เสนอ'ภูพระบาท'ขึ้นมรดกโลกปี 67 ชูพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์

กรมศิลป์ MOU บูรณาการบริหารจัดการแหล่งมรดกวัฒนธรรมแบบต่อเนื่อง ‘ภูพระบาท-วัดพระพุทธบาทบัวบาน’ ร่วมกับกรมป่าไม้-จ.อุดรธานี-ท้องถิ่น ผลักดันสู่มรดกโลกภายในปี 2567

วันที่ 30 เม.ย.2565 –  ที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จ.อุดรธานี กรมศิลปากร(ศก.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการแหล่งมรดกวัฒนธรรมร่วมกับ จ.อุดรธานี กรมป่าไม้ อ.บ้านผือ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพาน และเทศบาลตำบลกลางใหญ่  

นายกองเอกปราโมทย์ ธัญญพืช รองผู้ว่าราชการอุดรธานีกล่าวว่า การลงนามความร่วมมือกับกรมศิลปากร ครั้งนี้ถือเป็นสร้างการมีส่วนร่วมผลักดันการขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทสู่มรดกโลก ซึ่งจะเกิดการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่แหล่งมรดกทางวัฒนธรรม อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท และแหล่งวัฒนธรรมสีมาวัดพระพุทธบาทบัวบาน ในการนำเสนอสู่บัญชีมรดกโลก โดยสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะประชาชนในท้องถิ่นไม่บุกรุกพื้นที่ป่าไม้ จัดการประชาสัมพันธ์เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและแหล่งธรรมชาติทั้งจังหวัดใกล้เคียงและจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศลาวที่มีวัฒนธรรมร่วมกัน เบื้องต้นกำหนดจัดแผนการท่องเที่ยวเชื่อมโยงการท่องเที่ยวช่วงการจัดมหกรรมพืชสวนโลกที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดงานที่ จ.อุดรธานี ปี 2569 

ด้าน นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากรอยู่ระหว่างการแปลเอกสารภาษาอังกฤษเสนอต่อยูเนสโก ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์นำเสนอเป็นแหล่งมรดกวัฒนธรรมแบบต่อเนื่องจำนวน 2 แหล่ง ประกอบด้วย อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท และแหล่งวัฒนธรรมสีมาวัดพระพุทธบาทบัวบาน รวมพื้นที่นำเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลก จำนวน 3,661 ไร่ 4 งาน 89 ตารางวา พื้นที่กันชน 3,742 ไร่ 1 งาน 15 ตารางวา ขอบเขตของแหล่งวัฒนธรรมทั้ง 2 แหล่ง อยู่ภายใต้เกณฑ์คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล ในเกณฑ์ข้อที่ 3 คือ วัฒนธรรมสีมาเป็นเอกลักษณ์ที่หายากยิ่ง ซึ่งปรากฎหลักฐานการใช้พื้นที่ของวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสานอย่างต่อเนื่อง และการใช้หลักสีมาในฐานะหลักหินศักดิ์สิทธิ์ เพื่อกำหนดพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนา และสืบเนื่องมาจนถึงในปัจจุบัน 

และเกณฑ์ข้อที่ 5 คืออุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท และแหล่งวัฒนธรรมสีมาวัดพระพุทธบาทบัวบาน เป็นตัวอย่างที่โดดเด่น ของการปรับใช้พื้นที่ทางธรรมชาติ ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ทั้งกลุ่มเพิงหิน และลานหิน การปักใบเสมาเพื่อกำหนดพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ และประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อทางพุทธศาสนา ซึ่งทั้งหมดยังคงความครบถ้วนสมบูรณ์และความเป็นของแท้ดั้งเดิมไว้ได้อย่างดีเยี่ยม

นายกิตติพันธ์ กล่าวว่า การแปลเอกสารนำเสนอเข้าสู่บัญชีรายชื่อมรดกโลก คาดว่า จะแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค.นี้ จากนั้นจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญามรดกโลก ซึ่งมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิจารณาก่อนนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) ผ่านความเห็นชอบ เพื่อเสนอต่อยูเนสโกเข้าสู่กระบวนการนำพิจารณารอบแรกในเดือน ก.ย.และรอบที่ 2 ในเดือน ธ.ค.ปี 2566 และจะมีการพิจารณาที่กรุงปารีสในเดือน มี.ค.ปี 2567 ซึ่งอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทถือเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ และศาสนสถานของผู้คนในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำโขง ด้วยความสำคัญของภูพระบาททั้งในด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และบูรณาภาพของภูมิทัศน์วัฒนธรรม จึงมั่นใจจะขึ้นมรดกโลกได้  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัญเชิญ12พระพุทธรูปมงคลให้สักการะสงกรานต์

13 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานพิธีเปิด “งานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย” (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) เนื่องในประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

สรงน้ำพระธาตุ-เทวดานพเคราะห์ เทศกาลสงกรานต์

เนื่องในเทศกาลสงกรานต์สงกรานต์ กรมศิลปากรขอเชิญพุทธศาสนิกชนและผู้สนใจร่วมกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 12-14 เมษายน 2567  เวลา 09.00-16.00 น. ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ประดับตกแต่ง'ขบวนเรือพระราชพิธี' มรดกวัฒนธรรมล้ำค่า

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมล้ำค่าของประเทศไทย กองทัพเรือได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคตามโบราณราชประเพณี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน

ส่งมอบเรือพระราชพิธี 16 ลำ ให้ศก.ประดับตกแต่ง

5 เม.ย. 2567 - เวลา 11.00 น. พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธี ส่งมอบการซ่อมทำเรือพระที่นั่งและเรือรูปสัตว์ จำนวน 16 ลำ ที่กองทัพเรือ ได้ดำเนินการเรียบร้อยให้แก่กรมศิลปากรเพื่อนำไปประดับตกแต่งตัวเรือ โดยมี

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์พร้อมเปิดปี 68

28 มี.ค.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากรอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการอนุรักษ์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซึ่งเป็

ขุดค้น'วัดจักรวรรดิ' พัฒนาย่านเมืองเก่า

วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร หรือนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า ‘วัดจักรวรรดิ’ เป็นวัดสำคัญกรุงรัตนโกสินทร์  มีอายุเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมชื่อวัดนางปลื้ม ต่อมาเรียกว่า วัดสามปลื้ม ขณะนี้มีความจำเป็นสำคัญเร่งด่วนในการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีวัดจักรวรรดิฯ