'สฤณี' ยกคำพิพากษาศาลฎีกาคดี 'ชาญชัย' ถือหุ้นสื่อเป็นบรรทัดฐาน รวมทั้งคดี 'พิธา'

'สฤณี' ยกคำพิพากษาศาลฎีกาคดี'ชาญชัย'ถือหุ้นสื่อควรใช้เป็นบรรทัดฐานในการตัดสินคดีหุ้นสื่ออื่นๆรวมทั้งคดีหุ้น ITVของ'พิธา' และคดีในอนาคตจากการฟ้องร้องกลั่นแกล้งกัน จนกว่าเราจะแก้รธน.ยกเลิกมาตราเจ้าปัญหา

10 พ.ค.2566 - น.ส.สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ นักเขียน นักแปลชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง "พัฒนาการ" ของคำตัดสินศาลฎีกาเรื่อง "ผู้สมัคร ส.ส. ถือหุ้นสื่อ" มีเนื้่อหาดังนี้

คิดว่าควรเขียนถึงเรื่องนี้เสียหน่อย ในฐานะที่เจ้าของเพจเคยโดนคดีละเมิดอำนาจศาลในปี 2562 เพราะเขียนบทความวิจารณ์คำตัดสินคดีถือหุ้นสื่อของผู้สมัคร ส.ส. (สุดท้ายคดีนั้นศาลสั่ง "ยุติการดำเนินคดี" นะคะ หลังจากที่ขอโทษศาลที่ใช้คำว่า "มักง่าย" และ "ตะพึดตะพือ" แต่ยืนยันว่าไม่ได้ทำผิดข้อหานี้ และยังคงยืนยันความเห็นและข้อสังเกตทั้งหมดตามที่เขียนในบทความ -- ใครสนใจอ่านได้ที่บล็อก https://fringer.co/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95.../

ก่อนอื่น มาตราเจ้าปัญหาคือ รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 98(3) ซึ่งบัญญัติห้ามไม่ให้ "บุคคลที่เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ“ ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.

เจตนารมณ์ของมาตรานี้้ (ซึ่งต้องบอกว่า ล้าสมัยและไร้ความหมายไปแล้วในยุคที่ทุกคนเป็นสื่อได้ -- ดูคำอธิบายในบทความด้านบน) ก็คือ ไม่ต้องการให้ผู้สมัคร ส.ส. ใช้ "สื่อในมือตัวเอง" สร้างอิทธิพล โปรโมทตัวเองหรือชักจูงผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

แต่สิ่งที่ทำให้มันเป็น "มาตราเจ้าปัญหา" ใช้กลั่นแกล้งกันได้ง่ายดาย ก็คือ มาตรานี้ดันใช้ทั้งคำว่า "เจ้าของ" และคำว่า "ผู้ถือหุ้น" ทั้งที่ในความเป็นจริง ลำพังการเป็นแค่ผู้ถือหุ้นรายย่อย (ถือหุ้น 0.001% ของหุ้นทั้งหมดของบริษัท เป็นต้น) ไม่ได้ทำให้ใครมีสิทธิสั่งการบริษัทสื่อนั้นๆ ให้ทำตามความประสงค์ได้

ดังนั้น ถ้าศาลฎีกาแผนกผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะใช้กฎหมายข้อนี้ให้ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญจริงๆ ก็ต้องดูว่า A. บริษัทที่ผู้สมัครถือหุ้นอยู่นั้น "ทำสื่อ" จริงๆ หรือไม่ และ B. ผู้สมัครรายนั้นถือหุ้นในสัดส่วนมากพอที่จะสั่งบริษัทสื่อนั้นๆ หรือมีอำนาจควบคุมหรือไม่ (ข้อนี้ต้องดูหลักฐานอื่นประกอบ เช่น ตำแหน่งกรรมการ ฯลฯ)

ถ้าดูแบบนี้ คำตัดสินที่เป็นไปได้ ก็มีคร่าวๆ 3 กรณีด้วยกันค่ะ

1. กรณีที่แย่ที่สุด ก็คือถ้าศาลตัดสินโดยไม่ดูทั้ง A และ B เลย ดูผิวเผินแค่ว่า บริษัทนั้นๆ มีคำว่าสื่อ อยู่ในรายการวัตถุประสงค์ของกิจการ (ซึ่งก็เป็น template มาตรฐานที่แทบทุกคนก็ใช้ตามนั้นแหละ) -- นี่คือกรณีที่เขียนวิจารณ์ในบทความ

2. กรณีที่ดีขึ้นมาอีก ก็คือการตัดสินโดยดูจาก "ข้อเท็จจริง" (ข้อ A ข้างต้น) นั่นคือ ดูว่าบริษัทที่ผู้สมัครถือหุ้นอยู่นั้น "ทำสื่อ" จริงหรือไม่ -- แนวการให้เหตุผลแบบนี้ใช้ในคำตัดสินหลายสิบคดี เมื่อปี 2563 ช่วงที่ ส.ส. ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน โดนร้องเรื่องนี้กันระนาว สุดท้ายศาลตัดสินให้คดีส่วนใหญ่ "ไม่ผิด" โดยดูข้อเท็จจริงอย่างที่บอก (ตัวอย่างข่าว https://www.pptvhd36.com/.../%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0.../135700)

