"บ้านเปลี่ยนป่า" : บ้านมั่นคงน้ำไผ่ สร้างบ้าน สร้างคน สร้างชุมชนที่ยั่งยืน

รวมพลังทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัยตำบลน้ำไผ่

ท่ามกลางพื้นที่ขุนเขาสูงชัน รอยต่อระหว่างจังหวัดอุตรดิตถ์กับพิษณุโลก การเดินทางเข้าสู่ตำบลน้ำไผ่ อำเภอน้ำปาด ไม่ใช่เรื่องง่าย เส้นทางคดเคี้ยว แคบ และสูงชัน เป็นจุดสิ้นสุดของทางหลวงแผ่นดิน ทำให้การเข้าถึงชุมชนแห่งนี้ต้องใช้เวลาพอสมควร แต่ชุมชนเล็กๆ แห่งนี้กลับซ่อนเรื่องราวอันน่าทึ่งไว้ภายใน

ตำบลน้ำไผ่ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ชายขอบติดกับประเทศลาว ถูกโอบล้อมด้วยป่าอุดมสมบูรณ์ทั้งอุทยานแห่งชาติและป่าสงวน ทว่าภายใต้ความงามของธรรมชาติ กลับมีปัญหาที่ยืดเยื้อมาหลายปีเกี่ยวกับ สิทธิ์ในที่ดินทำกินและการอยู่อาศัยของชาวบ้าน ชาวบ้านต้องเผชิญกับปัญหาความไม่มั่นคงในที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ทำให้หลายครอบครัวต้องถูกฟ้องดำเนินคดี รวมถึง ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เคยพรากชีวิตและทรัพย์สินของชุมชนไปนับร้อยหลังคาเรือน

แต่ทุกวันนี้ พวกเขากลายเป็นต้นแบบของชุมชนที่เข้มแข็งและยั่งยืน ภายใต้โครงการ “บ้านมั่นคงชนบท” ที่ไม่เพียงสร้างบ้าน แต่สร้างชีวิตใหม่ให้กับผู้คนที่นี่  จากชุมชนที่เคยไร้สิทธิ์และหวาดกลัว วันนี้บ้านน้ำไผ่คือตัวอย่างของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและประชาชน ที่พิสูจน์ให้เห็นว่า “เมื่อคนในชุมชนรวมพลังกัน ไม่มีปัญหาใดที่แก้ไขไม่ได้”

ทองแดง เสนาเวช

ทองแดง เสนาเวช ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลน้ำไผ่ คือหนึ่งในผู้นำที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิทธิของชุมชน ซึ่งไม่ได้เพียงแค่เรียกร้องให้ชุมชนมีที่ดินทำกินอย่างถูกต้อง แต่ยังสร้างกระบวนการเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนแนวคิด และรวมพลังคนในชุมชนให้ลุกขึ้นมาต่อสู้ไปด้วยกัน

จุดเปลี่ยนที่ผลักดันให้ชาวบ้านลุกขึ้นสู้

ย้อนกลับไปในปี 2554 น้ำไผ่เผชิญกับเหตุการณ์ ดินโคลนถล่มครั้งใหญ่ พี่น้องในชุมชนสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน บ้านเรือนพังเสียหายกว่าร้อยหลัง และที่ดินทำกินถูกกลืนหายไปในพริบตา

เมื่อเวลาผ่านไป 3 ปี นอกจากปัญหาจากภัยธรรมชาติแล้ว รัฐยังมีนโยบาย "ทวงคืนผืนป่า" ทำให้ชาวบ้านกว่า 1661 ไร่ถูกยึดคืนที่ดิน หลายครอบครัวกลายเป็นคนไร้ที่ทำกิน ทองแดงและชาวบ้านพยายามเรียกร้องสิทธิ์ ทว่าเสียงของพวกเขาแทบจะไม่มีใครรับฟัง

“พี่น้องเราถูกดำเนินคดีฐานบุกรุกป่า บางคนต้องติดคุก แม้แต่สามีของฉันเองยังต้องรับโทษจำคุก 2 ปี 8 เดือน เหตุการณ์นี้เป็นเหมือนแรงผลักให้เราต้องลุกขึ้นมาสู้” ทองแดงเล่า

สภาพพื้นที่ตำบลน้ำไผ่

เมล็ดข้าวโพดที่จุดประกายพลังของคนทั้งตำบล

การเรียกร้องสิทธิ์ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะในชุมชนที่กระจัดกระจายและไม่ได้มีผู้นำที่เข้มแข็ง ทองแดงรู้ว่า หากจะขับเคลื่อนประเด็นนี้ให้สำเร็จ ชุมชนต้องรวมตัวกันก่อน

ทองแดงใช้ "เมล็ดข้าวโพด" เป็นจุดเริ่มต้นของการรวมพลัง วันนั้น เธอชวนชาวบ้านมาประชุมพร้อมกับหยิบข้าวโพดมาแจกให้ทุกคนคนละหนึ่งเม็ด และให้พวกเขาหย่อนลงกล่องเพื่อลงคะแนนเสียงว่าสิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุดคืออะไร

ชาวบ้านต้องการที่ดินคืน

ทองแดงจึงใช้โอกาสนี้ ปลุกพลังให้ชุมชนเดินหน้าเรียกร้องสิทธิ์ของตนเอง ในวันนั้นเอง มีชาวบ้านกว่า 300 คน เดินทางไปยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัด และภายในสามวัน คำร้องของพวกเขาก็ได้รับการพิจารณา

เมื่อสภาองค์กรชุมชนสามารถผลักดันให้รัฐเริ่มทบทวนที่ดินทำกินของชาวบ้าน ทองแดงและทีมงานยังไม่หยุดแค่นั้น พวกเขาเดินหน้าเข้าร่วม "โครงการบ้านมั่นคงชนบท"  ซึ่งทำให้คนในชุมชนได้ สิทธิ์ในที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย การพัฒนาสาธารณูปโภค เช่น ถนน น้ำประปาภูเขา ไฟฟ้า การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ทั้งด้านเกษตรและการแปรรูปสินค้าการสร้างเครือข่ายภาคีระหว่างชุมชนกับหน่วยงานรัฐ

ถนนร่องล้อ

จากชุมชนที่ต่างคนต่างอยู่ สู่ชุมชนที่เข้มแข็ง

จากการทำงานที่ต่อเนื่องและมีเป้าหมายที่ชัดเจน วันนี้ชุมชนบ้านน้ำไผ่ไม่ได้เป็นแค่กลุ่มชาวบ้านที่เรียกร้องสิทธิ์อีกต่อไป แต่เป็น ต้นแบบของการบริหารจัดการชุมชนด้วยตัวเอง สิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนคือ ชุมชนไม่ต้องหวาดกลัวการถูกไล่ออกจากที่ดินของตัวเอง  คนในชุมชนช่วยกันบริหารกองทุนสวัสดิการและพัฒนาระบบเศรษฐกิจร่วมกัน ชาวบ้านมีสิทธิ์ในการตัดสินใจเกี่ยวกับทรัพยากรของพวกเขา ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและชุมชนเปลี่ยนจาก "ความขัดแย้ง" เป็น "ความร่วมมือ"

“เมื่อก่อนป่าไม้เป็นคนจับชาวบ้านเข้าคุก แต่วันนี้ป่าไม้คือภาคีที่ช่วยให้ชุมชนของเราเข้มแข็ง” ทองแดงกล่าว

โครงการบ้านมั่นคงชนบทและการเรียกร้องสิทธิ์ในที่ดินของชุมชนบ้านน้ำไผ่ ไม่ได้สำเร็จเพราะ "ทองแดง" คนเดียว แต่สำเร็จเพราะคนทั้งชุมชนลุกขึ้นมาสู้ไปด้วยกันจากข้าวโพดเม็ดเดียว สู่การเปลี่ยนแปลงทั้งตำบล น้ำไผ่วันนี้ไม่ใช่แค่ตำบลชายขอบอีกต่อไป แต่คือ ต้นแบบของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและประชาชนในการสร้างชุมชนที่มั่นคงและยั่งยืน "พลังของชุมชนตำบลน้ำไผ่ไม่ได้อยู่ที่ผู้นำเพียงคนเดียว แต่อยู่ที่การรวมพลังของทุกคนในชุมชน"

