ชำแหละวีรกรรมปฏิรูปสถาบันของ '3 นิ้ว' ทำไมถึงเท่ากับล้มล้าง!

12 พ.ย. 2564 – รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า “ปฏิรูปไม่เท่ากับล้มล้าง”

“ถ้าปฏิรูปคือการล้มล้าง แล้วรัฐประหารคืออะไร”

การปฏิรูปก็คือความเหมาะสม คือการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมหรือเพื่อทำให้ดีขึ้น จะค่อยเป็นค่อยไป หรือจะทำอย่างรวดเร็วก็ได้

การล้มล้างคือการทำลาย การล้มล้างไม่จำเป็นต้องใช้กำลังก็เรียกว่าเป็นการล้มล้างได้

รัฐประหารคือการใช้กำลัง หรือบีบบังคับเพื่อยึดอำนาจ ส่วนใหญ่จะหมายถึงยึดอำนาจการปกครองของรัฐบาลที่ครองอำนาจอยู่

ไม่มีใครบอกว่า การปฏิรูปเท่ากับการล้มล้าง และไม่ใช่ศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่รู้ว่า ปฏิรูปไม่เท่ากับล้มล้าง แต่เป็นพวกที่เคลื่อนไหวกันในขณะนี้ รวมทั้งสาวก และแนวร่วม ที่ออกมาประสานเสียงกันว่า ปฏิรูปไม่เท่ากับล้มล้างนั่นแหละที่ไม่รู้ว่าการปฏิรูปแตกต่างกับการล้มล้างอย่างไร

คำพูดที่บอกว่าไม่ใช่เป็นการล้มล้างไม่อาจบ่งบอกความจริงได้ แต่การกระทำต่างหากจึงจะบอกได้ เพราะกรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา ตลอดเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมา ลองมองย้อนกลับไปดูการกระทำและการแสดงออกของกลุ่มคนกลุ่มนี้ว่าพวกเขาทำอะไรกันบ้าง การแสดงออกในทางเหยียบย่ำ หมิ่นแคลน ข่มขู่ เช่นการโจมตีด้วยถ้อยคำหยาบคาย การเผาพระบรมฉายาลักษณ์ สาดสีใส่พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งของสมเด็จพระพันปีหลวงและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ใช้กิโยตินเป็นสัญญลักษณ์ข่มขู่ ทั้งในการชุมนุม และใน social media ทำทุกวิถีทางผ่านสื่อที่เป็นพวกเดียวกันสร้างและเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นลบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อสร้างความเกลียดชังให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน ทำให้คนเชื่อว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ขัดขวางความเจริญของประเทศ เน้นย้ำเสมอว่าทุกคนในประเทศนี้ต้องเท่าเทียมกันทั้งหมด ไม่มีใครควรอยู่สูงกว่าใคร ตลอดจนแสดงความต้องการให้ประเทศเป็นแบบสาธารณรัฐในหลายโอกาส

หากต้องการเพียงการปฏิรูปจริง จำเป็นต้องทำกันถึงขนาดนี้หรือ

การกระทำเหล่านี้จึงบ่งบอกว่า พวกเขาไม่ต้องการให้มีสถาบันพระมหากษัตริย์อีกต่อไป สังคมที่ดีกว่าของพวกเขาก็คือสังคมที่ไม่มีพระมหากษัตริย์ นี่คือเจตนาของการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างแจ้งชัด เพียงแต่พวกเขาหลับหูหลับตาเรียกมันว่า “ปฏิรูป” เท่านั้นเอง

แน่นอนว่าศาลรัฐธรรมนูญมิได้พิจารณาเพียงข้อเรียกร้องที่พวกเขาเรียกว่า เป็นการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ซึ่งหากปฏิรูปทั้ง 10 ข้อ แม้ไม่เรียกว่าล้มล้าง แต่ก็เสมือนหนึ่งล้มล้าง แต่ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาภาพรวมทั้งหมด ซึ่งหมายพฤติกรรมของทั้ง 3 คน รวมถึงผลกระทบที่เกิดตามมาหลังจากวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ด้วย

รัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่ง ให้ความคุ้มครอง การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งมี 2 ส่วนคือ การปกครองระบอบประชาธิปไตย และการมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การคิดทำลายส่วนหนึ่งส่วนใดใน 2 ส่วนนี้ ย่อมถือว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรานี้

จะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะถูกใจใคร หรือไม่ถูกใจใคร ขอบอกว่า ไม่มีใครสั่งศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ให้วินิจฉัยไปในทางใดทางหนึ่งได้แน่นอน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อดีตรองอธิการบดี มธ. หนุนสร้างภาพยนต์ animation 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ภาค2

คณะผู้สร้างภาพยนต์ animation 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ คงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ที่จะต้องสร้างภาพยนต์ภาค 2 ต่อจากนี้ เพราะครั้งนี้จะมีคนเสนอตัวสนับสนุนช่วยเหลือมากมาย

ทวงผลสอบจุฬาฯ ปม 'ดุษฎีนิพนธ์' บิดเบือนประวัติศาสตร์กระทบสถาบัน

นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ในฐานะนิสิตเก่าจุฬาฯ รุ่นปี 2512 ได้เขียนจดหมายเปิดผนึก เผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว

นักวิชาการ ยกเคส 'Taylor Swift' จี้รัฐบาลใช้สมองขจัดจุดอ่อนการท่องเที่ยว ให้ยั่งยืน

'อ.หริรักษ์' ยกรณีสิงคโปร์ใช้เงินจัดคอนเสิร์ต Taylor Swift แนะรัฐบาลแข่งขันด้วยจุดแข็งของประเทศเราขจัดจุดอ่อนที่ยังมีอยู่ให้หมดไปพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนระยะยาว เลิกคิดเรื่อง digital wallet อย่าใช้สมองคิดหาทางนำ ยิ่งลักษณ์ กลับบ้านแบบ ทักษิณ

อดีตรองอธิการ มธ. มีคำตอบทำไม ‘ถนนพระราม2’ สร้างไม่เสร็จเสียที

ความจริงถนนพระราม 2 ไม่รวมทางต่างระดับที่กำลังสร้างบ้างก็มีถึง 14 เลนแล้วยังไม่พออีกหรือ ทำไมต้องมีทางต่างระดับซ้อนขึ้นมาอีก

เปิดเบื้องลึก! กว่าจะได้นั่งเก้าอี้ 'อธิการ มธ.'

รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ในระหว่างการสรรหาอธิการบดีคนใหม่