“ดร.ณัฎฐ์” มือกฎหมายมหาชนเดือด ฟาดกลับ “ชุมสาย ศรียาภัย” หลังถูกด้อยค่าเป็นนักวิชาเกิน พร้อมย้ำถามทีมกฎหมายเพื่อไทย ตำแหน่งหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทยและผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย ได้ระบุไว้ในข้อบังคับพรรคเพื่อไทยหรือไม่
14 มี.ค. 2566 - ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฎฐ์” นักกฎหมายมหาชน ตอบโต้ นายชุมสาย ศรียาภัย รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ที่วิจารณ์นักร้อง-นักวิชาเกิน ใช้อคติอ้างหตุยุบพรรค กรณีนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เป็นผู้ช่วยหาเสียงพรรคเพื่อไทยว่า พรรคเพื่อไทย มีนักกฎหมายของพรรคเพียงแค่นี้หรืออย่างไร ทัศนคติจะเป็นนักการเมืองระดับชาติ แต่กลับดูถูก ด้อยค่า ดูแคลนบุคคลอื่น ว่าเป็นนักวิชาเกิน นายชุมสายฯ เมื่อก่อนตนรู้จักดี แต่ตอนนี้ยืนยันว่าเป็นเพียงคนเคยรู้จัก นายทักษิณเรียกใช้บริการนักกฎหมายที่ขาดไร้คุณภาพ เรียนไม่จบเนติบัณฑิตหรืออย่างไร
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่าฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย สลับหน้ากันเล่น แบ่งหน้าที่กันทำ หากจะตอบโต้ตามหลักวิชาการ อยู่บนพื้นฐานข้อกฎหมาย ตรงนี้ตนยอมรับได้ แต่นายชุมสาย เอาเครื่องมืออะไรไปวัด คนไหนนักวิชาการ คนไหนนักวิชาเกิน ดูถูกสติปัญญาคนอื่น ด้อยค่าคนอื่น ตนไม่ใช่คนปัญญาอ่อนนะ และตนเป็นคนสู้คน จำเป็นต้องออกมาปกป้องสิทธิ์ของตนเอง มีภูมิความรู้และชั้นเชิงกฎหมาย
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่าทั้งนายชูศักดิ์ ศิรินิล อดีตอธิการบดีรามคำแหง และนายชุมสาย ทนายความ ทั้งสองคนผูกรวมกัน นัดดีเบตข้อกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายพรรคการเมือง รวมทั้งระเบียบ กกต. ทีวีช่องไหน พร้อมวันไหน นัดวันเวลามาได้เลย จากประสบการณ์ที่ตนเคยนั่งเป็นคณะอนุกรรมการวินิจฉัยปัญหาและข้อโต้แย้ง กกต. และเป็นอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัยหลักสูตร พตส.ของ กกต. ตั้งแต่รุ่น 5 ถึงรุ่น 9 มาก่อนตนพร้อมจะดีเบต โต้แย้งอยู่แล้ว
กรณีกล่าวหาว่า นักวิชาเกิน ตนว่าทั้งสองคนนี้ น่าจะเป็นนักกฎหมายเกินเยียวยามากกว่า อีกคนยาหมดอายุ อีกคนไร้คุณภาพ ขี้โม้ ราคาคุย พรรคเพื่อไทย จะไม่ชนะเลือกตั้งแลนสไลด์เพราะสองคนนี้ นักวิชาการคนใดให้ความเห็นไม่เข้าข้างพรรคเพื่อไทย ไม่ถูกใจ กลับดูหมิ่น ด้อยค่ากล่าวหาว่าเป็นนักวิชาเกิน สิ่งที่ตนตั้งคำถาม หากพรรคเพื่อไทยไม่ได้ทำผิดกฎหมาย จะออกมาดิ้นเป็นไส้เดือนโดนน้ำร้อนเพื่ออะไร ขอยกคำสอนพุทธทาสภิกขุ ถ้าวันนี้ถูกต้อง ไม่ต้องกลัวพรุ่งนี้
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้ ตั้งคำถามกับนายชูศักดิ์ ว่านายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยหรือไม่ และตำแหน่งหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย รวมผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย ได้เขียนระบุไว้ในข้อบังคับพรรคเพื่อไทยหรือไม่ ส่วนพฤติการณ์ต่างๆ เช่นการควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำ ตนให้ประชาชนไปถอดเทปคำปราศรัยที่ผ่านมา ว่าเข้าหลักเกณฑ์หรือไม่ เพราะพรป.พรรคการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 48 และ มาตรา 29 ระบุไว้ชัดแจ้ง ห้ามบุคคลอื่นที่ไม่เป็นสมาชิกพรรค ยุ่งเกี่ยวกับพรรคการเมือง
หากเข้าหลักเกณฑ์กฎหมาย มาตรา 28 จะส่งผลทางยุบพรรคมาตรา 92(3) เป็นอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดของ กกต.และศาลรัฐธรรมนูญ ย้ำว่าห้ามบุคคลภายนอก หมายความว่าบุคคลที่ไม่ใช่สมาชิกพรรคการเมืองนั้น ข้อกฎหมายเขียนไว้ชัดเจนขนาดนี้ หรือว่า นายชุมสาย อ่านกฎหมายไม่เป็น
"ให้นายชูศักดิ์และนายชุมสาย เอาหลักฐานมาแสดงให้พี่น้องประชาชนดู จะได้หายสงสัย เห็นออกมาเรียงหน้าโต้แย้ง เอามัน เหยียดหยาม ดูแคลนสติปัญญาคนอื่น นักกฎหมายที่มีความรู้คู่คุณธรรม จะพูดอะไรคุณต้องมีพยานหลักฐานมาแสดงใช่หรือไม่ คนที่พูดมั่วคือใคร ให้ประชาชนดูเอาเอง ต้องเป็นนักกฎหมายมืออาชีพ อย่าเป็นเพียงทนายหน้าหอเท่านั้น"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ความรู้เกี่ยวกับการยุบสภาผู้แทนราษฎร
การยุบสภาในประเทศไทยที่เกิดขึ้นตั้งแต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงปัจจุบันรวมทั้งสิ้น ๑๕ ครั้ง
ยุบสภา บิ๊กตู่ลุยการเมืองปท.ได้ประโยชน์ กกต.ถกใหญ่จ่อหย่อนบัตร14พค.
“ในหลวง” โปรดเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกายุบสภาแล้ว
อัปเดต! กกต. เปิดชื่อ 4 พรรคส่งผู้สมัคร ส.ส.ได้ครบ 77 จังหวัด
มีรายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สรุปจำนวนจังหวัดที่พรรคการเมืองต่าง ๆ สามารถส่งผู้สมัคร ส.ส. ในการเลือกตั้ง 2556 โดยเป็นข้อมูล ณ วันที่ 20 มี.ค. 2566 รวมทั้งหมด 87 พรรค
ดุเดือด! เจี๊ยบก้าวไกล ปราศรัยลากไส้พรรคเพื่อไทย (คลิป)
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้สังคมออนไลน์ ให้ความสนใจไปที่คลิปการปราศรัย ของ นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ที่ปราศรัย
อดีตว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เพื่อไทย แจงเหตุย้ายซบ รทสช. โดนกระทำแบบไม่ให้เกียรติ
นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ พร้อมด้วย นายวิสุทธิ์ ธรรมเพชร รองหัวหน้าพรรค รศ.พิเศษ ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง รองหัวหน้าพรรคและ นายเกรียงยศ สุดลาภา ผู้บริหารพรรค ร่วมให้การต้อนรับและสวมเสื้อพรรครวมไทยสร้างชาติ
พลิกปูมประวัติศาสตร์การเมืองไทย 'ยุบสภาผู้แทนราษฎร'
การยุบสภาผู้แทนราษฎร พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่ยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ระบุว่า การยุบสภาผู้แทนราษฎร