คนคอนศรีฯมีหนึ่งเดียว สร้างพลังชุมชนเข้มแข็ง สู่“นครแห่งความสุข”

ระหว่างวันที่ 28-29 ส.ค. 67 ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับ 11 หน่วยงานภาคีเครือข่าย จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการและเปิดตัวโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรรมราช นวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งพื้นฐานของประชาธิปไตยอัตลักษณ์ไทย  นำโดย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ พอช. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เพื่อเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ภาคประชาชนที่มีการรวมกลุ่มกันขับเคลื่อนชุมชนและสังคม และการสร้างการมีส่วนร่วมและเสริมพลังจากคนในพื้นที่ เชื่อมร้อยความสัมพันธ์ ออกแบบรูปแบบการกระบวนการทำงานที่เหมาะสม ของคนนครศรีธรรมราช มีผู้เข้าร่วมกว่า 100 คน ณ ห้องประชุม 1 อาคารวิจัยและบริการวิชาการ อุทยานสวนพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

เส้นทางและหมุดหมายสู่“นครแห่งความสุข” จากการขับเคลื่อนงานของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ผ่านมาเป็นการเคลื่อนงานเชิงปัจเจก ต่างคนต่างทำ มีการร่วมตัวกันน้อยโครงการวิจัยฯถือว่าเป็นโอกาศที่ดีที่เป็นเครื่องมือสำคัญซึ่งที่ผ่านมามีการขับเคลื่อนงานที่ดี แต่ยังขาดการสนับสนุนในการร่วมกลุ่มการพัฒนากันโดยเราต้องสร้างภาพลักษณ์ความเชื่อใหม่ว่าในความเชื่อว่าคนจังหวัดนครศรีธรรมราชและบางส่วนหน่วยงานบางหน่วยงานยังมองว่าเราเป็นจังหวัดที่ใหญ่และทำงานกันยากในส่วนเเนวทางกับขับเคลื่อนงาน นวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งพื้นฐานของ ประชาธิปไตยอัตลักษณ์ไทย หลังจากนี้จะมีการออกแบบแผนงานกิจกรรมโดยพื้นที่ดำเนินงานจะครอบคลุมทั้ง 6 เครือข่าย จะเน้นลงในกลุ่มที่จดแจ้งกับทางสภาองค์กรชุมชนทั้ง 2,220 กลุ่ม ทั้งจังหวัด

นิยายของคำว่าชุมชนเข้มแข็ง คือ สามารถพึ่งพาตนเองได้และสามารถจัดการตนเองได้ และสามารถบริหารจัดการทรัพากรในพื้นที่ได้ สร้างการรับรู้ร่วมกัน ร่วมกันขับเคลื่อน ร่วมไปถึงร่วมกันถอดบทเรียน ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะเป็นเครื่องมือเพื่อขยายพื้นที่กับภาคี  นอกจากนั้นยังสามารถสร้างขบวนคนทำงานในพื้นที่ ในการพัฒนาศํกยภาพ ทั้งด้านขอมูล แกนนำชุมชน ที่ถือว่าเป็นการสร้างโอกาสให้ความเข้มแข็งในชุมชนสู่สถาบันประชาชนที่มีเป้าหมายชุมชนเข้มแข็งประชาธิปไตยยั่งยืน      

ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด  สิงคะเนติ

ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด  สิงคะเนติ คณะนิติศาสตร์ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์  ได้กล่าวถึงการสร้างพื้นที่กลางระดับจังหวัดเสริมพลังภาคประชาชน โดยการใช้โครงการวิจัยฯเป็นเครื่องมือ ในการเชื่อมร้อย งานการพัฒนาในพื้นที่ให้เกิดความเข้มแข็งที่สืบสานเจตนารมณ์ของอาจารย์ไพบูลย์ ในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เสาหลักในการขับเคลื่อน รัฐ ทุน ประชาชน (ประชาสังคม) เมื่อภาคประชาชนอ่อนส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมขาดอำนาจการต่อรองในฝั่งนโยบาย ซึ่งหากปล่อยไว้ในระยะยาว จะทำให้เกิดปัญหาเชิงโครงสร้างในสังคมไทย

โครงการวิจัยฯเพื่อเสริมเครื่องมือในการสนับสนุน ในระยะเวลาอันใกล้นี้ 1.องค์กรส่วนกลางในเชิงยุทธศาสตร์ 2.สนับสนุนงานเชิงพื้นที่ศูนย์กฎหมายและนโยบายสาธารณะตั้งเป้า 20 ศูนย์ทั่วประเทศ 3. งานวิจัยโดยมีภาควิชาการเป็นสนับสนุน อำนาจของภาคประชาชนต้องมีฐานมาจากพื้นที่ (การสร้างพื้นที่กลาง เช่น สมัชชาหรือสภาพลเมือง) เกิดกลไกการขับเคลื่อนระดับภูมิภาคจนถึงระดับประเทศ เพื่อให้เกิดอำนาจต่อรองในเชิงนโยบาย “พัฒนาสู่สถาบันอำนาจภาคประชาชน ที่คงอยู่และแข็งแรง” ภาพที่เราอยากเห็นร่วมกันคือ “สังคมที่มีดุลภาพ” ภาคประชาสังคมต้องเข้มแข็ง

