'พิพัฒน์' แจงกระทู้สด สภาสูง หนุนปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ควบคู่มาตรการลดค่าครองชีพ พร้อมดูแลแรงงาน-นายจ้างเต็มที่ เผย ลุ้นผลประชุม กก.ค่าจ้าง 12 มี.ค.นี้

10 มีนาคม 2568 ณ รัฐสภา 0 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตอบกระทู้ถามสมาชิกวุฒิสภา ย้ำถึงแนวทางการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอย่างเป็นระบบ ควบคู่กับมาตรการช่วยเหลือแรงงานและนายจ้าง เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างสมดุล

”นายพิพัฒน์“ ระบุว่า การปรับขึ้นค่าแรงเป็นเรื่องสำคัญ ต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ โดยต้องคำนึงถึง ค่าครองชีพ ศักยภาพธุรกิจ และภาวะเศรษฐกิจโดยรวม พร้อมกันนี้ในวันที่ 12 มีนาคม ประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง ขอให้คณะกรรมการค่าจ้างทุกฝ่าย เห็นใจลูกจ้างที่ต้องการขึ้นค่าแรง และร่วมพิจารณาให้ได้ข้อสรุปที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างสมดุล

โดย 6 แนวทางสำคัญของกระทรวงแรงงาน คือ
1.การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอย่างมีหลักการ
โดยคณะกรรมการค่าจ้างพิจารณาปรับขึ้นค่าแรง ปัจจุบันสูงสุดที่ 400 บาท และต่ำสุดที่ 337 บาท
ใช้หลักเกณฑ์ด้าน ค่าครองชีพ ศักยภาพของธุรกิจ และภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และแผนในอนาคตจะพัฒนาแรงงานให้มีทักษะสูงขึ้น เพื่อให้ได้รับค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน แรงงานต้องมีรายได้ที่เพียงพอสำหรับค่าครองชีพ แต่ต้องไม่กระทบต่อศักยภาพของนายจ้างในการดำเนินธุรกิจ

2.ปรับค่าแรงตามพื้นที่ เพื่อสะท้อนสภาพเศรษฐกิจที่แท้จริง โดยให้ คณะอนุกรรมการค่าจ้างระดับจังหวัด เป็นผู้เสนออัตราค่าแรงขั้นต่ำที่เหมาะสม
และ มีแผนสำรวจค่าครองชีพของแรงงานและสถานประกอบการในไตรมาส 2 ของปี 2568 ใช้แนวทางปรับค่าแรงที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้สะท้อนค่าครองชีพที่แท้จริง

3.สร้างโอกาสการจ้างงาน ลดอัตราการว่างงานพร้อมส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน
มีโครงการจับคู่แรงงาน (Matching Jobs) เชื่อมโยงผู้หางานกับสถานประกอบการ เช่น ขยายโอกาสแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ เพื่อรับค่าตอบแทนที่สูงขึ้น และยกระดับคุณภาพชีวิต
และ สนับสนุนมาตรการป้องกันอุบัติเหตุ ลดความเสี่ยงจากการทำงาน ควบคู่กับการพัฒนาแรงงานคุณภาพ ให้ตรงกับความต้องการของตลาด

4.ปฏิรูปประกันสังคม-สวัสดิการแรงงานให้ครอบคลุม โดยปรับปรุงระบบประกันสังคม ให้ครอบคลุมกลุ่มแรงงานนอกระบบ แรงงานอิสระ และกลุ่มเปราะบาง โดยพิจารณาเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพและบำนาญชราภาพที่อยู่ในขั้นตอนพิจารณาปรับสูตรการคำนวณ รวมถึงพัฒนาระบบ ดิจิทัลในการเข้าถึงสวัสดิการแรงงาน ให้สะดวกและโปร่งใสยิ่งขึ้น

5.นโยบายบริหารแรงงานต่างด้าว โปร่งใส เป็นธรรม โดยใช้ ระบบเทคโนโลยีดิจิทัล บริหารจัดการแรงงานต่างด้าว เพื่อลดปัญหาทุจริต และการค้ามนุษย์ มีการตรวจสอบสถานประกอบการ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานอย่างเคร่งครัด เพื่อคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างชาติอย่างเท่าเทียม ป้องกันการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ

6.มาตรการช่วยเหลือธุรกิจ ลดผลกระทบจากค่าแรงที่เพิ่มขึ้น เช่น มาตรการลดหย่อนภาษี และเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สำหรับธุรกิจที่ต้องปรับตัว
และสนับสนุน โครงการฝึกอบรม Upskill-Reskill ฟรี เพื่อลดต้นทุนด้านแรงงานและเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ส่วนภาคธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SMEs) จะได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษ ซึ่งต้องดูแลทั้งแรงงานและนายจ้าง เพื่อให้ภาคธุรกิจยังคงสามารถแข่งขันได้ และแรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นายพิพัฒน์ กล่าวเน้นว่า แรงงานไทยควรได้รับค่าตอบแทนที่สอดคล้องกับค่าครองชีพ และภาครัฐมีมาตรการช่วยลดค่าครองชีพ ควบคู่กับการขึ้นค่าแรง ภาคธุรกิจได้รับการสนับสนุนให้ปรับตัว ลดผลกระทบจากต้นทุนแรงงาน ส่วนแรงงานไทยมีโอกาสพัฒนาฝีมือ เพื่อได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้น ควบคู่กับ การบริหารแรงงานต่างด้าวให้เหมาะสม

“กระทรวงแรงงานจะเดินหน้าสร้างสมดุลระหว่างคุณภาพชีวิตแรงงานและความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ เพื่อให้เศรษฐกิจไทยเติบโตไปพร้อมกัน” นายพิพัฒน์ กล่าวปิดท้าย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สส.ปชน.โวยสภาหมื่นล้าน ใช้ได้ไม่เต็มที่ จี้ ‘วันนอร์’ ตอบเหตุผลถมสระมรกตทำห้องสมุด

สส.ปชน.ชี้พื้นที่ของรัฐสภามีปัญหาด้านการเข้าถึงทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งเมื่อมีปัญหาก็ควรแก้ไข แต่ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณเพื่อแก้ปัญหา

"พิพัฒน์” ลงพื้นที่สุราษฎร์ฯ เดินหน้าหนุนโรงงานต้นแบบแรงงานพันธุ์ดี -ออกหน่วยแรงงานเคลื่อนที่ ยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานทุกกลุ่ม

กระทรวงแรงงาน นำโดย นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งในระดับสถานประกอบการและระดับชุมชน เพื่อผลักดันการดูแลแรงงานอย่างรอบด้าน

'ชูศักดิ์' มั่นใจ กม. 'กาสิโน' ผ่านสภา ปัดรัฐบาลเร่ง อ้าง 8 เดือนกว่าจะคลอด

'ชูศักดิ์' มั่นใจ กม.เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ผ่านสภาฉลุย อ้างรัฐบาลไม่ได้เร่ง กว่าจะคลอดไม่ต่ำกว่า 8 เดือน พร้อมแจงก่อนสร้างต้องชงเข้า ครม. ค่อยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

พิพัฒน์ หัวโต๊ะ ประชุมกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย สำหรับกิจการก่อสร้างขนาดใหญ่ ใน กทม.ปริมณฑล ระบุเหตุแผ่นดินไหว ก.แรงงาน พร้อมช่วยเหลือเยียวยาทั้งแรงงานไทย-ต่างด้าว ที่บาดเจ็บ และ เสียชีวิต

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน กล่าวภายหลัง เป็นประธานการประชุมกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยสำหรับกิจการก่อสร้างขนาดใหญ่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ครั้งที่ 1/2568

สมจริง! วุฒิสภาฯ ซ้อมอพยพหนีแผ่นดินไหว จัดเต็ม หน้าจอทีวีดับ แจกหมวกนิรภัย ไฟฉาย นกหวีด

ที่รัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมวุฒิสภา ที่มีพล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภาคนหนึ่ง เป็นประธานการประชุม โดยภา

'พิพัฒน์' พร้อมนัดถกประกันสังคม เร่งเยียวยาแรงงานถูกแผ่นดินไหว

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงาน เตรียมนัดหน่วยงานในสังกัด โดยพาะสำนักงานประกันสังคมหารือร่วมกัน เพื่ออัพเดทสถานการณ์การช่วยเหลือเยียวยาแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวในประเทศไทย ในวันนี้ หรือวันพรุ่งนี้ โดยต้องการรับทราบข้อมูลล่าสุดของจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบ และแนวทางการช่วยเหลือเยียวยาตามกฎหมายต่อไป