
ศาลชั้นต้น ตัดสินรอลงอาญาในช่วง 5 ปีนี้รวมกันราว 450 คดี หรือราว 1 ใน 3 ของคดีที่ขึ้นสู่ศาล ล่าสุดคือคดีที่คนผิดกระทำซ้ำแล้วซ้ำอีกจนโดนโทษจำคุกรวมกันถึง 8 ปี ยังได้รอลงอาญา
23 ส.ค.2565- ดร. มานะ นิมิตมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง ข้อสังเกต ในการดำเนินคดีคดีคอร์รัปชัน จุดอ่อนอยู่ตรงไหน?
ไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่องถูกต้องตามครรลองหรือไม่ แต่จากการศึกษาพบว่าหลายปีมานี้ การดำเนินคดีคอร์รัปชันที่ผ่านมือ ป.ป.ช. ไปแล้ว มีหลายอย่างที่ทำให้คดีล่าช้าหรือทำให้คนผิดลอยนวลหรือได้รับโทษน้อยเกินสมควร ทั้งๆ ที่การไล่ล่าคนโกงเป็นภาระที่ยุ่งยาก สิ้นเปลือง เนิ่นนาน เสี่ยงอันตราย
ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตเพื่อให้มีการศึกษาในกรณีต่อไปนี้
- สำนักงานอัยการสูงสุด สามารถสั่งฟ้องคดีล่าช้าเกินกว่า 180 วันตามที่กำหนดในกฎหมาย ป.ป.ช. เช่น คดีฟุตซอล
- สำนักงานอัยการสูงสุด สั่งไม่ฟ้องคดีกว่า 80 คดี ที่ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด ทำให้ ป.ป.ช. ต้องยื่นฟ้องต่อศาลเองและเป็นฝ่ายชนะคดีกว่าร้อยละ 70 ข้อมูลสำคัญนี้ชี้ให้เห็นว่า หาก ป.ป.ช. มักง่ายปล่อยตามเลย คนผิดจะลอยนวลแล้วกลายเป็นไอดอลของเหล่าคนโกง บ้านเมืองก็จะเต็มไปด้วยความอยุติธรรม
- ศาลชั้นต้น ตัดสินรอลงอาญาในช่วง 5 ปีนี้รวมกันราว 450 คดี หรือราว 1 ใน 3 ของคดีที่ขึ้นสู่ศาล ล่าสุดคือคดีที่คนผิดกระทำซ้ำแล้วซ้ำอีกจนโดนโทษจำคุกรวมกันถึง 8 ปี ยังได้รอลงอาญา ซึ่งต่างจากอดีตที่ผู้เขียนจำได้ว่าศาลมักสั่งรอลงอาญาเพียงความผิดเกี่ยวกับการยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. และผู้กระทำผิดยอมรับสารภาพ
- นักโทษคดีโกง ติดคุกแล้วได้รับลดหย่อนโทษมากและเร็วเกินไป ล่าสุดคนที่ศาลสั่งจำคุก 50 กว่าปี เอาเข้าจริงติดแค่ 8 ปีดูเหมือนว่ากรมราชทัณฑ์ก็จะให้ออกจากคุกแล้ว
เห็นได้ว่า กระบวนการยุติธรรมและกฎหมายยังมีช่องโหว่อยู่มาก แต่ละองค์กรที่เกี่ยวข้องต่างแสดงบทบาทในทิศทางของตนเอง
ทางออกที่ดี ผู้เกี่ยวข้องควรมาปรึกษากันด้วยความรับผิดชอบต่อบ้านเมืองให้ชัดเจนว่า ในเมื่อคอร์รัปชันเป็นอาชญากรรมร้ายแรงต่อบ้านเมืองและประชาชน แต่ละองค์กรจะใช้อำนาจอย่างไรและทุกฝ่ายควรร่วมมือกันอย่างไร เพื่อปกป้องบ้านเมืองให้สงบสุข ก้าวหน้า แผ่นดินสูงขึ้น
ท้ายนี้ ขอแสดงความชื่นชมต่อ ป.ป.ช. ที่กล้ายื่นฟ้องคดีนักการเมืองใหญ่จากจังหวัดสงขลา ต่อศาลคอร์รัปชันกลาง (กรุงเทพฯ) แทนที่จะเป็นศาลคอร์รัปชันภาค 9 จังหวัดสงขลาพื้นที่เกิดเหตุ นับเป็นการยืนหยัดสู้แบบพลิกทุกตำรา และนี่อาจเป็นคดีแรกที่มีการฟ้องนอกเขตอำนาจศาลคดีคอร์รัปชัน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ป.ป.ช. เปิดยื่นบัญชีทรัพย์สินออนไลน์ ตั้งแต่ 1 เม.ย.
นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. เปิดเผยว่า สำนักงาน ป.ป.ช.
บุก ป.ป.ช. บี้สอบเอาผิด 'ผู้ว่าการ กปภ.'
นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางไปยื่นคำร้องต่อ ป.ป.ช. เพื่อขอให้ไต่สวนและวินิจฉัยเอาผิดผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.)
ป.ป.ช.สอน 'ชูวิทย์' ไล่เรียงตั้งแต่ที่มาจนถึงการทำงานและทำหน้าที่
เลขาฯ ป.ป.ช. แจง ปมชูวิทย์คุ้ยคุณสมบัติกรรมการ ป.ป.ช. ยันถูกต้อง ดูคดีการเมืองเป็นการสุ่มเลือก ไม่ได้เจาะจงใคร
'วราวุธ' ค้าน ครม.ถกปมรถไฟฟ้าสายสีส้ม เหตุ คดียังอยู่ในศาลปค.-ปปช. ผวา ผิดกฎหมายยกคณะ
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าจะมีการนำโครงการ
‘ชูวิทย์’ ยื่นป.ป.ช.สอบ 4 ปมทุจริตโยง ‘ศักดิ์สยาม-ภท.’ ขึงขังจองกฐิน ’เศรษฐา’
‘ชูวิทย์’ ยื่น ป.ป.ช.ตรวจสอบ 4 ปมทุจริตโยง ‘ศักดิ์สยาม-ภท.’ ประกาศจองกฐิน ‘เศรษฐา’ ถ้าเป็นนักการเมืองไร้อุดมการณ์ ขู่มีหลักฐานหมดแล้ว
ร้อง 'บิ๊กตู่-ครม.' ตรวจสอบสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียว หลัง ป.ป.ช.จ่อฟัน 13 รายรวด
“เรืองไกร” ร้อง “บิ๊กตู่-ครม.” ตรวจสอบสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว หลัง ป.ป.ช.มีมติแจ้งข้อกล่าวหาจำนวน 13 ราย “สุขุมพันธุ์-คีรี” ร่วมด้วย