เฟซบุ๊ก สธ.ขอความช่วยเหลือด่วน! บริจาคเกล็ดเลือดช่วย 'หมอสุรศักดิ์'

เพจ สธ.ออกประกาศขอความช่วยเหลือด่วน ขอรับบริจาคเกล็ดเลือกช่วยหมอสุรศักดิ์ ที่ป่วยด้วยโรคไขกระดูกฝ่ออย่างร้ายแรง

24 พ.ย.2565 – เพจเฟซบุ๊กกระทรวงสาธารณสุข ได้โพสต์เนื้อหาว่า ขออนุญาตประกาศ ขอความช่วยเหลือ !!ด่วน!! ขอรับบริจาคเกล็ดเลือด (gr O positive) ให้แก่ นพ.สุรศักดิ์ เตชะบูรณ์ ซึ่งป่วยด้วยโรคไขกระดูกฝ่ออย่างร้ายแรง (ขณะนี้เกล็ดเลือดเหลือแค่ 1,000/ลบ.มล.) คุณหมอเป็นแพทย์ประจำบ้านสาขาศัลยศาสตร์ตกแต่งของ รพ.เลิดสิน ในขณะนี้เข้ารับการรักษาที่ รพ.จุฬาลงกรณ์

เมื่อท่านไปบริจาคเกล็ดเลือดที่สภากาชาดไทย (จ-พ-ศ 8.30-15.00น , อัง-พฤ 7.30-17.00น , ส-อา8.30-11.30น) โปรดระบุ ต้องการบริจาคให้ นพ.สุรศักดิ์ เตชะบูรณ์ HN 17852/53

(#)คุณสมบัติผู้บริจาคเกล็ดเลือด
1.เพศชาย
2.น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 55 ก.ก.
3.สุขภาพแข็งแรง
4.อายุ 18-60 ปี ถ้าบริจาคครั้งแรก อายุไม่ควรเกิน 50 ปี
5.ถ้าเคยเป็นผู้บริจาคเลือด/องค์ประกอบต่างๆ ของเลือดมาก่อน ต้องทิ้งช่วงห่างจากการบริจาคครั้งสุดท้าย ดังนี้
-หลังการบริจาคเลือด 3 เดือน
-หลังการบริจาคเกล็ดเลือด 1 เดือน
-หลังการบริจาคพลาสมา 2 สัปดาห์
6.ไม่กินยาที่มีผลกระทบต่อเกล็ดเลือด
7.ไม่ทานอาหารที่มีไขมันสูงก่อนมาบริจาค

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผลวิจัยชี้ 'รอบเดือน' สตรี มีผลต่อสมอง 'หมดระดู' เสี่ยงอัลไซเมอร์

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า รอบเดือนสตรีมีผลต่อสมอง

'ชลน่าน' ยังไม่รับลูก ขยายเวลาเปิดผับ เผยสธ.ห่วงผลกระทบด้านสุขภาพ

'ชลน่าน' ยังไม่รับลูก นโยบายขยายเวลาเปิดผับ ต้องชั่งน้ำหนักมิติด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ จึงต้องมีมาตรการควบคุม คุมเข้มการตรวจวัดแอลกอฮอล์ การดื่มแล้วขับ

เปิดจดหมาย 'หมอนิธิพัฒน์' ฝาก 3 เรื่อง ถึง 'หมอชลน่าน' ว่าที่รมว.สธ.

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เขียน จดหมายเปิดผนึกถึงศิษย์รุ่นน้องร่วมบ้านริมน้ำ มีเนื้อหาดังนี้

‘เพียงแค่กินพริกก็ช่วยสมองได้’ หมอธีระวัฒน์ ยกข้อมูลวิชาการให้ความรู้

เรื่องของพริกน่าจะต้องย้อนกลับไปถึง ตำนานของบุหรี่ ซึ่งเกิดปรากฏการณ์ประหลาด ที่สังเกตว่าคนสูบบุหรี่แม้จะตายยับจากมะเร็ง ป่วยหลอดลม ถุงลม

อาจารย์หมอ แนะเรียนรู้ ‘สมองเสื่อม’ แต่เนิ่นป้องกันชะลอไม่ให้ลุกลามได้

สมองเสื่อมมีหลายยี่ห้อแล้วแต่ชนิดของโปรตีนพิษบิดเกลียว ที่จะมีทางวิ่งไปยัง สมองส่วนต่างๆไม่เหมือนกัน ดังนั้นทำให้อาการที่ปรากฏขึ้นนั้น มีความผิดแผกแตกต่างกันได้