3. กรณีที่ดีที่สุด แน่นอนหมายถึงการตัดสินตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ นั่นคือ ดูแค่ว่าบริษัทที่ถือหุ้นอยู่นั้น ยัง "ทำสื่อ" อยู่ อย่างเดียวไม่พอ ต้องดูด้วยว่าถือหุ้นในสัดส่วนมากพอที่จะมีอำนาจควบคุมหรือสั่งการหรือไม่ (ข้อ A และ B ข้างต้นประกอบกัน) -- เราได้เห็นคำตัดสินกรณีที่ดีที่สุดนี้แล้ว ในคำพิพากษาเมื่อต้นเดือน พ.ค. 2566 ที่ผ่านมานี้เอง เคสที่ คุณชาญชัย ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ถูก กกต. นครนายก ตัดสิทธิ์เป็นผู้สมัคร ส.ส. เพียงเพราะถือหุ้น AIS 200 หุ้น

ศาลฎีกาพิพากษาชัดเจนในกรณีนี้นะคะว่า กกต. นครนายก ตีความไม่เป็นไปตามเจตนารณ์ของกฎหมาย และสั่งให้ กกต. คืนสิทธิการสมัคร ส.ส. ให้กับคุณชาญชัย (ตัวอย่างข่าว และคำพิพากษาศาลฎีกา https://www.isranews.org/.../isr.../118255-isranews-325.html )

ดังนันถ้าดูตามลำดับเวลา จะเห็นว่าศาลฎีกาก็ตีความข้อนี้ “ดีขึ้น” โดยลำดับ จากกรณีที่แย่ที่สุดในปี 2562 มาถึงกรณีที่ดีที่สุด ยึดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2566 นี้เอง

ก็หวังว่าศาลฎีกาจะรักษาพัฒนาการที่ดีนี้ต่อไป คำตัดสินคดีคุณชาญชัยละเอียดมาก ควรใช้เป็น “บรรทัดฐาน” ในการตัดสินคดีหุ้นสื่ออื่นๆ ที่เหลือทั้งหมดในตอนนี้ รวมคดีหุ้น ITV ของคุณพิธา และคดีในอนาคตที่จะเกิดขึ้นจากการฟ้องร้องกลั่นแกล้งกัน

จนกว่าเราจะแก้รัฐธรรมนูญ ยกเลิกมาตราเจ้าปัญหานี้ได้สำเร็จ และห้ามการกลั่นแกล้งกันด้วยกฎหมายของ “นักร้อง” ทั้งหลายที่ควรไปทำอย่างอื่นที่มีประโยชน์กับประเทศจริงๆ

มารอติดตามกันต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไม่ได้ปาดหน้า! 'พิธา' ตั้งใจมาเชียงใหม่จริง ลั่น ก.ก.ได้อันดับ 1 ต้องช่วยกันทำงาน

'พิธา' รับตั้งใจมาเชียงใหม่จริง แต่ไม่ได้ปาดหน้า 'ทักษิณ' ยัน ไม่มีนัยยะการเมือง มองกระแสพื้นที่ ไม่มีใครเป็นเจ้าถิ่น ลั่น 'ก้าวไกล' ได้รับคะแนนความไว้วางใจได้ สส.มากเป็นอันดับ 1 ก็ต้องช่วยทำงาน​

ฝ่ายค้านกู้ศรัทธา? 'พิธา' บอกลาสภา

การอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 ระหว่างวันที่ 3-4 เม.ย.ที่ผ่านมา ถือเป็นเวทีของฝ่ายค้านนำโดยพรรคก้าวไกล และพรรคประชาธิปัตย์ ซ้อมใหญ่ก่อนการอภิปรายไม่ไว้วางใจในสมัยประชุมสภาหน้าตามรัฐธรรมนูญ 151

‘พิธา’ ชี้ยุบพรรคคือการติดเทอร์โบให้พรรคที่ถูกยุบ ได้แต้มต่อเลือกตั้งครั้งหน้า

ที่โรงแรมเมเปิ้ล นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล และ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี 2567 วันนี้ ถึงการอภิปรายทั่วไปตาม ม.152

พิธาพลิกตำรา ‘รอดยุบพรรค’ เชื่อแค่ตักเตือน

"พิธา" ย้ำเตรียมแผนรับมือไว้แล้วหากศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคก้าวไกล ชี้ต้องใช้ดุลพินิจ ความผิดมาตรา 49-มาตรา 92 มีความต่างกัน เชื่อศาลจะให้ความยุติธรรม

โหนPM2.5เชียงใหม่ร้อน

เชียงใหม่ร้อนระอุ นักการเมืองขึ้่นเหนือไปสูดควันกันคึกคัก "เศรษฐา" ซูฮกผลงานตัวเอง แก้ปัญหา PM 2.5 ได้