นายไมตรี  จงไกรจักร์

นายไมตรี  จงไกรจักร์ ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท ได้กล่าวว่า  การสร้างพื้นที่กลาง  บทเรียนเรื่องเล่การก้าวย่างของภาคประชาชน พบว่า ปัญหาที่เราเจอเป็นปัญหาที่คนอื่นกำหนดให้เช่่นเมื่อมีชุมชนตั้งอยู่ จึงเริ่มมีการก่อสร้าง โรงเรียน วัด หรือปัญหาที่ดินพอมีคนไปอยู่รัฐออกประกาศกฎหมายป่าไม้“กรมป่าไม้มีประวัติศาสตร์คือการตั้งขึ้นเพื่อการขายไม้ อธิบดีคนที่ 1-3 เป็นต่างชาติ” เหล่านี้สะท้อนให้เราเห็นถึงการมีปัญหาโดยการกำหนดจากระดับนโยบาย  การกำหนดนโยบายต่างๆเพื่อการสนองอำนาจเพียงเท่านั้นซึ่งประชาชนไม่ได้อยู่ในสมาการการตั้งนโยบายในการพัฒนา  การหาคนที่มีบารมีเพื่อเริ่มรวมคนเริ่มโดยอดีตผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อรวมคนแล้ววางแผน ด้วยการค้นหาต้นทุนในจังหวัด ทั้งหมด เช่น เมืองแร่กลางน้ำ บุกเบิกเกษตรกรรม ต้นทุนด้านความสุขในการรวบรวมในระดับนโยบาย เช่น พังงามีความสุขลำดับ 2 ประเทศ ศักยภาพความก้าวหน้าของคนลำดับที่ 25  หลังจากนั้นได้สร้างเป้าหมายร่วมกัน 4 มิติ 10 ยุทธศาสตร์ 1.มิติทางสังคม 2. มิติคุณภาพชีวิต 3.มิติสิ่งแวดล้อม 4.มิติเศรษฐกิจ   เป้าหมายร่วม วิญญาณร่วม 1 พังงา 2 ฐานงานวิจัย 3 ห่วง 4 ขา ทางสังคม คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ 5 ภาคส่วนราชการ

นายปัญญา เหมทานนท์

นายปัญญา เหมทานนท์ คณะทำงานขับเคลื่อนจังหวัดบูรณาการนครศรีธรรมราช กล่าวถึง ต้นทุนศักยภาพในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีการเคลื่อนงานในพื้นที่ที่หลากหลาย ผู้นำที่เข้มแข็งร่วมไปถึงทรัพยากรในจังหวัด ทั้ง เขา ป่า นา  และมีหน่วยงานและภาคีในการหนุนเสริมและสนับสนุนในการส่งเสริมงานในพื้นที่ แต่ยังขาดการร่วมตัวในการเคลื่อนงาน และการเชื่อมงานประสานงานส่วนกลางที่ยังมีช่องว่าง และการวิเคราะห์ศักยภาพของตำบลในการออกแบบการวางแผนงานพัฒนาในพื้นที่ ที่กำหนดทิศทางการพัฒนาในพื้นที่เอง ทำให้พื้นที่เสียโอกาสที่เกิดขึ้นทำอย่างไรเราถึงจะใช้ฐานทุนที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นายสมภา ใจกล้า

นายสมภา ใจกล้า นายกสมาคมสภาองค์กรชุมชนพัทลุง กล่าวว่า ในการขับเคลื่อนงานในจังหวัดนครศรีฯที่เกิดขึ้น ถือว่ามีความท้าทายของการเคลื่อนงาน จังหวัดนครศรีนฯ ยังไม่มีการกำหนดงานพัฒนาเป็นของตัวเอง ต่อไปจะโดยรัฐและทุนครวบคลุม ดังนั้นเห็นว่าจังหวัดนครศรีฯควรสร้างการพัฒนาร่วมกัน ซึ่งที่ผ่านมาจังหวัดนครศรีฯถือว่าเป็นพื้นที่ที่เข้มแข็งมากทั้งด้านข้อมูล และแกนนำการพัฒนา ในสายงาน พอช. และฐานทุนสำคัญอีกส่วนหนึ่งคือกองทุนสวัสดิการชุมชน ทำอย่างไรเราจะสามารถกำหนด 1 จังหวัด 1 แผนงานได้ โดยให้ชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย แผนการพัฒนาจังหวัดพัทลุง เป็นแผนที่เริ่มจากการ เพื่อการสร้างพื้นที่กลาง ที่ต่างคนต่างขับเคลื่อนงานโดยมีกระบวนการ 2 ปี เพื่อกำหนดเป้าร่วมกัน พัทลุงมหานคร

นายธนพล เมืองเฉลิม

นายธนพล เมืองเฉลิม ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กล่าวถึง ในส่วนพอช.มีความมุ่งมั่นการทำงานในพื้นที่นครศรีธรรมราช ทางพอช.มีหน้าที่ส่งเสริมภาคประชาชนหรือผู้ที่เดือดร้อน พี่น้องที่รวมกลุ่มพร้อมที่พัฒนาเพื่อจัดการตนเอง เป็นองค์กรที่ร่วมทำงานกับหน่วยงานภาคีพร้อมยื่นข้อเสนอกับหน่วยงานต่างๆ สร้างเวทีกลางในระดับตำบลและในระดับจังหวัด โดยแต่งตั้งคณะกรรมการมาดูแลเรื่องสุขภาพและสุขภาวะ ในพื้นที่ตำบลพอช.มีแนวเรื่องของ “หนึ่งตำบลหนึ่งโครงการ”จัดทำแผนให้เป็นแผนในระดับตำบลที่เห็นเรื่องของความร่วมมือ อย่างน้อยทรัพยากรของ พอช. จะเห็นที่มากกว่าสภาองค์กรชุมชน เรื่องของที่อยู่อาศัย กองทุนสวัสดิการชุมชน แต่มันสามารถที่จะไปต่อจิ๊กซอว์กับปัญหาที่เราอยากจะแก้ไขไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเปราะบาง เด็กและเยาวชนได้อีกด้วย

นอกจากนี้ในเวทียังจัดให้มีการมอบข้อเสนอนโยบายสาธารณะต่อรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ของคณะทำงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดนครศรีธรรมราช ข้อเสนอนโยบายสาธารณะ6ด้าน19 ภาคีเครือข่าย และ 15 หน่วยงานสนับสนุน โดยมีนโยบายดังนี้ 1.ความมั่นคงทางสุขภาพและการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ 2.ความมั่นคงทางเศรษฐกิจฐานราก 3. ความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4. ความมั่นคงทางปัจจัยพื้นฐานต่อการดำรงชีวิต 5. ความมั่นคงด้านสิทธิและสวัสดิการทางสังคม 6. ความมั่นคงด้านคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มจำเพาะ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นายกต้อย' ไขก๊อก! อบจ.เมืองคอน อ้างเหตุผลสุดอึ้ง

างกนกพร เดชเดโช นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ยื่นหนังสือลาออกแล้วจากการปฏิบัติหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช

เสียงจากคลองเปรมประชากร…บ้านหลังใหม่ชีวิตใหม่ “คืนสายน้ำให้คนคลอง คืนสายคลองให้คนเมือง”

คลองเปรมประชากร มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คลองนี้ได้ประสบปัญหามากมาย

บอร์ด พอช. มีมติ พักชำระหนี้องค์กรผู้ใช้สินเชื่อในพื้นที่ประสบอุทกภัยทั่วประเทศ

สถานการณ์การเกิดอุทกภัยจากอิทธิพลของพายุยางิ ในระหว่างวันที่ 7 - 8 กันยายน 2567 ส่งผลกระทบต่อประชาชนในจังหวัดเชียงราย จำนวน 7 อำเภอ

รมว.พม. แจ้งตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว 34 แห่ง ใน 13 จว. ช่วยกลุ่มเปราะบาง-ผู้ประสบภัยน้ำท่วมริมแม่น้ำโขง ด้าน พอช. พร้อมอนุมัติงบช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบภัยพิบัติภาคเหนือและอีสาน

จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ภาคเหนือ ส่งผลกระทบในพื้นที่ 8 จังหวัด 47 อำเภอ 207 ตำบล 22,817 ครัวเรือน โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

10 ภาคีร่วมจัดประกวดองค์กร/กองทุนสวัสดิการชุมชนดีเด่นระดับชาติ ‘ผู้สรรค์สร้างความมั่นคงของมนุษย์ตามแนวคิด ศ.ดร.ป๋วย’ ปี 2567

ธรรมศาสตร์ รังสิต / 10 องค์กรภาคีร่วมจัดประกวดรางวัลองค์กร/กองทุนสวัสดิการชุมชนดีเด่นระดับชาติ “ผู้สรรค์สร้างความมั่นคงของมนุษย์ ตามแนวคิดของ ศ.ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์