"MOU หน่วยงาน ผนึกกำลังขับเคลื่อน ‘ภูเก็ตเกาะสวรรค์’ สู่จังหวัดจัดการตนเอง"

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)หรือ พอช. ร่วมกับ 18 หน่วยงานร่วมจัดเวทีบันทึกความร่วมมือ “ภูเก็ตเกาะสวรรค์จัดการตนเอง” เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการบูรณาการความร่วมมือระหว่าง ขบวนชุมชนจังหวัดภูเก็ต กับ หน่วยงานภาคีความร่วมมือ ประกอบด้วย สำนักงานจังหวัดภูเก็ต สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดภูเก็ต สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดภูเก็ต สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต สำนักงานขนส่งจังหวัดภูเก็ต สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดภูเก็ต สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต หอการค้าจังหวัดภูเก็ต YEC หอการค้าจังหวัดภูเก็ต บริษัทพิโซน่า กรุ๊ป บริษัทภูเก็ตพัฒนาเมือง มูลนิธิพัฒนาป่าตอง ชมรมธนาคารจังหวัดภูเก็ต สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดภูเก็ต และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างบูรณาการและผลักดันให้จังหวัดภูเก็ตก้าวสู่การเป็น "จังหวัดจัดการตนเอง" อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีผู้เข้าร่วมจากขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดภูเก็ต หน่วยงานภาคีภาครัฐและภาคเอกชน จำนวนกว่า 150 คน ณ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต

หากพูดถึงจังหวัดภูเก็ตภาพแรกที่ทุกคนเห็นก็คงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม แต่จังหวัดภูเก็ตไม่ได้มีเพียงหาดทรายขาวและทะเลสีคราม แต่ยังเป็นดินแดนที่ขับเคลื่อนด้วยพลังของขบวนองค์กรชุมชนที่หลอมรวมวิถีชีวิต วัฒนธรรม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ชุมชนในภูเก็ตมีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์เศรษฐกิจฐานรากผ่านการท่องเที่ยวโดยชุมชน เช่น ชุมชนบ้านบางเทา ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ควบคู่กับการรักษาประเพณีพื้นบ้านอย่างเทศกาลกินเจอันศักดิ์สิทธิ์ นอกจากนี้ องค์กรชุมชนยังร่วมมือกันพัฒนาอาชีพและสินค้าท้องถิ่น เช่น ผ้าบาติกภูเก็ต และอาหารพื้นเมืองที่ถ่ายทอดสูตรลับจากบรรพบุรุษ ขณะที่เครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อมก็ขับเคลื่อนโครงการอนุรักษ์ป่าชายเลนและการจัดการขยะทะเล เพื่อลดผลกระทบจากการท่องเที่ยวมหาศาลที่หลั่งไหลเข้ามา การพัฒนาเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงพลังของชุมชนที่ไม่ได้รอคอยความช่วยเหลือจากภายนอก แต่ลุกขึ้นมาจัดการตนเอง เพื่อให้ภูเก็ตยังคงเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกที่สมดุลทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

จังหวัดภูเก็ตเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเป็น “จังหวัดจัดการตนเอง” ด้วยโครงสร้างเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมอย่างต่อเนื่อง แนวคิดนี้เน้นให้ท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการทรัพยากรและนโยบายได้เองเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องพึ่งพาการสั่งการจากส่วนกลางมากเกินไป ภูเก็ตมีรายได้หลักจากการท่องเที่ยวที่สร้างมูลค่ามหาศาล แต่ยังเผชิญกับปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำ การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม องค์กรภาคประชาชนและขบวนองค์กรชุมชนในภูเก็ตจึงร่วมกันผลักดันแนวทางการปกครองตนเองผ่านการกระจายอำนาจ การจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสม และการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด หากแนวคิดจังหวัดจัดการตนเองเกิดขึ้นจริง ภูเก็ตจะสามารถพัฒนาเมืองได้อย่างยั่งยืน ลดอุปสรรคด้านการบริหาร และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

18 หน่วยงาน ร่วมจัดเวทีบันทึกความร่วมมือ “ภูเก็ตเกาะสวรรค์จังหวัดจัดการตนเอง”

สำหรับวัตถุประสงค์ของบันทึกความร่วมมือมีเป้าหมายในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น ตามแนวทางที่ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งและขบวนชุมชนเป็นแกนหลักในกระบวนการดำเนินโครงการทั้งในเชิงพื้นที่และงานประเด็น เกี่ยวกับการพัฒนาที่อยู่อาศัย สวัสดิการชุมชน และคุณภาพชีวิต โดยมีการพัฒนาระบบข้อมูล วิเคราะห์ วางแผนการดำเนินงาน และติดตามประเมินผล พัฒนากลไกขบวนชุมชนจังหวัดภูเก็ต กองทุนสวัสดิการชุมชน และสภาองค์กรชุมชนให้มีประสิทธิภาพ ตามหลักธรรมาภิบาล เชื่อมโยงและเสริมสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง มุ่งสู่เป้าหมาย "จังหวัดจัดการตนเอง" ครอบคลุมมิติสังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากร การศึกษา สุขภาพ และการเมืองภาคพลเมืองของชุมชนท้องถิ่นให้เป็นรูปธรรมและให้มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและนโยบายสาธารณะในระดับต่าง ๆ

นายอดิศักดิ์ อัคสินธวังกูร ประธานขบวนชุมชนจังหวัดภูเก็ต  กล่าวว่า วันนี้เป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้ร่วมเวทีบันทึกความร่วมมือภาคี ภูเก็ต เกาะสวรรค์ สู่จังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน ทั้งองค์กรชุมชน ภาครัฐ และภาคเอกชน โดยมีเป้าหมายเพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะที่สอดคล้องกับความต้องการของจังหวัดภูเก็ต

ในการนี้ ขอแสดงความยินดีกับท่านเรวัต อารีรอบ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตสมัยที่สอง และขอขอบคุณสำหรับการสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดภูเก็ตมาโดยตลอด โดยเฉพาะการพัฒนาศูนย์กลางชุมชน การส่งเสริมโครงการเพื่อสังคม และการดูแลด้านขนส่งสาธารณะซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประชาชน นอกจากนี้ ยังมีการร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และสำนักงานรัฐธรรมนูญภาคใต้ ที่ได้เข้ามาช่วยขับเคลื่อนกิจกรรมและสนับสนุนการพัฒนาภายในจังหวัด

ในระยะยาว วิสัยทัศน์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.) คือ การสร้างชุมชนที่เข้มแข็งและสามารถจัดการตนเองได้ โดยมีสองเงื่อนไขสำคัญ คือ การบริหารจัดการตนเองอย่างสมดุล และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมั่นคงในที่อยู่อาศัย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคประชาสังคม เพื่อร่วมกันพัฒนาบุคลากร เสริมสร้างองค์ความรู้ และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการ

การจัดงานครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญในการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับงานภาคประชาชน ส่งเสริมการทำงานร่วมกันเพื่อความยั่งยืน และพัฒนาแนวทางในการขับเคลื่อนจังหวัดให้สามารถบริหารจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือ

นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กล่าวถึงทิศทางและความสำคัญของการร่วมมือว่า หัวใจสำคัญคือการรวมคน รวมมือ รวมแรง ทั้งด้านการแก้ปัญหา วิชาการ และการพัฒนา สิ่งที่จะทำให้เกิดความสำเร็จได้ คือ ทุกคน ทุกหน่วยงาน ต้องร่วมมือกัน ตามนโยบาย ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ เราจะไม่ให้เงิน แต่เราให้วิธีการที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จ จังหวัดภูเก็ตไม่ใช่เมืองที่อยู่นิ่งและยังเป็นเมืองที่มีหลายมิติของการพัฒนา ยุทธศาตร์การร่วมภาคีวันนี้ เราจะไม่ต่างคนต่างเดินตามวัตถุประสงค์ของตัวเอง จะทิ้งบทบาทความเป็นหน่วยงานและมุ่งหวังผลประโยชน์ให้เกิดแก่ประชาชนให้มากที่สุด

นายธีระพงศ์ ช่วยชู ปลัดจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ภูเก็ตเกาะสวรรค์สู่จังหวัดจัดการตนเอง ที่เราจัดการตนเองได้ก่อนคือ จัดการระบบข่าวสารของตัวเอง เรามีระบบเครือข่ายเต็มไปหมด เพื่อเผยแพร่ข้อเท็จจริงไปถึงผู้อื่นๆ อย่างเช่น เรื่องขยะ หากเราร่วมมือกัน 1 ผู้นำ 1 บ้าน ถ้าเราคัดแยกขยะได้ ก็มีบริษัทต่างๆนำสิ่งนั้นไปใช้ได้ เช่น ทำเป็นปุ๋ย ถ้าเรายังจัดการตรงนี้ไม่ได้ เป้าหมายของเราก็ไม่สามารถทำได้ เราพร้อมหรือยังที่จะขึ้นไปถึงเป้าหมายของเรา  เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็น 1 ในประเด็นที่ทำอยู่แต่เราต้องละเอียดขึ้น หากทำได้ เป้าหมายของเราก็สามารถทำได้ไม่ยาก โดยให้ กรอ.เป็นผู้ขับเคลื่อน

นางสาววารุณี สกุลรัตนธารา คณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กล่าวว่า วันนี้ถือเป็นวันสำคัญของขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดภูเก็ต ซึ่งทำงานร่วมกันมายาวนานกว่า 30 ปี และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปีที่ผ่านมา จังหวัดภูเก็ตได้รับการประกาศให้เป็นจังหวัดบูรณาการ หมายถึงการทำงานร่วมกันระหว่างทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม และขบวนองค์กรชุมชนเอง ในปีนี้ถือเป็นก้าวสำคัญอีกครั้ง เพราะภูเก็ตได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 13 จังหวัดของประเทศไทย ที่จะนำไปสู่แนวทาง "จังหวัดจัดการตนเอง"

นางสาววารุณี กล่าวต่อไปอีกว่า ขบวนชุมชนจังหวัดภูเก็ตได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาภายใต้แผน "ภูเก็ต เกาะสวรรค์" ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2555 และมีการทบทวนแผนอย่างต่อเนื่องทุกปี ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน การลงนามบันทึกความร่วมมือในวันนี้จึงเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นขององค์กรภาคประชาชน ภาคประชาสังคม หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ในการทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนจังหวัดไปสู่การบริหารจัดการตนเองอย่างแท้จริง โดยมีหน่วยงานต่างๆ ทั้ง 18 หน่วยงานเข้าร่วมพิธีลงนาม พร้อมทั้งแสดงบทบาทและภารกิจของแต่ละองค์กรในการสนับสนุนและดำเนินงานร่วมกัน ซึ่งจะช่วยผลักดันให้จังหวัดภูเก็ตสามารถบริหารจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป

บทบาทหน่วยงานภาคีความร่วมมือสู่ “ภูเก็ตจังหวัดจัดการตนเอง”

ขบวนชุมชนจังหวัดภูเก็ต มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรชุมชนให้เป็นกลไกหลักในการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาระบบบริหารจัดการ ระบบข้อมูล การวิเคราะห์ และการวางแผนการดำเนินงาน ตลอดจนการติดตามและประเมินผล เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรชุมชนมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขปัญหาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย สวัสดิการชุมชน และคุณภาพชีวิตโดยรวม รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชน สนับสนุนความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพและขยายผลการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในลักษณะบูรณาการ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เชิงโครงสร้างและผลักดันนโยบายสาธารณะในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม

สำนักงานจังหวัดภูเก็ต สนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดที่เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วม

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดภูเก็ต ให้คำปรึกษา แนะนำ และส่งเสริมการดำเนินงานของกองทุนสวัสดิการชุมชน สนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการของรัฐรณรงค์ส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ และบทบาทสตรีในชุมชน

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดภูเก็ต สนับสนุนการจัดทำแผนชุมชนโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการคิด วิเคราะห์ วางแผน และกำหนดแนวทางการพัฒนาของชุมชนตนเอง และเชื่อมโยงกลุ่ม/องค์กรชุมชนต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจของชุมชน

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต ส่งเสริมการสร้างระบบบรรเทาสาธารณภัย และสนับสนุนให้ชุมชนมีความรู้ ความเข้มแข็งในการป้องกัน ภัยพิบัติและการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัย

สำนักงานขนส่งจังหวัดภูเก็ต สนับสนุนการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในชุมชนและ การส่งเสริมรถโดยสารสาธารณะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รณรงค์ความปลอดภัยทางถนนในชุมชน เช่น การให้ความรู้เกี่ยวกับการขับขี่ปลอดภัย การสวมหมวกนิรภัย การคาดเข็มขัดนิรภัย และสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและแจ้งเหตุเกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนน ร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และชุมชน ในการพิจารณากำหนดเส้นทางเดินรถโดยสารประจำทางให้ครอบคลุมและตอบสนองความต้องการของชุมชน รวมถึงการพิจารณาจุดจอดรถที่เหมาะสม

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดภูเก็ต สนับสนุนและส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่ารวมทั้งให้คำแนะนำและสนับสนุนชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อย่างยั่งยืน

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต ส่งเสริมสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนภายใต้ระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตดูแลสิทธิ เสรีภาพ การอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น

องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ให้การสนับสนุนส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน องค์กรชุมชน เปิดพื้นที่นำเสนอข้อมูลความคิดจากชุมชนให้เกิดการพัฒนาลดความเหลื่อมล้ำแก้ปัญหาของท้องถิ่น โดยสะท้อนความคิดของประชาชนทุกเพศทุกวัยอย่างทั่วถึงและส่งเสริมสนับสนุนการจัดระบบสวัสดิการให้กับคนในชุมชน

หอการค้าจังหวัดภูเก็ต ร่วมผลักดันการสร้างสังคมสุจริตจังหวัดภูเก็ต จัดอบรม สัมมนา หรือให้คำปรึกษาแก่ชุมชนในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาธุรกิจ การตลาด การจัดการ เป็นองค์กรกลางในการเชื่อมโยงระหว่างภาคธุรกิจกับชุมชน ภาครัฐ และภาคประชาสังคม เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาชุมชน ร่วมผลักดันการพัฒนาจังหวัดภูเก็ต ไปสู่ภูเก็ตเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ

YEC หอการค้าจังหวัดภูเก็ต YEC สามารถมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนชุมชน โดยเฉพาะการนำความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาศักยภาพผู้นำรุ่นใหม่

บริษัท พิโซน่า กรุ๊ป สนับสนุนการจัดสมัชชาขบวนชุมชนจังหวัดภูเก็ต สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพแกนนำขบวนชุมชนจังหวัดภูเก็ต

บริษัทภูเก็ตพัฒนาเมือง ผลักดันรถโดยสารสาธารณะไร้รอยต่อรอบเมืองภูเก็ต ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและร่วมการตัดสินใจ ไปสู่ภูเก็ตสมาทซิตี้ PHUKET Smart City ภูเก็ต ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ

มูลนิธิพัฒนาป่าตอง ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ ทั้งด้านสุขภาพ การศึกษา สังคม และเศรษฐกิจ รวมทั้งส่งเสริมและสนับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่าตอง

ชมรมธนาคารจังหวัดภูเก็ต สนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ เช่น การบริจาค การช่วยเหลือผู้ประสบภัยการศึกษา รวมทั้ง ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับเรื่องการเงิน การธนาคาร และเศรษฐกิจ

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เปิดโอกาสให้ชุมชนและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสุขภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของทุกคน เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ และการพัฒนาศักยภาพของผู้นำชุมชน

เครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดภูเก็ต ปกป้องสิทธิของผู้บริโภคตามกฎหมาย เช่น สิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าและบริการอย่างอิสระ สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ สิทธิที่จะได้รับการชดเชยความเสียหาย ผลักดันให้เกิดนโยบาย และกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สนับสนุนชุมชนให้เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ โดยเน้น "ชุมชนเป็นแกนหลัก พื้นที่เป็นตัวตั้ง" พัฒนาสู่จังหวัดจัดการตนเอง พัฒนาศักยภาพผู้นำและประชาชน โดยการพัฒนาทักษะ ฝึกอบรม ศึกษาดูงาน ให้คำปรึกษา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการ การวางแผน และแก้ไขปัญหาชุมชนด้วยตนเอง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผู้นำแปซิฟิกเยือนชุมชนประชาร่วมใจ เรียนรู้โมเดลบ้านมั่นคงไทย สู่เวทีนานาชาติ

ผู้แทนระดับรัฐมนตรีจาก 7 ประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก ร่วมลงพื้นที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับชุมชนริมคลองในกรุงเทพฯ พร้อมถอดบทเรียนจากโครงการบ้านมั่นคงของไทย เป็นต้นแบบการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อผู้มีรายได้น้อยในระดับภูมิภาคแปซิฟิก

UN-Habitat เยือนพื้นที่บ้านมั่นคงรามคำแหง 39 ต้นแบบพัฒนา “ทั้งย่าน” สู่สิทธิการอยู่อาศัยที่ยั่งยืน

กรุงเทพฯ-23 พฤษภาคม 2568 นางอนาคลาวเดีย โรสบาค (Ms. Anacláudia Rossbach) รองเลขาธิการสหประชาชาติ และผู้อำนวยการบริหารโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ

จากชุมชนถึงจังหวัด! พอช.เสริมพลังผู้นำภาคเหนือ สู่ 'จังหวัดจัดการตนเอง'" เปิดเวทีพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน 9 จังหวัด เน้นกระจายอำนาจ สร้างฐานพลังพลเมือง หนุนท้องถิ่นเข้มแข็ง

วันที่ 23 เมษายน 2568 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. เปิดเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่จังหวัดจัดการตนเอง” ครั้งที่ 1

ตำรวจท่องเที่ยวภูเก็ต กวาดจับไกด์เถื่อนต่างด้าว ลักลอบทำงานแย่งอาชีพคนไทย

ตำรวจท่องเที่ยวภูเก็ต เปิดเผยว่า ตามนโยบายของ พล.ต.ท.ศักย์ศิรา เผือกอ่ำ ผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ได้สั่งการให้กวดขัน จับกุม ป้องกันปราบปราม อาชญากรรมที่ส่งผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวและต่างด้าวลักลอบทำงานแย่งอาชีพคนไทย

"UN-Habitat" ชื่นชมไทย ขับเคลื่อนที่อยู่อาศัยเพื่อทุกคน – ดันเป็นเจ้าภาพ Habitat IV ปี 2026

รมว.พม. ต้อนรับรองเลขาฯ UN-Habitat ร่วมถกความร่วมมือระดับภูมิภาค พร้อมเปิดทางสู่การประชุมนานาชาติด้านเมืองและที่อยู่อาศัยในอนาคต

"วราวุธ" ผนึก พม.-ทส. เดินหน้า “กระเสียวโมเดล” แก้ปัญหาน้ำขาดแคลน หนุนเกษตรแปลงใหญ่ พัฒนานิคมสร้างตนเอง

วันที่ 21 เมษายน 2568 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดโครงการกระเสียวโมเดล :