ด้อยค่าสถาบันฟัง ปชช.ร้อยละ 98 เรียกร้องให้เคารพศรัทธาของผู้อื่นที่มีต่อจารีตประเพณี


30 ต.ค.2564 - นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) มูลนิธิ สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ ร่วมกับ นางจุฬารัตน์ นิรัติศยกุล นักวิชาการอิสระด้านการพัฒนายั่งยืน เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ขบวนการทำลายศรัทธาผู้อื่น กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,032 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 27 - 30 ตุลาคม 2564 พบว่า

ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.0 ระบุขบวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องการเปลี่ยนแปลง ควรให้เกียรติ เคารพความรัก ความศรัทธาของผู้อื่นที่มีต่อ จารีตประเพณี สถาบันต่าง ๆ ของผู้อื่น เช่น ความรักศรัทธา เทิดทูนสถาบันหลักของชาติ และกรณี ขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวของจุฬาลงกรณ์ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 97.8 ระบุ ขบวนการที่ต้องการเปลี่ยนแปลงแบบทำลายความรักความศรัทธาและคุกคามข่มขืนจิตใจผู้อื่น เป็นขบวนการมุ่งทำลายมากกว่า สร้างสรรค์ความสงบสุขเรียบร้อยในสังคม และร้อยละ 95.1 ระบุ ขบวนการเคลื่อนไหวให้คนเท่ากัน แต่ทำลายประเพณี ทำลายคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เป็นแค่การหลอกลวงเพื่อทำให้ตนเองและพรรคพวกขึ้นมีอำนาจอยู่เหนือผู้อื่นเสียเอง

ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.9 เห็นด้วยว่า คนเราจะเท่ากัน ต้องเคารพในความเห็นที่ต่างกัน ไม่เป็นเหตุ เปลี่ยนแปลงไปสู่ความแตกแยก ขัดแย้งรุนแรงบานปลาย ในขณะที่เพียงร้อยละ 4.1 เห็นด้วยน้อยถึงไม่เห็นด้วยเลย นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.3 เห็นด้วยว่า คุณค่าความเป็นไทย ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีเป็นสิ่งที่มีคุณค่ารักษาให้อยู่ร่วมสมัยได้ในทุกยุค เป็นคุณค่าทางจิตใจและเสริมสร้างการมีส่วนร่วม หนุนใจ หนุนพลังต่อกันของคนในสังคม ในขณะที่ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.5 เห็นด้วยว่า ขบวนการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ควรนำวัฒนธรรมและประเพณีไทย ผสมผสานและเข้ากับการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสู่ความสงบสุขเรียบร้อยของบ้านเมืองและประชาชน

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า จากผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า ขบวนการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่จะทำให้คนจะเท่ากันต้องเริ่มจากการเคารพและยอมรับความเห็นที่แตกต่างของกันและกัน ถ้าจริงใจต้องทำสิ่งที่ทำให้เกิดการชวนกันทำสร้างสรรค์ไม่ใช่ชวนทะเลาะและนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย เพราะ ความหมายหรือสิ่งที่นึกถึงคำว่า “คนเท่ากัน” ของแต่ละคนไม่เหมือนกันและไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทั้งหมด การเคลื่อนไหวของขบวนการเปลี่ยนแปลงต้องไม่นำไปสู่ความแตกแยกของคนในชาติเป็นขบวนการทำลายศรัทธาผู้อื่น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ซูเปอร์โพล' ชี้ประชาชนพอใจให้โอกาส 'เศรษฐา' บริหารประเทศให้อยู่ครบวาระ

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง ประเมินผลงานรัฐบาล 6 เดือน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศอายุ 18 ปีขึ้นไป

ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจความคิดเห็น 'เงินถูกโจรกรรม ใครต้องรับผิด'

นายนพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพลและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยจอร์ชทาวน์ วอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกาด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการจัดการความเสี่ยง

ประชาชนหนุน 'ชาดา' สส.คนกล้าอภิปรายปกป้องสถาบัน เชื่อมีเครือข่ายในสภาฯชักใยกลุ่มทะลุวัง

สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง ส.ส.คนกล้า ในสภาอันทรงเกียรติ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศอายุ 18 ปีขึ้นไป ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ

ซูเปอร์โพล ระบุ คนไทยเกือบ 27 ล้านคน ชี้การเงินในกระเป๋าของตนเองอยู่ในขั้นวิกฤต

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง จำนวนคนไทย ใน วิกฤตการเงิน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