'กองหนุน' วิเคราะห์ตามกฎหมาย ฟันธง 'ลุงตู่' มีสิทธิ์รอดสูงมาก

'ดร.นิว'วิเคราะห์ตามกฎหมาย ฟันธง'ลุงตู่'มีสิทธิ์รอดสูงมาก ชี้ นายกรัฐมนตรีตามบทหลักของรธน. 60 เกี่ยวข้องกับ ม.159 ที่ ส.ส. เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกฯ

30ก.ย.2565-ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ “ดร.นิว” นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์เฟซบุ๊กมีเนื้อหาดังนี้

วิเคราะห์ตามกฎหมาย ลุงตู่มีสิทธิ์รอดสูงมาก

จุดตั้งต้นของปมปัญหาการนับระยะเวลาแปดปีของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ อยู่ที่ ม.๑๕๘ ในวรรคที่สี่

"นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง"

โดยฝ่ายที่ออกมายืนกระต่ายขาเดียวว่าต้องเริ่มนับที่ปี ๕๗ จะก็อ้างแต่เฉพาะวรรคที่สี่นี้เท่านั้น โดยละทิ้งความสำคัญของวรรคอื่นๆ ไปเสียหมด ซึ่งนับได้ว่าเป็นการเลือกตีความกฎหมายที่ดูตลกมาก

ทั้งๆ ที่ ม.๑๕๘ ในวรรคที่สอง ยังได้ระบุข้อความสำคัญซึ่งควรต้องนำมาประกอบการพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง "นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบตามมาตรา ๑๕๙"

กระนั้นย่อมหมายความว่า นายกรัฐมนตรีตามบทหลักของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ย่อมต้องเกี่ยวข้องกับ ม.๑๕๙ ที่ ส.ส. เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีอีกด้วย

นอกจาก ม.๑๕๘ ก็ยังมี ม.๒๖๔ ซึ่งเป็นบทเฉพาะกาลที่ได้ถูกนำมาพิจารณาร่วมด้วย "ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้..."
โดยวรรคนี้นี่เองที่บรรดานักกฎหมายทั้งหลาย ซึ่งทำตัวไม่ต่างจากตัวตลก ได้ยกมาอ้างอิงแบบลอยๆ จนกลายเป็นความตลกแบบซ้ำๆ ซากๆ เพราะไม่ได้คำนึงถึง "ความมุ่งหมาย" และ "คำอธิบายประกอบ"

เมื่อพิจารณาจากทั้ง "ความมุ่งหมาย" และ "คำอธิบายประกอบ" ของ ม.๒๖๔ ก็จะพบว่าเป็นไปเพื่อความต่อเนื่องในการบริหารราชการแผ่นดิน อีกทั้งตอกย้ำที่มาของคณะรัฐมนตรีดังกล่าว แตกต่างจากบทหลักของรัฐธรรมนูญนี้
ตลอดจนใน "คำอธิบายประกอบ" ของ ม.๒๖๔ ก็ยังได้เจาะจงเรียกรัฐมนตรีกลุ่มนี้ไว้อย่างชัดเจนอีกด้วยว่าเป็น "รัฐมนตรีในช่วงเปลี่ยนผ่าน" ชี้ให้เห็นว่านายกรัฐมนตรีในขณะนั้นก็เป็น "นายกรัฐมนตรีในช่วงเปลี่ยนผ่าน" เช่นกัน
ด้วยเหตุผลทั้งหมดในข้างต้น พร้อมกับการที่รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ เริ่มประกาศใช้เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐ การนับระยะเวลาแปดปีย้อนหลังแบบลากยาวไปจนถึงปี ๕๗ จึงนับเป็นเรื่องเหลวไหลที่ดูตลกสิ้นดี

เพราะฉะนั้น จุดตัดที่แท้จริงของปมปัญหาการนับระยะเวลาแปดปีของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงอยู่ระหว่างการเริ่มนับที่ปี ๖๐ หรือ ๖๒ ขึ้นกับนิยามของคำว่า "นายกรัฐมนตรี" ตามที่ปรากฏอยู่ใน ม.๑๕๘
ขึ้นอยู่กับนิยามความหมายของคำว่า "นายกรัฐมนตรี" ใน ม.๑๕๘ มีความหมายเจาะจงว่าเป็น "นายกรัฐมนตรีตามบทหลักของรัฐธรรมนูญนี้" เท่านั้น หรือกินความรวมไปถึง "นายกรัฐมนตรีในช่วงเปลี่ยนผ่าน" ด้วย

ดังนั้น ถ้า "นายกรัฐมนตรี" ใน ม.๑๕๘ มีความหมายอย่างกว้างรวมถึง "นายกรัฐมนตรีในช่วงเปลี่ยนผ่าน" ด้วย ก็จะเริ่มนับที่ปี ๖๐ โดยนับจากวันแรกที่รัฐธรรมนูญมีการประกาศใช้ ซึ่งก็คือ ๖ เมษายน ๒๕๖๐

แต่หากถ้า "นายกรัฐมนตรี" ใน ม.๑๕๘ มีความหมายอย่างแคบเฉพาะ "นายกรัฐมนตรีตามบทหลักของรัฐธรรมนูญนี้" ก็จะเริ่มนับที่ปี ๖๒ หรือ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๒ ตามที่มีประกาศแต่งตั้ง "เป็นนายกรัฐมนตรี ตามความในมาตรา ๑๕๘" ซึ่งนับได้ว่าเป็น "นายกรัฐมนตรีตามบทหลักของรัฐธรรมนูญนี้" โดยสมบูรณ์

ท้ายที่สุด แม้ลุงตู่จะได้กลับมา แต่สิ่งที่สำคัญมากไปกว่านั้น และสำคัญมากที่สุด คือ นโยบายของลุงตู่หลังจากนี้ไปต่างหาก ซึ่งควรเป็นไปเพื่อนำพาประชาชนไปสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริงอย่างสันติ เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทยทั้งแผ่นดิน

อันจะนำมาซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้องและมีความเป็นธรรม ปรากฏหัวใจของประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง และมีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มั่นคง เป็นหลักชัยของประเทศชาติและประชาชนตลอดไป

ดร.ศุภณัฐ
๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕
#ประชาธิปไตยTheseries by ดร.ศุภณัฐ
__________
แนวทางในการวินิจฉัยปมปัญหาการนับระยะเวลาแปดปีของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
https://www.facebook.com/100001579425464/posts/5620599141336011/

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดร.นิว' เห็น 'ธนาธร' ชี้นำการเลือกส.ว. ทำให้นึกถึงหัวหน้าปรสิตใน Parasyte:The Grey

ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

'ดร.นิว' กระตุกอธิการบดีจุฬาฯกอบกู้เกียรติภูมิ หลังปล่อยวิทยานิพนธ์ชี้นำความคิดล้มล้างฯ

ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก

ไหนว่าคนเท่ากัน 'ดร.นิว' ถามหา 'ชนชั้นนำสามนิ้ว' อดข้าวเป็นเพื่อน 'ตะวัน'

ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

'ดร.นิว' ฟาด 'ดร.ป๊อก' สร้างตรรกะอุบาทว์ ทำตัวเป็นผู้อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ

ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า

'ดร.นิว' ชำแหละ 'ก้าวไกล' มุ่งกำจัดสิทธิเสรีภาพปชช.ในการปกป้องสถาบัน

ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อ พรรคก้าวไกลกำจัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน มีเนื้่อหาดังนี้

ฟาด 'ปิยบุตร' ทำตัวเป็นเผด็จการไม่ต่างจาก 'รอแบ็สปีแยร์'

ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า