ชำแหละ! นโยบายประชานิยม แจกเงินดิจิทัล 1 หมื่น คนใช้แล้วหมดไป ไม่ได้ VAT ตามคาด หวั่นซ้ำรอย อาร์เจนติน่า

ชำแหละ!นโยบายประชานิยมอาจสูญเปล่าแถมอาจเป็นหนี้เพิ่ม เหตุ คนใช้แล้วหมดไป รัฐไม่ได้ VAT. ตามคาด ‘ ปรีดา' หวั่นการแจกเงิน 1หมื่นบาท ทำให้ใช้สุรุ่ยสุร่าย ซ้ำรอยศรีลังกา-อาร์เจนติน่า แต่เชียร์เพิ่มเงินเบี้ยผู้สูงอายุ 'บรรยง ' ไม่เชื่อการบริโภคจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริง

เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2566 เวลา 11.30 -12.30 น. สภาที่ 3 ร่วมกับ คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา'35 จัดเวทีสภาที่ 3 Speak วาระประเทศไทย เรื่อง "นโยบายพรรคการเมือง ทีมเศรษฐกิจไม่มีข้อเสนอรูปธรรม" ถ่ายทอดสดทาง Facebook Live "สภาที่สาม - The Third Council Speaks" ผู้ร่วมอภิปรายประกอบด้วย นายปรีดา เตียสุวรรณ์ ประธานเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (SVN) , นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร โดย นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา '35 กล่าวเปิดประเด็น

นายอดุลย์ กล่าวว่า ประชานิยมที่ดีที่เหมาะสมคือ ดำเนินการแล้วเกิดผลยั่งยืนต่อไปสู่อนาคต ผลประโยชน์จะต้องสร้างกิจกรรมที่ต่อเนื่องได้ ไม่ใช่ประชานิยมที่แจกหรือให้เงินไปแล้ว ประชาชนเอาไปกินเอาไปใช้แล้วหมดไป ซึ่งจากการพิจารณานโยบายประชานิยมที่เสนอในการหาเสียงเลือกตั้งของหลายพรรคยังทำแบบสั้นๆ คือ ให้เห็นเพียงว่าชาวบ้านได้รับเงิน แต่ไม่ชัดเจนว่าเงินนั้นจะนำไปทำประโยชน์และสร้างประโยชน์ต่อเนื่องให้เกิดขึ้นได้อย่างไร จึงเห็นว่านโยบายประชานิยมที่แต่ละพรรคการเมืองเสนอนั้น ไม่เกิดสร้างประโยชน์ต่อเนื่องที่จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศได้เท่าที่ควร อย่างไรก็ตามฝากถึงประชาชนผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งว่าควรพิจารณาให้ดีและขอให้การเลือกตั้งครั้งนี้ทำให้ประชาชนเข้มแข็งขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง

นายปรีดา กล่าวว่า การดำเนินนโยบายประชานิยมย่อมต้องใช้งบประมาณแผ่นดิน รวมถึงนโยบายบางพรรคการเมืองที่จะแจกเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาทให้ผู้มีอายุ 16 ปีขึ้นไปนั้น อาจเป็นการใช้เงินในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ทำให้ใช้สุรุ่ยสุร่าย และไม่สามารถนำเงินคืนกลับมาได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบภาษี VAT. หรืออื่นๆ ขนาดที่ประเทศมหาอำนาจในโลกกำลังมองการใช้งบประมาณภาครัฐของประเทศไทยและในหลายประเทศอยู่ว่าสถานะการใช้งบประมาณเป็นอย่างไร หากพบว่าขาดวินัยการเงินการคลังก็เตรียมที่จะปล่อยกู้ ซึ่งจะทำให้ประเทศเป็นหนี้อาจล้มเหลวอย่างประเทศศรีลังกาหรืออาร์เจนตินา ดังนั้นการใช้เงินแผ่นดินต้องระวังเพื่อที่จะไม่ต้องพึ่งลมหายใจของผู้อื่น เพราะจะตกเป็นเบี้ยล่างกลายเป็นเมืองขึ้นด้านวัฒนธรรมและทางเศรษฐกิจได้

นายปรีดา กล่าวต่อว่า การนำเงินมาดำเนินนโยบายประชานิยมจะต้องให้เกิด productivity - ผลิตภาพ หรือ "ผลผลิตที่มีค่าต่อสังคม " ซึ่งนโยบายประชานิยมที่ดีคือ เบี้ยผู้สูงอายุ หรือเงินคนแก่ ที่แม้มีคนเข้าใจหรือมองว่าไม่มีประโยชน์ เพราะไม่ได้สร้างผลผลิตอะไร แต่ในแง่สังคมนั้นถือเป็นการสนองคุณผู้สูงอายุที่ได้อุทิศช่วยเหลือสังคมจนเกษียณ เมื่อเรี่ยวแรงมีน้อยไม่สามารถสร้างผลผลิตอะไรได้แล้ว สังคมจึงต้องชดเชยให้ เป็นการสร้างความขวัญกำลังใจว่า ประเทศไทยไม่ว่าจะดีเลวอย่างไรก็ตามจะไม่ให้ผู้สูงอายุในประเทศอดอยากหรืออดตาย ดังนั้น การให้เงินผู้สูงอายุแล้วไม่ได้สร้างผลผลิตเป็นรูปเป็นร่างอะไรแต่มีคุณค่าทางสังคมที่ไม่ได้ทิ้งใครไว้ข้างหลังอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นจึงสนับสนุนนโยบายการเพิ่มเงิน "เบี้ยผู้สูงอายุ" ที่หลายๆพรรคนำเสนอ ปัจจุบันการใช้โซเชียลมีเดียที่บันทึกการหาเสียงไว้ซึ่งจะเป็นหลักฐานให้ประชาชนใช้ตรวจสอบได้ในอนาคตและยังทำให้นักการเมืองไม่กล้าใช้นโยบายเพ้อฝันในการหาเสียงด้วย

นายปรีดา ยังกล่าวถึงการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจว่า สิ่งสำคัญคือ ภารรัฐต้องตัดสินใจว่าจะเก็บรัฐวิสาหกิจใดไว้และรัฐวิสาหกิจใดที่จะไม่เก็บไว้ ก็ต้องขายหุ้นทั้งหมดให้กลายเป็นบริษัทเอกชนโดยทั่วไป แล้วสิทธิพิเศษในฐานะรัฐวิสาหกิจก็จะไม่ได้รับจากรัฐอีกต่อไป แต่จะถูกตลาดตรวจสอบและความโปร่งใสจะเกิดขึ้น

ด้านนายบรรยง กล่าวว่า นโยบายประชานิยมต้องตอบโจทย์ 3 อย่างคือ " ประสิทธิภาพ - ความยั่งยืน - การกระจายรายได้" และต้องพิจารณาทั้งความคุ้มค่าและที่มาของเงินงบประมาณ โดยต้องนำเงินหรือทรัพยากรจากจุดที่ไม่ได้ใช้งาน ที่ใช้งานได้ไม่คุ้มค่าหรือจากจุดที่มีทรัพยากรเหลือเฟือไปให้จุดที่ต้องการคือ "เก็บเงินคนรวยไปให้ผู้ที่ขัดสน" และต้องมีทั้งแรงจูงใจและแรงกดดัน จะใช้แรงจูงใจหรือการกดดันอย่างเดียวไม่ได้ โดยเห็นว่า ประเทศไทยควรลดขนาดรวมถึงบทบาทและอำนาจของภาครัฐ ที่มีข้าราชการและใช้งบประมาณบริหารจัดการมากเกินไป ที่สำคัญคือไม่มีแรงจูงใจและไม่มีแรงกดดันจึงไม่มีประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลในเชิงเศรษฐศาสตร์ ซึ่งถือเป็นความฝันที่ตัวเองคาดหวังและยังไม่เห็นพรรคการเมืองใดเสนอนโยบายนี้อย่างเป็นรูปประธรรม

"ประเทศยุโรปเหนือที่เป็นแม่แบบรัฐทุนนิยม จัดเก็บภาษีประมาณ 50% ของ GDP. ในประเทศสวีเดน งบประมาณ 85% ใช้เป็นรัฐสวัสดิการ อีก 10% เป็นงบฯลงทุน ในส่วนที่ตลาดไม่ลงทุนอย่างสาธารณูปโภคหรือถนนหนทาง มีเพียง 5% ของ GDP. เท่านั้นที่เป็นงบบริหารจัดการรัฐบาล แต่ไทยกลับกันคือ 80% เป็นงบบริหารจัดการรัฐบาลทั้งเงินเดือนและสวัสดิการข้าราชการเหลือแค่ 15% ที่เอามาแบ่งกันระหว่างงบลงทุนกับงบจัดสวัสดิการของรัฐ อีกทั้งนโยบายประชานิยมหลายเรื่องภาครัฐเข้าไปแย่งเอกชนดำเนินการซึ่งเป็นการทำลายกลไกตลาดอีกด้วย"

นายบรรยง กล่าวถึงนโยบายดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาทที่จะใช้งบประมาณ " 5 แสน 6 หมื่นล้านบาท" ว่า มาจากฐานคิดที่ว่าไทยมีดุลยภาพต่ำ ภาครัฐจึงต้องกระชากเศรษฐกิจขึ้น โดยหวังการบริโภคจะกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น หรือ 'จั้มสตาร์ท' วงจรเศรษฐกิจจะหมุน 6 รอบหรือได้เงินคืนมา "3 แสนล้านบาท" ตามที่มีการหาเสียงนั้น แต่ไม่เชื่อว่าการบริโภคจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริง และเห็นว่า การหมุนของเศรษฐกิจจากการทุ่มเงินดำเนินนโยบายประชานิยมดังกล่าว จะหมุนวงจรได้ไม่เกิน 3 รอบ ตามที่ธนาคารโลกหรือ world bank ดังนั้น เงินจากภาษี vax จะน้อยมากเพียงไม่กี่หมื่นล้านบาท ส่วน "แสน 4 หมื่นล้านบาท" ที่นำมาดำเนินนโยบายสุดท้ายก็จะกลายเป็นหนี้สาธารณะและแม้ว่าจะพยายามซุกซ่อนอย่างไรก็ซ่อนไม่ได้

“นโยบายประชานิยมที่ดีที่สุดคือ ประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งทำให้ผู้คนสุขภาพดีรวมถึงนโยบายด้านการศึกษา 1 ตำบล 1 ทุนเรียนต่อต่างประเทศ ซึ่งสอดรับกับนโยบายหวยบนดินและนำเงินจากหวยบนดินมาใช้เป็นทุนการศึกษา ให้คนจนได้ไปเรียนเมืองนอก แต่น่าเสียดายที่นักกฎหมายสมัยนั้นขัดขวางทำให้โครงการหวยบนดินต้องยกเลิกไป"

นายบรรยง เสนอแหล่งที่มางบประมาณที่ฝ่ายการเมืองสามารถนำมาใช้ดำเนินการนโยบายประชานิยมได้ ในวงเงิน "5 แสนล้านบาท" คือ การขายหุ้น บริษัท ปตท.จำกัดมหาชนทั้งหมดออกไปซึ่งจะมีผลดีคือ ปตท.จะอยู่ในกลไกตลาด และ ปตท.จะถูกตลาดควบคุมและกดดัน ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและนำมาใช้ดำเนินนโยบายประชานิยมที่เป็นประโยชน์จริงๆ ถือว่าเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พิภพ' วิเคราะห์ ศึกชิงเมือง เค้าลางหายนะโดยประชานิยมเหมือนสมัย 'ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์'

'พิภพ' วิเคราะห์ ศึกชิงเมืองระหว่าง ฝ่ายประชาธิปไตยเก่า กับฝ่ายประชาธิปไตยใหม่ มีการปฎิรูปประเทศเป็นเดิมพัน ชี้เค้าลางหายนะโดยนโยบายแบบประชานิยมเหมือนสมัย'ทักษิณ'และ'ยิ่งลักษณ์'

'นักเศรษฐศาสตร์' กังวล นายกฯใหม่ เป็นนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เสี่ยงไม่ได้เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน

'บรรยง พงษ์พานิช' กังวล นายกฯ ใหม่เป็นนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เหมือน Donald Trump ได้ผู้กำหนดนโยบายที่ยังอยู่โรงพยาบาล หวังไม่มุ่งเน้นส่งเสริมพวก 'non tradables' มากเกินไป เสี่ยงไม่ได้เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน เป็นตัวเร่งเงินเฟ้อและความเหลื่อมล้ำอีกด้วย

'เมสซี' สุดเซ็งถูกตม.จีนกักตัว หลังหนังสือเดินทางมีปัญหา

ลิโอเนล เมสซี ซูเปอร์สตาร์ทีมชาติอาร์เจนตินา ถูกตรวจคนเข้าเมืองของประเทศจีนกักตัวชั่วคราวเนื่องจากพาสปอร์ตมีปัญหา รวมถึงการสับสนระหว่างวีซ่าจีน กับไต้หวัน ซึ่งเขาต้องใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง กว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้น

ญาติวีรชนฯจ่อยื่นปปช.ฟัน 'ประยุทธ์'และคณะ ออกพรก.ชะลอพรบ.ป้องกันการอุ้มหายฯผิดจริยธรรม

ญาติวีชนพฤษภา’35 แถลง จี้ 'ประยุทธ์' หยุดปฏิบัติหน้าที่แสดงรับผิดชอบ ออก พ.ร.ก.ชะลอ พ.ร.บ.ป้องกันการอุ้มหายฯ ชี้ขัดรธน.ฝ่าฝืนจริยธรรมอย่างร้ายแรง ซัด 'วิษณุ' ตรรกะวิบัติ จ่อยื่น ป.ป.ช. สั่งแขวน ครม. ทั้งคณะ “วิรุตม์”กังขาสมคบคิดหลอกประชาชน “บุญแทน” โอด ผู้เสียหายถูกฆ่าซ้ำสอง

ปธ.ญาติวีรชนฯ จี้ 'ประยุทธ์' กับพวก หยุดปฏิบัติหน้าที่ รับผิดชอบศาลรธน.ตีตกพรก.อุ้มหาย ขู่ยื่นถอดถอน

ปธ.ญาติวีรชนพฤษภา’35 จี้ 'ประยุทธ์-วิษณุ-ดำรงศักดิ์-อนุพงษ์' หยุดปฏิบัติหน้าที่ แสดงความรับผิดชอบกรณีศาลรธน.วินิจฉัยว่า พ.ร.ก.เลื่อนการบังคับใช้พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานฯ ขัดรธน. ขู่ยื่นถอดถอน ดำเนินคดีตามกฎหมายทุกช่องทาง