สป.ยธ.รุก! ทุกพรรค ให้กำหนดนโยบาย ปฏิรูปตำรวจและการสอบสวน- เลิก-ลด ยศแบบทหารในงานไม่จำเป็น, ผู้ว่า กทม.และ จว.ควบคุมได้ ยุบตร.ภาค ลดนายพล 530 คน, โอน ตร.เฉพาะทางให้กระทรวงรับผิดชอบ, อัยการมีอำนาจสอบสวนคดีสำคัญ
3 พ.ค.2566 - ที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ร.ต.อ.ผศ.ดร. วิเชียร ตันศิริคงคล คณบดีคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.บูรพา ประธานสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม(สป.ยธ.) และ พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร เลขาธิการสป.ยธ.ได้ยื่นหนังสือต่อ ผอ.พรรคปชป. ให้นำเรียนหัวหน้าพรรค ปชป.รวมทั้งส่งหนังสือถึง "หัวหน้าพรรคทุกพรรค" ให้กำหนดนโยบายปฏิรูปตำรวจและการสอบสวนโดยเร็ว ในเรื่องสำคัญอันการปฏิรูปแท้จริง ดังนี้
ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าปัญหาตำรวจได้ก่อความเดือดร้อนต่อประชาชนอย่างแสนสาหัส ทั้งเรื่องที่ไม่สามารถป้องกันอาชญากรรมทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินได้ เมื่อไปแจ้งความ พนักงานสอบสวนก็ไม่รับคำร้องทุกข์เข้าสารบบคดีเพื่อไม่ให้มีสถิติอาชญากรรมปรากฏตามที่ผู้บังคับบัญชาตามชั้นยศสั่งไว้ รวมทั้งจะได้ไม่ต้องสอบสวนตามกฎหมายส่งให้อัยการตรวจสอบ ซ้ำหลายกรณีตำรวจผู้ใหญ่ชั้นนายพลยังเป็นคนกระทำผิดเสียเอง เป็นการทำลายกระบวนการยุติธรรมและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง จำเป็นต้องได้รับการปฏิรูปโดยเร็ว
สถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (สป.ยธ.) เห็นว่า ทุกพรรคการเมืองที่ตระหนักถึงปัญหาตำรวจ ควรกำหนดให้ปรากฏเป็นนโยบายในการปฏิรูปเชิงระบบและโครงสร้างองค์กรในเรื่องต่างๆ อันเป็นการแก้ปัญหาตำรวจที่แท้เจริง เพื่อให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ทราบและสนับสนุนดังนี้
๑. เลิก-ลด การใช้ยศและระบบการปกครองแบบทหารในหน่วยและสายงานที่ไม่จำเป็น เช่น สายงานสอบสวน ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานกระบวนการยุติธรรม สายการแพทย์ พยาบาล พิสูจน์หลักฐาน งานนิติเวช การศึกษา และงานอำนวยการต่างๆ ลดความวุ่นวายและขั้นตอนในการบังคับบัญชารวมทั้งประหยัดงบประมาณกว่าข้าราชการมียศ
อีกทั้งเป็นการ “ลดนายพล” ซึ่งมีอยู่ทั้งประเทศจำนวน ๕๓๐ คน ให้มีเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เลิกแบ่งแยกตำรวจที่เรียกกันว่า “ชั้นประทวน” ทำให้ประชาชนไม่เชื่อถือและดูถูกเหยียดหยาม โดยเรียกเป็นเจ้าพนักงานระดับต่างๆ แทน
๒.เลิกการอบรมและปลูกฝังความคิดแบบทหารในโรงเรียนตำรวจที่ก่อให้เกิดปัญหาเรื่อง “บ้ารุ่น” หรือ“บ้าสถาบัน” สร้างความแตกแยกและความสามัคคีในองค์กรกระทบต่อการปฏิบัติงานในฐานะเจ้าพนักงานยุติธรรม โดยรับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีแต่ละสาขาจากมหาวิทยาลัยตามสายงานมาอบรมความรู้ที่จำเป็น ใช้ระยะเวลาเพียงหกเดือนหรือไม่ถึงหนึ่งปีก็จะสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ดีกว่าผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจซึ่งใช้เวลาถึง ๖ ปีทำให้สิ้นเปลืองเงินภาษีประชาชนอย่างมาก
๓.กระจายอำนาจตำรวจให้อยู่ในปกครองทั้งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอ เพื่อให้หน่วยการปกครองหลักทุกระดับของประเทศมีเอกภาพในการบังคับบัญชาสอดคล้องกับบทบาทการรักษาความสงบเรียบร้อยตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้
ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอต้องสามารถให้คุณให้โทษตำรวจทุกระดับในพื้นที่ได้ ทั้งการแต่งตั้งโยกย้ายโดยใช้หลักอาวุโสในสายงาน โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการกิจการตำรวจจังหวัดและอำเภอ
ยุบเลิกตำรวจภูธรภาค ๑ - ๙ ลง เนื่องจากไม่มีความจำเป็น ซึ่งจะทำให้รัฐประหยัดงบประมาณได้ปีละไม่ต่ำกว่า ๗,๐๐๐– ๘,๐๐๐ ล้านบาท รวมทั้งทำให้งานตำรวจตรวจป้องกันอาชญากรรมและการสอบสวนมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย
๔.โอนตำรวจเฉพาะทาง ๑๐ หน่วยไปให้กระทรวงทบวงกรมที่รับผิดชอบตามกฎหมาย ให้มีอำนาจสอบสวนคู่ขนานกับตำรวจ ตามที่สภาปฏิรูปแห่งชาติได้มีมติและรายงานให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการไปแต่เดือนตุลาคมปี ๒๕๕๘ ดังนี้
๔.๑ ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย
๔.๒ ตำรวจจราจรสังกัดกรุงเทพมหานคร
๔.๓ ตำรวจทางหลวงสังกัดกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม
๔.๔ ตำรวจน้ำสังกัดกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม
๔.๕ ตำรวจเศรษฐกิจสังกัดกระทรวงการคลัง
๔.๖ ตำรวจป้องกันการค้ามนุษย์สังกัดกระทรวงพัฒนาสังคม
๔.๘ ตำรวจป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
๔.๙ ตำรวจคุ้มครองผู้บริโภคสังกัดสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
๔.๑๐ ตำรวจป้องกันปราบปรามการทุจริตสังกัด ปปช.
๕. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้อัยการมีอำนาจเข้าตรวจสอบการสอบสวนคดีสำคัญหรือคดีที่มีปัญหาประชาชนร้องเรียนว่าไม่ได้กระทำตามกฎหมายหรือไม่ยุติธรรมได้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา ผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งให้ทราบด้วยเพื่อจะได้แจ้งให้ประชาชนและสื่อมวลชนทราบต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'วิรุตม์' ชี้ '7ตำรวจตีนโหด' ถ้า ผบช.น.-ผบ.ตร.ไม่สั่งแจ้งข้อหา 'กฎหมายอุ้มหาย' ผิดอาญาด้วย
พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร เลขาธิการสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม กล่าวว่า กรณี 7 ตำรวจนครบาล รุมกระทืบประชาชนผู้ถูกจับและควบคุมตัวปางตาย ไม่ใช่แค่ผิดวินัยหรืออาญาข้อหาทำร้ายตามกฎหมายอาญา
'วิรุตม์' ยุ 'โจ๊ก' ยื่นปปช.ฟันผบ.ตร.-นายกฯผิดม.157ไม่สั่ง21ตร.คดี 'เป้รักผู้การ' ออกจากราชการ
'วิรุตม์' รับ 'โจ๊ก' ถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจริง คดี 'เป้รักผู้การ'ตร.21นายถูกอัยการสั่งฟ้องทำไมไม่ให้ออกจากราชการเหมือนตน ยุยื่นปปช.ตรวจสอบผู้บังคับบัญชา-ผบ.ตร.- นายกฯละเว้นหน้าที่ตามม.157 หรือไม่
'วิรุตม์' ชี้ผลสอบความขัดแย้ง 'ต่อ-โจ๊ก' เสียเวลาประชาชน ต้นเหตุ 'กฤษฎีกา' เข้าใจผิด
'วิรุตม์' บอก ผลสอบความขัดแย้ง 'ต่อ- โจ๊ก' เป็นไปตามคาด เสียเวลาประชาชน ชี้ปัญหาเกิดจากความเข้าใจผิดของกฤษฎีกา ตั้งข้อสังเกตคำสั่งให้ 'สุรเชษฐ์' ออกราชการต้องรอกก.สอบสวนวินัย ยันเป็นไปตาม ม. 131การอ้างม.120 ไม่ถูกต้อง
'เฉลิม อยู่วิทยา' ฟ้องเรียก 50 ล้าน 'วิรุตม์' กับพวกกล่าวหาจ่าย 300 ล้านวิ่งเต้นคดีบอส
นายอำพล แก้วปาน ทนายความผู้รับมอบอำนาจ นายเฉลิม อยู่วิทยา นักธุรกิจชาวไทย เจ้าของธุรกิจกระทิงแดง และผู้ร่วมก่อตั้งเรดบูล เดินทางมา เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัท สืบจากข่าว จำกัด ,นายอภิภู พัฒนจันท์ นายสุวิทย์ บุตรพริ้ง
'วิรุตม์' สอนมวยกฤษฎีกา ชี้ 'โจ๊ก' ถูกให้ออกจากราชการ ตาม ม.131 ไม่เกี่ยว ม.120
พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร เลขาธิการสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม(สป.ยธ.) กล่าวว่า กรณีการตอบและตั้งข้อสังเกตตามหนังสือหารือของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
มูฟออนไม่ได้! 'วิรุตม์' บี้ 'รรท.ผบ.ตร.' สั่งพักราชการตร.ต้องหาคดีอาญานับร้อย ยังให้ถือปืนจับคน
'วิรุตม์' ย้ำ ตำรวจต้องหาคดีอาญา ผู้บังคับบัญชาต้องสั่งพักราชการตามพ.ร.บ.ตำรวจฯ ม.131 เหตุรัฐและปชช.ไม่ไว้วางใจให้ทำหน้าที่แล้ว ซัด รรท.ผบ.ตร.มั่วนิ่ม อ้างรอผลสอบวินัย'โจ๊ก'ตามขั้นตอนน่าเศร้า ผู้รักษากฎหมายกลายเป็นผู้ร้ายมากมาย ตร.โดนข้อหาอาญานับร้อย ยังให้ถือปืน ไปสืบสวน จับคน พยานก็หัวหดหมด