บ้านมั่นคงชนบท: ไม่ใช่แค่บ้าน แต่คือสิทธิ์ในการมีชีวิตที่ดีขึ้น

ชวนชัย สอนปัน ประธานโครงการบ้านมั่นคงชนบทตำบลน้ำไผ่ กล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า โครงการบ้านมั่นคงชนบทเข้ามาเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของชุมชนบ้านน้ำไผ่ ชาวบ้านได้รับสิทธิ์ในที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

“เราไม่มีค่าแรง ไม่มีผู้รับเหมา ทุกคนช่วยกันสร้างบ้านด้วยตัวเอง” การช่วยกันสร้างบ้านไม่เพียงลดค่าใช้จ่าย แต่ยังเสริมสร้างความสัมพันธ์ในชุมชนและสร้างความภาคภูมิใจให้กับทุกคน

ชวนชัย สอนปัน

จุดเริ่มต้นของปัญหา: เมื่อบ้านเกิดกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อน

"พวกเราส่วนใหญ่เป็นลูกหลานของคนที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ บางครอบครัวมีเชื้อสายลาว บางครอบครัวเป็นชาวอีสานที่อพยพมาหาพื้นที่ทำกิน” ชวนชัย เล่าถึงอดีตของชุมชนแห่งนี้

การตั้งรกรากของชาวบ้านดำเนินไปเรื่อยๆ โดยที่พวกเขาไม่รู้ว่าพื้นที่ที่ตนอาศัยอยู่นั้น อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อวันหนึ่งภาครัฐเข้ามากำหนดแนวเขตป่า คนในชุมชนกว่า 300 ครัวเรือน ต้องเผชิญกับปัญหาการไร้สิทธิ์ในที่ดินของตัวเอง หลายคนต้องดิ้นรนหาเช่าที่ทำกิน บางครอบครัวต้องย้ายออก แต่ส่วนใหญ่ยังคงยืนหยัดอยู่ในพื้นที่และหวังว่าสักวันพวกเขาจะได้รับสิทธิ์ที่ถูกต้อง

"บ้านมั่นคง" ความหวังใหม่ของชาวบ้านน้ำไผ่

"พวกเรารวมตัวกัน เพื่อผลักดันให้เกิดการจัดสรรที่ดินอย่างถูกต้อง มีที่ดินทำกิน มีบ้านที่มั่นคง " ชวนชัยกล่าว

โครงการบ้านมั่นคงชนบท ได้เข้ามาเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ทำให้ชาวบ้านมีที่ดินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และสามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยได้ตามความจำเป็น   โครงการบ้านมั่นคงน้ำไผ่ มีจุดเด่น คือ "การสร้างบ้านด้วยพลังของชุมชนเอง"

"เราไม่มีค่าแรง ไม่มีผู้รับเหมา ทุกคนช่วยกันเอง" ชวนชัย กล่าว "วัสดุมาแล้ว เราประกาศให้รู้ว่าใครจะซ่อมบ้าน ต้องการความช่วยเหลือ ทุกคนมาช่วยกันสร้าง ภายในเวลาไม่นาน บ้านก็เสร็จ"

ถังเก็บน้ำระบบประปาภูเขา

ไม่ใช่แค่สร้างบ้าน แต่สร้างชุมชนที่เข้มแข็ง

บ้านมั่นคงไม่ได้หมายถึงแค่ "บ้าน" แต่คือ "คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของชุมชน" ชุมชนบ้านน้ำไผ่ยังได้รับการสนับสนุนด้านอื่นๆ เช่น  การพัฒนาสาธารณูปโภค เช่น ถนน แหล่งน้ำ และศาลาอเนกประสงค์  การฟื้นฟูป่าและสร้างแนวกันไฟ เพื่อลดปัญหาไฟป่าฃ  การส่งเสริมอาชีพ เช่น ปลูกพืชเศรษฐกิจและทำเกษตรอินทรีย์  "จากเดิมที่พึ่งพาการปลูกข้าวโพดซึ่งมีต้นทุนสูง และต้องพึ่งพาพ่อค้าคนกลาง ปัจจุบันเราหันมาปลูกยางพารา มันสำปะหลัง และพืชที่ให้ผลผลิตระยะยาว"

โครงการบ้านมั่นคงชนบท ไม่ได้ให้แค่บ้าน แต่อยู่ที่การสร้างความมั่นคงในชีวิต "เราพยายามพึ่งพาตัวเองให้มากที่สุด เราไม่อยากเป็นชุมชนที่รอคอยความช่วยเหลือ แต่เราอยากเป็นชุมชนที่สามารถบริหารจัดการตัวเองได้" ชวนชัยกล่าว

จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง: จากปัญหาสู่การรวมพลังของชุมชน

คูณพรวจี  ปะนะที ประธานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดดอุตรดิตถ์   ได้กล่าวถึง การพัฒนาตำบลน้ำไผ่เริ่มจากการสร้างกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน โดยขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดอุตรดิตถ์เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุน  "เราไม่ได้เข้าไปทำแทน แต่เราเข้าไปเป็นพี่เลี้ยง ช่วยให้ชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง"
โดยเริ่มจากการสำรวจข้อมูลที่ดินและที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน  การเชื่อมโยงเครือข่ายกับภาคีที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมป่าไม้ กรมที่ดิน และหน่วยงานการศึกษา  การส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ได้รับการศึกษาและกลับมาพัฒนาชุมชน  การสนับสนุนให้ชุมชนมีศักยภาพในการออกแบบและดำเนินโครงการเองผลที่ได้คือ คนในน้ำไผ่สามารถมองเห็นศักยภาพของตนเอง เรียนรู้ที่จะบริหารจัดการพื้นที่ และสร้างแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน

คุณพรวจี  ปะนะที

บ้านมั่นคง: จุดเปลี่ยนสำคัญของคนในน้ำไผ่

หนึ่งในโครงการที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนคือ "โครงการบ้านมั่นคงชนบท" ซึ่งช่วยให้ชาวบ้านมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง และสามารถพัฒนาพื้นที่ของตนเองได้อย่างยั่งยืน

"โครงการบ้านมั่นคงไม่ใช่แค่เรื่องบ้าน แต่เป็นเรื่องของการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น"   ส่วนการดำเนินงานบ้านมั่นคงน้ำไผ่ คือ สำรวจข้อมูลและวางแผนร่วมกันกับชุมชน   พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน แหล่งน้ำ และแนวกันไฟ ปรับปรุงและสร้างบ้านให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม   ใช้พลังของชุมชนในการซ่อมแซมบ้านร่วมกันการทำงานลักษณะนี้ช่วยให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ทุกคนไม่ใช่แค่ผู้รับประโยชน์ แต่เป็นผู้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ตนเอง

พัฒนามากกว่าที่อยู่อาศัย: สู่เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

ชุมชนบ้านน้ำไผ่ไม่หยุดแค่การพัฒนาที่อยู่อาศัย แต่ยังขยายแนวทางการพัฒนาไปสู่เรื่องของ อาชีพและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  ส่งเสริมการปลูกกล้วยจากเนื้อเยื่อ เพื่อใช้คุมพื้นที่และเพิ่มมูลค่า  ส่งเสริมการปลูกมะม่วงหิมพานต์ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทนแล้ง  สนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์และตลาดชุมชน  ใช้ต้นไม้ เช่น มะขาม เป็นแนวเขตธรรมชาติระหว่างชุมชนกับป่าไม้  จัดตั้งแนวกันไฟเพื่อลดความเสี่ยงของไฟป่า ฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมให้กลับมาอุดมสมบูรณ์  "เราใช้การปลูกต้นไม้เป็นแนวเขตป้องกันระหว่างป่ากับชุมชน ทำให้เกิดความชัดเจนในการใช้พื้นที่ และลดปัญหาความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่รัฐ"

"เราส่งเสริมให้คนในพื้นที่ปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศ และสามารถสร้างรายได้ระยะยาว ไม่ใช่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่ต้องพึ่งสารเคมี" คูณพรวจี   กล่าว

จากปัญหาที่ดินและความไม่มั่นคง สู่ชุมชนที่มีสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย  จากการพึ่งพารัฐ สู่การพึ่งพาตนเองและขับเคลื่อนการพัฒนาเอง จากการเกษตรเชิงเดี่ยว สู่เศรษฐกิจชุมชนที่ยั่งยืน

ไร่สวนผสมเกษตรอินทรีย์ตำบลน้ำไผ่

"เราเชื่อว่าถ้าชุมชนลุกขึ้นมาจัดการปัญหาของตัวเอง เราจะสามารถแก้ไขทุกปัญหาได้"  น้ำไผ่ไม่ใช่แค่หมู่บ้านเล็กๆ ในจังหวัดอุตรดิตถ์ แต่เป็นตัวอย่างของชุมชนที่พิสูจน์ให้เห็นว่า "เมื่อคนในชุมชนรวมพลังกัน ไม่มีปัญหาใดที่แก้ไขไม่ได้พลังของชุมชนที่ไม่รอให้ใครมาแก้ไข แต่ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงอนาคตด้วยตัวเอง" คูณพรวจี   เล่าทิ้งท้าย

เมื่อชุมชนต้องเผชิญกับการถูกทวงคืนที่ดิน

แสงเดือน อินสา กองเลขาสภาองค์กรชุมชนตำบลน้ำไผ่ เล่าถึงจุดเริ่มต้นของโครงการนี้ว่า "เราไม่ได้ต่อสู้เพื่อแค่บ้าน แต่เราสู้เพื่อสิทธิ์ในการใช้ชีวิตของคนในชุมชน"   เดิมที ชาวตำบลน้ำไผ่จำนวนมากอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเมี่ยง-ภูทอง ทว่าหลังจากนโยบายทวงคืนผืนป่า หลายครอบครัวต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน บ้านถูกยึด พื้นที่ทำกินถูกจำกัด จนเกิดเป็นวิกฤติครั้งใหญ่ของชุมชน

แสงเดือน อินสา

"หลายพื้นที่ถูกอุทยานฯ ยึดคืน ทำให้คนในชุมชนไม่มีที่อยู่อาศัย และต้องดิ้นรนเพื่อรักษาพื้นที่ของตนเอง เราเลยต้องลุกขึ้นมาขับเคลื่อนเรื่องที่ดินและที่อยู่อาศัยให้ได้รับสิทธิ์ที่เป็นธรรม" แสงเดือนเล่า

ชาวบ้านจึงรวมตัวกันภายใต้ สภาองค์กรชุมชนตำบลน้ำไผ่ เพื่อผลักดันการแก้ปัญหา โดยเสนอแนวทางใหม่ให้ภาครัฐว่า "เราจะใช้พื้นที่เหล่านี้ทำเกษตรอินทรีย์ แลกกับสิทธิ์ในการครอบครองที่ดิน" ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้รัฐเริ่มรับฟัง

บ้านมั่นคงน้ำไผ่ไม่ใช่แค่สร้างบ้าน

โครงการบ้านมั่นคงเกิดขึ้นจากความร่วมมือของชุมชนและหน่วยงานรัฐ โดยเน้นการปรับปรุงบ้านที่ทรุดโทรม และพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน  "บ้านบางหลังไม่มีห้องน้ำ บางหลังใช้ไม้ไผ่ทำเป็นฝา หลังคารั่ว พื้นดินเป็นดินโล้น ไม่มีระบบระบายน้ำ บ้านมั่นคงเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ ทำให้บ้านของเราน่าอยู่และมั่นคงขึ้น"ปรับปรุงและสร้างบ้านให้กับ 378 ครัวเรือน พัฒนาระบบสาธารณูปโภค เช่น ถนน น้ำประปา และไฟฟ้า สนับสนุนการสร้างอาชีพ และเศรษฐกิจในชุมชน
 ส่งเสริมการอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน "บ้านมั่นคงไม่ได้ให้เงินสร้างบ้านเป็นก้อน แต่ให้ชุมชนช่วยกันบริหารจัดการงบประมาณเอง ซึ่งทำให้เกิดความโปร่งใสและใช้เงินอย่างคุ้มค่าที่สุด"

การซ่อมแซมบ้าน: พลังของชุมชนที่ร่วมมือกัน

หนึ่งในความโดดเด่นของโครงการบ้านมั่นคงน้ำไผ่ คือการซ่อมแซมบ้านด้วยแรงของชาวบ้านเอง “ไม่มีค่าแรง มีแต่แรงศรัทธา เราไม่มีการจ้างช่างจากภายนอก ทุกคนช่วยกันซ่อมบ้านของพื่อนบ้าน เหมือนการลงแขก” แสงเดือน กล่าว

 วัสดุถูกซื้อรวมกันเพื่อลดต้นทุน ชาวบ้านช่วยกันซ่อมบ้านทีละหลัง ช่างชุมชนช่วยควบคุมคุณภาพ  บางคนช่วยตัดไม้ บางคนช่วยก่ออิฐ บางคนช่วยแบกของ ทุกคนมีส่วนร่วม ทำให้ชุมชนของเราแน่นแฟ้นขึ้นกว่าเดิม

บ้านมั่นคงน้ำไผ่ไม่ได้หยุดอยู่แค่เรื่องที่อยู่อาศัย แต่ยังมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน  ส่งเสริมการจัดการขยะ และนำรายได้กลับมาพัฒนาชุมชน ทำแนวกันไฟป้องกันไฟป่าลุกลามเข้าพื้นที่ทำกิน ฟื้นฟูป่าปลูกต้นไม้เพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวพัฒนาเยาวชนสนับสนุนการศึกษา และกิจกรรมสร้างสรรค์ ขยายพื้นที่เกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืน  สร้างระบบกองทุนชุมชนให้ช่วยเหลือสมาชิกในระยะยาว  บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดความสมดุล

"เราทำแนวกันไฟเพื่อให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้ เราทำธนาคารขยะเพื่อให้ชุมชนมีรายได้เสริม สิ่งเหล่านี้ทำให้บ้านมั่นคงน้ำไผ่เป็นมากกว่าที่อยู่อาศัย แต่มันคือชุมชนที่แข็งแกร่งและพึ่งพาตัวเองได้ เราไม่ต้องการเป็นชุมชนที่รอคอยความช่วยเหลือจากรัฐตลอดไป เราอยากเป็นชุมชนที่สามารถดูแลตัวเองได้ พึ่งพาตัวเองได้ และเป็นตัวอย่างให้กับชุมชนอื่นๆ" แสงเดือน บอก

พลังน้ำไผ่ พลังของชุมชน คือพลังที่เปลี่ยนแปลงอนาคตต้นแบบของชุมชนพึ่งตัวเอง

จากจุดเริ่มต้นที่เคยเผชิญปัญหาความไม่มั่นคง วันนี้น้ำไผ่ได้กลายเป็นต้นแบบของชุมชนที่สามารถบริหารจัดการตนเอง และเป็นกรณีศึกษาสำหรับพื้นที่อื่นๆ "พลังของน้ำไผ่ คือพลังของชุมชนที่ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเอง" จากปัญหาที่ดินและความไม่มั่นคง สู่ชุมชนที่มีสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย  จากการพึ่งพารัฐ สู่การพึ่งพาตนเองและขับเคลื่อนการพัฒนาเอง จากการเกษตรเชิงเดี่ยว สู่เศรษฐกิจชุมชนที่ยั่งยืน เชื่อว่าถ้าชุมชนลุกขึ้นมาจัดการปัญหาของตัวเอง จะสามารถแก้ไขทุกปัญหาได้

น้ำไผ่ไม่ใช่แค่หมู่บ้านเล็กๆ ในจังหวัดอุตรดิตถ์ แต่เป็นตัวอย่างของชุมชนที่พิสูจน์ให้เห็นว่า เมื่อคนในชุมชนรวมพลังกัน ไม่มีปัญหาใดที่แก้ไขไม่ได้พลังของชุมชนที่ไม่รอให้ใครมาแก้ไข แต่ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงอนาคตด้วยตัวเอง  บ้านมั่นคงน้ำไผ่ไม่ใช่แค่บ้าน แต่คือรากฐานของชีวิตที่มั่นคง จากชุมชนที่เคยไร้สิทธิ์และหวาดกลัว วันนี้พวกเขากลายเป็นต้นแบบของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและประชาชนในการสร้างชุมชนที่ยั่งยืน

พลังของตำบลน้ำไผ่ไม่ได้อยู่ที่ผู้นำเพียงคนเดียว แต่เป็นพลังของทุกคนในชุมชน

พลังของชุมชนตำบลน้ำไผ่ไม่ได้อยู่ที่ผู้นำเพียงคนเดียว แต่อยู่ที่การรวมพลังของทุกคนในชุมชน จากดินแดนไร้สิทธิ์ สู่ชุมชนแห่งความมั่นคงและพึ่งพาตนเอง ตำบลน้ำไผ่คือตัวอย่างที่พิสูจน์ให้เห็นว่า เมื่อคนในชุมชนรวมพลังกัน ไม่มีปัญหาใดที่แก้ไขไม่ได้”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"MOU หน่วยงาน ผนึกกำลังขับเคลื่อน ‘ภูเก็ตเกาะสวรรค์’ สู่จังหวัดจัดการตนเอง"

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)หรือ พอช. ร่วมกับ 18 หน่วยงานร่วมจัดเวทีบันทึกความร่วมมือ “ภูเก็ตเกาะสวรรค์จัดการตนเอง”

จังหวัดภาคเหนือก้าวสู่การจัดการตนเอง: ขับเคลื่อนจังหวัดบูรณาการชุมชนเข้มแข็ง

วันที่ 17-18 มีนาคม 2568 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ พอช. ร่วมกับ ขบวนองค์กรชุมชนภาคเหนือ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ "Kick off แนวทางการขับเคลื่อนงานจังหวัดบูรณาการสู่จังหวัดจัดการ

“รักจังสตูล” รวมพลังคนสตูล บูรณาการความรู้ สร้างเครือข่ายหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาชุมชนและสังคมให้ยั่งยืน

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ พอช. จัดเวทีคืนข้อมูลโครงการวิจัยบูรณาการภาคีร่วมพัฒนาเพื่อส่งเสริมชุมชนเข้มแข็งสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตทุกช่วงวัย

8กองทุนสวัสดิการชุมชนดีเด่นรับรางวัล ‘ป๋วย อึ๊งภากรณ์’ ปี 2567 ‘ด้านการพัฒนาสุขภาพ ความมั่นคงทางอาหาร’ กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองงูเหลือม อ.เมือง จ.นครปฐม (1)

‘กองทุนสวัสดิการชุมชน’ เริ่มจัดตั้งทั่วประเทศในปี 2548 โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และรัฐบาลให้การสนับสนุน

รวมพลังชุมชน ขับเคลื่อนการจัดการป่า ลดฝุ่นควัน สร้างสุขภาวะที่ดี

กรุงเทพฯ/12 มีนาคม 68 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)หรือ พอช. จับมือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ การขับเคลื่อนการจัดการป่าชุมชนเพื่อลดฝุ่นตวันและสร้างสุข

สสส.-พอช. ผนึกกำลัง 16 จังหวัด เดินหน้าป่าชุมชน ลดเผา-แก้ PM2.5 อย่างยั่งยืน

สสส. จับมือ พอช. และภาคีเครือข่าย เดินหน้าบริหารจัดการป่าชุมชน 60 แห่งใน 16 จังหวัดทั่วประเทศ เร่งแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 เสริมศักยภาพชุมชนลดการเผา พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการจัดการป่าอย่างยั่งยืน มุ่งสู่สังคมอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพประชาชน