แหล่งท่องเที่ยวไทย 3 แห่งได้รับเลือกให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน 100 แห่งของโลก ประจำปี 2022

โฆษกรัฐบาลเผย แหล่งท่องเที่ยวไทย 3 แห่ง 'เกาะหมาก-บ้านห้วยปูแกง -สาปยา' ได้รับเลือกให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน 100 แห่งของโลก ประจำปี 2022

14 ต.ค.2565- นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. ได้เข้าร่วมพิธีและรับมอบประกาศแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน 100 แห่งของโลก ประจำปี 2022 (Top 100 Destination Sustainability Stories 2022) ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ซึ่งจัดโดย Green Destinations Foundation หน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไรระดับโลกที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรด้านการท่องเที่ยวจากทั่วโลก ซึ่งในปี 2022 มีแหล่งท่องเที่ยวของไทยที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน 100 แห่งของโลก จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ เกาะหมาก จังหวัดตราด, บ้านห้วยปูแกง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวสาปยา จังหวัดชัยนาท

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ความสำเร็จของทั้ง 3 แหล่งท่องเที่ยวของไทย มาจากนโยบายของรัฐบาล ผ่านการทำงานของ อพท. ซึ่งได้พยายามผลักดันเกาะหมาก จังหวัดตราด ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ หรือ Low Carbon Destination แห่งแรกของไทยมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านการประสานความร่วมมือและการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนและหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและเอกชน นำไปสู่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและการวิจัยเรื่องการเพิ่มศักยภาพในการดูดซับและกักเก็บคาร์บอนผ่านธรรมชาติ ทั้งนี้ ในส่วนของ บ้านห้วยปูแกง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวสาปยา จังหวัดชัยนาท ได้ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism) มีการพัฒนาทักษะฝีมือให้แก่สมาชิกในชุมชนเรื่องการทำผลิตภัณฑ์ เพื่อนำมาวางจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว รวมถึงมีการส่งเสริมสภาวะแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อนักท่องเที่ยวและยกระดับคุณภาพชีวิตของสมาชิกในชุมชน ทั้งนี้ อพท. ได้เสนอชื่อแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าว เพื่อให้คณะกรรมการซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ด้านการท่องเที่ยวยั่งยืนจากทั่วโลกพิจารณาตามเกณฑ์สากล และ ได้จัดทำรายงานสถานะการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามเกณฑ์ของ Green Destinations Standard

“ความสำเร็จของการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเป็นผลมาจากการทำงานอย่างหนักของทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นไปตามวิสัยทัศน์ของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ต้องการผลักดันการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ การรับรางวัลลักษณะนี้ นอกจากจะเป็นการประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากลในไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติได้รู้จักกับจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ยังเป็นโอกาสประชาสัมพันธ์ในเวทีระหว่างประเทศว่าไทยให้ความสำคัญกับแนวคิดเพื่อรักษา และคงความสมดุลแก่สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นความท้าทายสำคัญที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ” นายอนุชา กล่าว

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"บ้านธรรมชาติล่าง" ร่วมมือ ร่วมคิด ร่วมทำ โมเดลต้นแบบเติบโตยั่งยืน

ด้วยต้นทุนทางธรรมชาติที่สวยงาม ประกอบกับชาวชุมชน "บ้านธรรมชาติล่าง" ต.คลองใหญ่ อ.แหลมงอบ จ.ตราด มองเห็นโอกาสของพื้นที่ตั้ง แม้จะเป็นชุมชนเล็กๆ ที่ล้อมรอบด้วยหุบเขาและอีกด้านติดทะเลอ่าวไทย

แกนนำรทสช. แนะ 'พิธา' ฟังเสียงปชช.ไปคิดวิเคราะห์ต่อ ปัดตอบแก้ ม. 272 ปิดสวิตช์สว.

แกนนำรทสช. แนะ 'พิธา' ฟังเสียงปชช.ไปคิดวิเคราะห์ต่อ หลังแพ้โหวตนายกฯ ย้ำถ้ายืนยันจะแก้ม.112 ก็ยังไม่เห็นด้วยเหมือนเดิม ปัดตอบแก้ ม. 272 ปิดสวิตช์สว.

รัฐบาลหนุนส่งเสริมการท่องเที่ยวควบคู่รักษามรดกทางวัฒนธรรม

อนุชาเผย นายกฯ ย้ำจุดยืนส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนควบคู่กับการรักษามรดกทางวัฒนธรรม ผ่านกรอบความร่วมมือกับยูเนสโก และส่งเสริมเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ตามเส้นทางสายน้ำแห่งอาเซียน

รทสช.เผยหลังประชุม 11 ก.ค.จะชัดเจนทั้งเรื่องชิงนายกฯ-การลงมติ

อนุชาเผย รทสช.ประชุมพรรค 11 ก.ค. ถกวาระสภา แนวทางลงมติ ไม่คอนเฟิร์มส่งชื่อชิงนายกฯ หรือไม่ ขอคุยกันก่อน ชี้ตั้งวิปประสานเป็นเรื่องปกติ

นายกฯ ยิ้ม FTA หลายฉบับคืบหน้าเป็นรูปธรรม!

โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ยินดีการเจรจาความตกลงการค้าเสรีหลายฉบับคืบหน้าเป็นรูปธรรม เชื่อมั่นไทยใช้ประโยชน์จาก FTA สนับสนุนโอกาสสินค้าไทยไปตลาดโลก ยกระดับมาตรฐานสินค้าสู่สากล

'บิ๊กตู่' ปลื้มอุตสหกรรมสมุนไพรไทยเติบโตทั้งตลาดภายในและนอกประเทศ

นายกฯ ยินดีอุตสาหกรรมสมุนไพรไทยเติบโตแข็งแกร่ง ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ พร้อมสนับสนุนความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันในระยะยาว