานประกันสังคมยังให้สิทธิประโยชน์ในเรื่องของเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วยและการคุ้มครองสิทธิประโยชน์อื่นๆ ได้แก่ กรณีคลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน โดยในส่วนของสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพของผู้ประกันตนมาตรา 33 สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินบำนาญชราภาพให้ผู้ประกันตนเป็นรายเดือน มีเงื่อนไข ดังนี้
ผู้ประกันตนมาตรา 33 มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน หากจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย กรณีจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน จะได้ปรับเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน
ตัวอย่างการคำนวณบำนาญ จากฐานค่าจ้างที่ใช้ในการนำส่งเงินสมทบเฉลี่ยสูงสุด 15,000 บาท
กรณีที่ 1 จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ = 15,000 x 20% = 3,000 บาทต่อเดือน
กรณีที่ 2 ผู้ประกันตนมีระยะเวลาส่งเงินสมทบ 420 เดือน (35 ปี) จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ = 15,000 x 50% = 7,500 บาทต่อเดือน
สำหรับกรณีที่ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ โดยจ่ายเป็นเงินก้อน คำนวณจากเงินสมทบกรณีชราภาพและสงเคราะห์บุตร ที่ผู้ประกันตนและนายจ้างนำส่ง รวมดอกผลหากส่งเงินสมทบเกิน 12 เดือน
จะเห็นได้ว่าการจ่ายเงินสมทบรายเดือนกับกองทุนประกันสังคมนั้นมิได้สูญเปล่า เพราะนอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์ระหว่างการทำงานแล้ว สำนักงานประกันสังคมได้พัฒนาสิทธิประโยชน์ทั้ง 7 กรณีอย่างต่อเนื่องอยู่สม่ำเสมอ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุดเป็นสำคัญ เพราะสำนักงานประกันสังคมพร้อมดูแลท่านทุกช่วงวัย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สปส.มอบสุข ตรวจเยี่ยมและติดตามคุณภาพชีวิตผู้ประกันตนทุพพลภาพ จ. เพชรบุรี
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้ นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี โดยมี นางวันทนา ณัฐพูลวัฒน์ ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม นางรัศมี สุจโต ประกันสังคมจังหวัดเพชรบุรี นางสาวสรันยา สุวรรณวัฒน์
“พิพัฒน์” สั่งการสำนักงานประกันสังคม มอบเงิน 1.2 ล้านบาท เยียวยาทายาทลูกจ้างกัมพูชาเสียชีวิต เหตุรถเครนก่อสร้างหักหล่นพื้น ใจกลางเมืองนครสวรรค์
ตามที่เกิดเหตุเครนชนิดหอสูงหัก ทำให้หัวเครนพร้อมคนขับเครน ซึ่งเป็นลูกจ้างสัญชาติกัมพูชา ตกลงมาจากชั้นที่ 6 ของอาคารเอสเซ็นท์ นครสวรรค์
บอร์ดแพทย์ สปส. พร้อมเพิ่มสิทธิรักษาพยาบาลรวดเร็ว เน้นคุณภาพการรักษา ครอบคลุมทุกโรค ทุกช่วงวัย
เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 ณ ห้องประชุมจีรศักดิ์ สุคนธชาติ สำนักงานประกันสังคม ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี พล.ต.ท.นพ.ธนา ธุระเจน ประธานคณะกรรมการการแพทย์กองทุนประกันสังคม เปิดเผยว่า ในปี 2568 คณะกรรมการการแพทย์ กองทุนประกันสังคม
สปส.มอบสุข ลงพื้นที่เยี่ยมผู้ประกันตนทุพพลภาพ จ.บุรีรัมย์
เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้ นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม พร้อมด้วย นางจีราวรรณ รินทะรึก ประกันสังคมจังหวัดบุรีรัมย์ นางกนกนันท์ วีริยานันท์
สปส.มอบสุข เสริมสร้างกำลังใจถึงผู้ประกันตนทุพพลภาพ จ.สุรินทร์
เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม พร้อมด้วย นางสุปราณี พงศ์อัมพรคุปต์ นักวิชาการแรงงานชำนาญการพิเศษ
สปส.มอบสุข ห่วงใยผู้ประกันตนทุพพลภาพ ลงพื้นที่สร้างกำลังใจถึงบ้านที่ จ.ร้อยเอ็ด
เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม