
กสม.ประสานอัยการสูงสุดขอให้ใช้ดุลพินิจสั่งไม่ฟ้องลูกจ้างหญิงที่ออกมาประท้วงกรณีถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่มาประท้วงหน้าทำเนียบฯ เมื่อวันที่ 19 ต.ค.2564
07 ก.ค.2565 - คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ และ น.ส.ศยามล ไกยูรวงศ์ แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ว่าตามที่สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทยและเครือข่ายแรงงานเพื่อประชาชนได้ร้องเรียนต่อ กสม.ระบุว่า เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564 ลูกจ้างหญิงของบริษัทแห่งหนึ่งซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตชุดชั้นในให้กับแบรนด์สินค้ามีชื่อเสียงยี่ห้อหนึ่ง จำนวน 300 คน ได้ชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาลเพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐช่วยเหลือกรณีนายจ้างปิดกิจการและเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างและเงินอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานให้แก่ลูกจ้างจำนวน 1,388 คน ต่อมาสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งได้แจ้งข้อกล่าวหากับผู้ร่วมชุมนุม จำนวน 6 คน ในข้อหาฝ่าฝืนข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2548) ทั้งที่การชุมนุมดังกล่าวเป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ มีการสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกคน ชุมนุมในสถานที่เปิดโล่ง รวมทั้งไม่ปรากฏว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงขอให้ยุติการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ร่วมชุมนุมทั้ง 6 คน
กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีดังกล่าวเกี่ยวกับสิทธิแรงงานและสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งได้รับการรับรองและคุ้มครองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แต่เนื่องจากเห็นว่าการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าวทำได้ด้วยวิธีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้ส่งเรื่องไปยังกระทรวงแรงงาน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบตามหน้าที่และอำนาจ และแจ้งไปยังสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง เพื่อขอให้ยุติการดำเนินคดี ซึ่งต่อมาได้รับแจ้งว่าพนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนการสอบสวนพร้อมความเห็นไปยังพนักงานอัยการแล้วนั้น
จากการประสานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้รับทราบว่า ผลจากการเรียกร้องและให้ความช่วยเหลือโดยองค์กรด้านสิทธิแรงงานระหว่างประเทศ แบรนด์ชุดชั้นในยี่ห้อดังได้มอบเงินให้แก่บริษัทเอกชนผู้บอกเลิกจ้างแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 โดยบริษัทเอกชนผู้บอกเลิกจ้างได้นำเงินจำนวนประมาณ 285.2 ล้านบาท ไปจ่ายเป็นค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการของนายจ้างเป็นที่เรียบร้อย ประกอบกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบตามสมควรแก่กรณีแล้ว ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม กสม. จึงเห็นชอบรายงานผลการประสานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม กสม. เห็นว่า กรณีการดำเนินคดีกับผู้แทนเครือข่ายสหภาพแรงงานและประชาชนที่ร่วมชุมนุมเมื่อวันที่ 19 ต.ค.รวม 6 คน ในข้อหาฝ่าฝืนข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน 2548 ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของพนักงานอัยการ เป็นกรณีเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่ง กสม. ได้เคยมีข้อเสนอแนะเมื่อเดือน มี.ค. 2564 กรณีผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ระลอกใหม่ ต่อศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และมีรายงานผลการตรวจสอบเมื่อเดือน ธ.ค. 2564 โดยมีความเห็นและข้อเสนอแนะว่า การบังคับใช้กฎหมายที่เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในสถานการณ์ดังกล่าวควรกระทำอย่างระมัดระวังเท่าที่จำเป็น และการดำเนินคดีกับแกนนำหรือผู้ชุมนุมอันสืบเนื่องมาจากการใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมและการแสดงออกทางการเมืองต้องคำนึงถึงความได้สัดส่วนและความจำเป็นตามแต่ละกรณี โดยควรหลีกเลี่ยงการตั้งข้อหาหรือฐานความผิดที่เป็นการจำกัดหรือสร้างภาระแก่ผู้ใช้สิทธิและเสรีภาพดังกล่าวเกินสมควรแก่เหตุ
ด้วยเหตุนี้ กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2565 จึงมีมติให้ประสานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไปยังอัยการสูงสุดเพื่อขอให้พิจารณาใช้ดุลพินิจในการสั่งไม่ฟ้องหรือถอนฟ้องในคดีอาญากรณีผู้แทนเครือข่ายสหภาพแรงงานและประชาชนที่ร่วมชุมนุมเมื่อวันที่ 19 ต.ค.2564 ข้างต้น หากเห็นว่าเป็นการฟ้องคดีที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการสั่งคดีอาญาที่จะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัย หรือความมั่นคงของชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.2565 กสม. และสำนักงานอัยการสูงสุดได้จัดทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความร่วมมือกันในการส่งเสริม คุ้มครองสิทธิมนุษยชน และให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่เป็นธรรมและการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'บิ๊กตู่'ใช้รถยนต์ส่วนตัวเข้าทำงานทำเนียบฯ ก่อนลาช่วงบ่ายไป รทสช.
'บิ๊กตู่' ใช้รถยนต์ส่วนตัวเข้าทำเนียบรัฐบาล ก่อนช่วงบ่ายลางานกเพื่อเข้าพรรค รทสช.นำถกคระกรรมการยุทธศาสตร์พรรค
เปิดวาระประชุม 'ครม.รักษาการ' นัดแรก 21 มี.ค.
ภายหลังจากที่มีการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาแล้ว การประชุมคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 21 มี.ค.66 นี้ ยังคงมีการประชุมตามปกติในเวลา 09.00 น. ที่ตึกสันติไมตรีทำเนียบรัฐบาล ถึงแม้จะเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่าเป็นการประชุมครม.
ภารกิจ ‘บิ๊กตู่’ 20 มี.ค. นั่งทำงานที่ทำเนียบฯทั้งวัน งดเบิร์ดเดย์ 21 มี.ค.
20 มี.ค. “บิ๊กตู่” นั่งทำงานทำเนียบฯทั้งวัน ส่วนเบิร์ดเดย์ 21 มี.ค. งดยกคณะเข้าอวยพร หวั่นระเบียบ กกต.
'วิษณุ' เชิญ กกต.เข้าพบ 20 มี.ค. ถกข้อห้ามสำหรับข้าราชการ หลังยุบสภามีผลบังคับใช้
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในวันที่ 20 มีนาคมนี้ จะเชิญคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มาพบที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อหารือประเด็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติตามกฎหมายสำหรับข้าราชการ
กสม.ชวนสังคมอย่าเพิกเฉยเรื่องผัว-เมียทะเลาะกัน!
กสม.ชี้กรณีหญิงถูกสามีทำร้ายร่างกาย จุดไฟเผาและแทงจนเสียชีวิต สะท้อนปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เรียกร้องสังคมร่วมดูแล เข้าช่วยเหลือเมื่อพบเหตุ
กสม.ชี้เอกชนตรวจเชื้อเอชไอวีก่อนรับเข้าทำงานเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน!
กสม. ตรวจสอบปมบริษัทเอกชนกำหนดเงื่อนไขให้ผู้สมัครงานตรวจหาเชื้อเอชไอวีก่อนรับเข้าทำงานและปฏิเสธไม่รับเข้าทำงาน ถือเป็นการละเมิดสิทธิฯ สถานพยาบาลที่รับตรวจและแจ้งผลละเมิดด้วย