สวธ.จับมือจิสด้าประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศ สร้างแผนที่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

การรับรู้และเข้าใจถึงที่มาของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการต่อยอดอนุรักษ์ รักษา  และซึ่งการเข้าถึงข้อมูลทางวัฒนธรรมจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญ  ซึ่งเชื่อว่าประเทศไทย ยังมีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ยังต้องสำรวจค้นหาอีกมาก ด้วยเหตุนี้ ทางกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม จึงได้ร่วมมือกับ สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) สทอภ. หรือ GISTDA ทำ MOU “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเชิงพื้นที่” เพื่อการพัฒนา ฟื้นฟู สืบสาน และต่อยอดในอนาคต

ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการนำข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมของประเทศที่มีอยู่จำนวนมาก มาบริหารจัดการด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ในหลายมิติ ทั้งมิติการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพอันเป็นเหตุปัจจัยให้มรดกภูมิปัญญาฯ มีความเสี่ยงใกล้สูญหาย หรือยังคงปฏิบัติอยู่อย่างแพร่หลาย และมิติของพื้นที่ทั้งแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม พื้นที่ปฏิบัติของมรดกภูมิปัญญาณฯ รวมถึงมิติของความยั่งยืนบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม เช่น การใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมที่เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ มาเป็นฐานข้อมูลในการออกแบบ หรือ วางแผนพัฒนา ฟื้นฟู รักษาและต่อยอด

 ปลัดวธ. พร้อมคณะดูการจัดทำแผนที่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

ลิปิการ์ กำลังชัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวเสริมว่า เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย และตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ โดยที่ผ่านมามีการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง และในปีงบประมาณที่ผ่านมา สวธ.ได้ริเริ่มดำเนินการรวบรวมและจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่ภูมิศาสตร์ เพื่อให้ข้อมูลเชิงพื้นที่มีจำนวนมากและกระจัดกระจายให้เป็นระบบ สามารถมองเห็นมิติของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ่านข้อมูลแผนที่ เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น

“โดยเป็นการประยุกต์ใช้ศาสตร์สารสนเทศที่เน้นการบูรณาการเทคโนโลยีทางด้านการสำรวจ การทำแผนที่ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เข้าด้วยกันซึ่งทางสวธ.จะดำเนินการสนับสนุนข้อมูลด้านวิชาการ เช่น ข้อมูลสารัตถะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รวบรวมไว้ และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ สวธ. และสามารถเผยแพร่ได้ให้แก่ สทอภ. ด้วยการเชื่อมต่อข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตามที่เห็นชอบร่วมกัน  และเป็นกลไกบริหารจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเชิงพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ ผ่านฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อแสดงลักษณะของพื้นที่ที่มีมรดกภูมิปัญญาฯ ของแต่ละชุมชน ท้องถิ่น ภูมิภาคในรูปแบบต่างๆ โดยมีเป้าหมายให้ชุมชนและภาคส่วนสามารถดำเนินงานร่วมกันอย่างมีส่วนร่วมได้  ลิปิการ์ กล่าว

ตัวอย่างแผนที่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

กานดาศรี ลิมปาคม รองผู้อำนวยการ สทอภ. กล่าวว่า จากข้อมูลเกี่ยวมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ทางสวธ. มีของแต่ละภูมิภาคต่างๆ ทั้ง 6 ด้าน  ซึ่งมีทั้งจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ได้แก่ 1.  วรรณกรรมพื้นบ้าน และภาษา 2. ศิลปะการแสดง 3. แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล 4. ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล 5. งานช่างฝีมือดั้งเดิม 6. การเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เป็นต้น ซึ่งบางอย่างก็อาจจะกำลังใกล้สูญหายไปจากสังคมไทย

รองผอ.สทอภ.กล่าวต่อว่า การร่วมมือดังกล่าว นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของทั้งสองฝ่ายที่จะได้ทำงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ  ผ่านการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยอาศัยระบบเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ บนแผนที่ฐานภาพถ่ายจากดาวเทียมไทยโชติ เป็นเครื่องมือช่วยวิเคราะห์ตำแหน่งของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ แสดงผลบนแผนที่ประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถสำรวจเชิงผลกระทบทางพื้นที่ที่อาจจะส่งผลต่อการสูญหาย   เบื้องต้นมีการปักโลเคชั่นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแล้วกว่า 300 รายการ จากข้อมูลรวมทั้งหมด 980 รายการ จำนวน 4,185 ตำแหน่ง โดยจะสามารถเข้าดูข้อมูลได้ผ่าน Web Application ของทาง สทอภ. หากมีการค้นหาก็จะพบกับที่มา ความสำคัญ และที่ตั้งของภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมนั้นๆ  

การแสดงผลโลเคชั่นมรดกทางวัฒนธรรม บนแผนที่ประเทศไทย

“ทั้งนี้จะเป็นประโยชน์และสามารถต่อยอดขยายผลต่อไป อาทิ ด้านวัฒนธรรม สุวรรณภูมิ และอารยธรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การเฝ้าระวังภัยที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการคงอยู่ของวัฒนธรรม การส่งเสริมและเผยแพร่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศให้กับบุคลากรของสวธ. และการถ่ายทอดเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ไปยังหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีภารกิจเกี่ยวข้อง  อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน ชุมชนเจ้าของวัฒนธรรมและผู้ที่เกี่ยวข้องจะได้ร่วมชื่นชมช่วยกันอนุรักษ์ ต่อยอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สืบไปยังคนรุ่นหลัง”  รองผู้อำนวยการ สทอภ. ทิ้งท้าย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วธ.จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติฯ

25 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า เนื่องในโอกาสคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร 29 เมษายน นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าจะได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมห

ชวนชิม 10 เมนูอาหารถิ่น หากินยาก

เหลือเวลาอีก 2 วันที่จะได้ชิม ช้อป เมนูอาหารถิ่นในงาน "ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์" งานนี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดเมนูอาหารหาทานยาก ภายใต้โครงการ "1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น

ประกวดการแสดงดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค เทิดพระเกียรติกรมสมเด็จพระเทพฯ องค์วิศิษฏศิลปิน

กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.) จัดการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ถ้วยพระราชทานสมเด็จพ

เที่ยวงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี ชิล ชิม ช้อป ครบครัน

24 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม  กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับหน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายวัฒนธรรมกว่า 20 หน่วยงาน จัดงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่างวันที่ 19 - 25 เมษายน 2567 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

เที่ยวมิวเซียม ยลวัง ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์242ปี

เปิดงาน”ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” อย่างยิ่งใหญ่และอลังการ ร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองวาระครบ 242 ปีของการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์  งานนี้ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)

บำเพ็ญกุศลอุทิศถวายบูรพกษัตริย์ งาน242ปี กรุงรัตนโกสินทร์

21 เม.ย.2567 - เวลา 07.00 น. พระเทพวชิรโมลี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช