วันที่ 5 มีนาคม 2568 ที่อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานพิธีปิดโครงการการขยายผลเครือข่ายอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาศักยภาพคนพิการ เพื่อประกอบอาชีพผ่านโมเดลการฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการ มจธ. (HigherEd for PWD) ระยะที่ 1 ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวง พม. กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ในฐานะมหาวิทยาลัยเจ้าภาพ และมหาวิทยาลัยเครือข่าย 5 แห่ง ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสวนดุสิต(วิทยาเขตสุพรรณบุรี) พร้อมปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "โอกาสของคนพิการกับการจ้างงานคนพิการตามสมรรถนะ" โดยมี รศ. ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มจธ. นายโชคชัย วิเชียรชัยยะ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวง พม. ผู้แทนมหาวิทยาลัยเครือข่าย ร่วมในงาน
นายวราวุธ กล่าวว่า รัฐบาลได้ผลักดันนโยบายสำคัญเร่งด่วน ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพและจัดสวัสดิการสังคมให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป สร้างความเท่าเทียมทางโอกาสและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่สำคัญ ได้แก่ คนพิการ ผู้สูงอายุ กลุ่มชาติพันธุ์ บุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ เพื่อให้สามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการของรัฐได้โดยสะดวกตามที่กฎหมายบัญญัติ ที่ผ่านมา กระทรวง พม. ได้ขับเคลื่อนงานเพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงสวัสดิการที่เหมาะสม และมีความมั่นคงในชีวิต โดยเร่งต่อยอดงานที่ดำเนินการมาแล้ว พร้อมกับเร่งพัฒนางานใหม่ เพื่อความต่อเนื่อง ผ่านนโยบาย “5x5 ฝ่าวิกฤตประชากร” ซึ่งมียุทธศาสตร์หนึ่งที่มุ่งเพิ่มโอกาส และเสริมสร้างคุณค่าคนพิการ ด้วยการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา รวมถึงผลักดันการจ้างงานคนพิการในทุกภาคส่วน โดยที่ความพิการไม่เป็นข้อจำกัด อย่างไรก็ตาม เมื่อปี 2566 กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) กระทรวง พม. ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจความร่วมมือ (MOU) การทดลองนำร่องการสนับสนุนสถานศึกษาเพื่อกระจายการเพิ่มศักยภาพของคนพิการ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ในฐานะมหาวิทยาลัยเจ้าภาพ และมหาวิทยาลัยเครือข่าย 5 แห่ง
จากนั้นจึงได้ดำเนินโครงการการขยายผลเครือข่ายอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาศักยภาพคนพิการ เพื่อประกอบอาชีพผ่านโมเดลการฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการ มจธ. (HigherEd for PWD) ระยะที่ 1 เดือนมีนาคม 2567 - มีนาคม 2568 โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวง พม. ซึ่งมีการดำเนินการสำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ 1.เตรียมความพร้อมการฝึกอบรมคนพิการให้แก่มหาวิทยาลัยเครือข่าย 2.จัดฝึกอบรมคนพิการในแต่ละมหาวิทยาลัย และจัดกิจกรรม Career Connect เชื่อมโยงระหว่างคนพิการกับผู้ประกอบการ โดย มจธ. และมหาวิทยาลัยเครือข่าย ออกแบบหลักสูตรร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการในพื้นที่ เพื่อฝึกงานและเตรียมความพร้อมให้สอดคล้องกับความต้องการจ้างงาน ภายหลังคนพิการฝึกอบรมและผ่านการรับรองการผ่านหลักสูตร ทางสถานประกอบการจะต้องจ้างคนพิการเข้าทำงานตามมาตรา 33 โครงการดังกล่าวสามารถพัฒนาศักยภาพคนพิการเพื่อการประกอบอาชีพ มีงานทำ มีรายได้ ทั้งรูปแบบการเข้าทำงานในสถานประกอบการและการประกอบอาชีพอิสระ รวมจำนวน 252 คน จากเป้าหมาย 300 คน คิดเป็นร้อยละ 84 (ข้อมูล ณ วันที่ 9 มกราคม 2568) ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถและศักยภาพของคนพิการที่มีโอกาสในการทำงาน
สำหรับปี 2567 ได้มีการจัดบันทึกความเข้าใจความร่วมมือ (MOU) โครงการนำร่องการสนับสนุนให้สถานศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพของคนพิการและยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการ ระยะที่ 2 ระหว่าง กระทรวง พม. กับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ โดย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่ง เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 67 เพื่อสนับสนุนมหาวิทยาลัยเจ้าภาพและมหาวิทยาลัยเครือข่าย สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ในการเสริมสร้างความรู้ ทักษะ และพัฒนาศักยภาพคนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการประกอบอาชีพ การฝึกอบรม และการฝึกงาน อีกทั้งส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย การสร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการส่งเสริมการทำงานแก่คนพิการ เพื่อรวมถึงการแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาของนักศึกษาพิการที่อยู่ระหว่างการศึกษาและสำเร็จการศึกษา
สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการในระยะ 2 นั้น ประกอบด้วย 5 กิจกรรมสำคัญ ได้แก่ พัฒนาหลักสูตรสำหรับการศึกษาเพื่อการมีงานทำของคนพิการ โดยได้รับใบประกาศนียบัตรจากสถาบันการศึกษา โดยศูนย์พัฒนาศักยภาพและอาชีพคนพิการ เป็นหน่วยงานสนับสนุน , ส่งเสริมและพัฒนาคนพิการเพื่อประกอบอาชีพอาชีพอิสระ อาทิ Food Truck เพื่อเป็นอาชีพทางเลือกให้กับคนพิการที่มีศักยภาพ เปิดพื้นที่ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์คนพิการ , ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของคนพิการ , พัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อการดูแล พัฒนาศักยภาพคนพิการ , พัฒนาศักยภาพคนพิการสู่การเป็นคนพิการต้นแบบเพื่อสังคม
การดำเนินการตาม MOU จากระยะที่ 1 มาสู่ ระยะที่ 2 นั้น ความสำเร็จส่วนหนึ่ง คือ “โอกาสของคนพิการกับการจ้างงานคนพิการตามสมรรถนะ” โดยมีกลไกมหาวิทยาลัยเครือข่าย นำร่อง ในระยะที่ 1 เป็นพี่เลี้ยงหรือหน่วยสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยใหม่ๆ ที่เข้าร่วมในระยะที่ 2 เกิดการกระจายโอกาสให้คนพิการทั่วประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้คนพิการมีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ "การส่งเสริมการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐและสถานประกอบการ ขอเน้นย้ำว่า เราควรปรับเปลี่ยนแนวคิดให้ตั้งต้นที่การพิจารณาศักยภาพของคนพิการ เพื่อนำไปสู่การกำหนดลักษณะและตำแหน่งงานที่เหมาะสมกับคนพิการ ทำให้คนพิการเข้ามาอยู่ในระบบของการจ้างงาน เป็นผลิตภาพของสังคมไทยร่วมกันพัฒนาประเทศชาติ" นายวราวุธ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
”วราวุธ“ เผย กระทรวง พม.-กระทรวงแรงงาน เตรียมทำ MOU ร่วม ผู้ประกอบการ - เครือข่าย ร่วมพัฒนาทักษะ 5 สาขาอาชีพ สร้างงาน เพิ่มรายได้ ให้คนพิการ - ผู้ดูแลคนพิการ
เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2568 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
"วราวุธ" จับมือ พม.-ทส. ชู กระเสียวโมเดล ช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ ช่วยชาวนิคมสร้างตนเอง เพิ่มผลผลิต สร้างรายได้
เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ที่ อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดโครงการกระเสียวโมเดล : น้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ บนพื้นที่ 500 ไร่ ภายใต้
ปลัด พม. ถวายประกาศนียบัตรแด่พระภิกษุ ฝึกอบรบเพิ่มทักษะพระธรรมทูต จัดบริการสวัสดิการสังคม พัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2568 ที่อาคารสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธัมมธรมหาเถระ) วัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร นายอนุกล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า วันนี้ (19 เม.ย. 68)
“วราวุธ” ส่งทีม พม. ช่วยแม่ติดเตียงอยู่ลำพัง รับคุ้มครองชั่วคราว หลัง ลูกสาวเสียชีวิตกระทันหัน แจ้งเลขที่บ้านผิด กู้ชีพไม่ทัน
เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยว่า ทางศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) กระทรวง พม. รายงานว่า ศรส.จังหวัดสมุทรปราการ ได้ลงพื้นที่เข้าไปช่วยเหลือครอบครัวของหญิงวัย 54 ปี
“วราวุธ” บรรยายพิเศษให้ วปอ. รุ่น 67 ฟัง ชูนโยบาย พม. 5X5 ฝ่าวิกฤตประชากร - พันธกิจสำคัญ 9 ด้าน หวังแก้ปัญหา ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยอย่างยั่งยืน
เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2568 ที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(รมว.พม.) บรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยอย่างยั่งยืน“
วราวุธ เผย กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ แจ้งข่าวดีรับปีใหม่ไทย หลัง ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ ปรับเพิ่มค่าตอบแทน ให้ผู้ช่วยคนพิการ แนะ อบรมหลักสูตรพื้นฐาน
เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2568 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) กล่าวว่า ได้รับรายงานจาก นายโชคชัย วิเชียรชัยยะ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