'ศรีสุวรรณ' ร้อง 'กกต.' ทีวีไม่เป็นกลาง! จัดดีเบตหน้าซ้ำหน้าเดิม

ศรีสุวรรณร้อง กกต. สื่อทีวีรายงานข่าวเลือกตั้งไม่เป็นกลาง จัดดีเบตหน้าซ้ำไม่เกิน 10 พรรค จาก 70 พรรคการเมือง สร้างความได้เปรียบทางการเมือง ขู่ กกต.เพิกเฉย เตรียมรับแรงกระแทก​อาจทำเลือกตั้งโมฆะ

10 พ.ค.2566 - ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)​ นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย​ ยื่นคำร้องต่อ กกต.ขอให้ตรวจสอบการรายงานข่าวการจัดประชันนโยบายของพรรคการเมือง หรือการทำโพลสำรวจความคิดเห็นของสื่อมวลชนบางสำนัก ที่ไม่มีความเท่าเทียม เสมอภาค ทำให้เกิดข้อได้เปรียบกับพรรคการเมืองบางพรรค

โดยนายศรีสุวรรณ กล่าวว่า นับตั้งแต่มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการยุบสภาตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค. เป็นต้นมา ได้เฝ้าสังเกตการณ์การทำงานของสื่อมวลชน พบว่ามีสื่อมวลชนหลายสำนักรายงานข่าวรายงานกิจกรรมการหาเสียงของ ส.ส. และพรรคการเมือง อาจจะไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2561 แก้ไขเพิ่มเติม ที่ระบุว่าห้ามผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใดใช้สื่อมวลชน วิทยุ โทรทัศน์ หาเสียงเว้นแต่เป็นไปตามที่ กกต.กำหนด ซึ่ง กกต. กำหนดว่าการหาเสียง​ หรือการรายงานข่าวของสื่อมวลชนนั้นจะต้องเสนอภาค เป็นกลาง และเที่ยงตรง แต่ที่ผ่านมาพบว่ามีสื่อมวลชนบางสำนัก โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์​ มักจะเชิญผู้สมัครรับเลือกตั้ง เชิญตัวแทนพรรคการเมืองมาออกโทรทัศน์​ โดยเฉพาะการจัดดีเบต ซึ่งในการจัดในหลายครั้งก็สังเกตว่าส่วนใหญ่จะเชิญพรรคการเมืองมาไม่ถึง 10 พรรคการเมือง ส่วนใหญ่เป็นพรรคเดิมๆ​ ไม่ว่าจะเป็นพรรคเพื่อไทย, พรรครวมไทยสร้างชาติ, พรรคก้าวไกล, พรรคภูมิใจไทย, พรรคประชาธิปัตย์, พรรคประชาชาติ, พรรคไทยภักดี และพรรคไทยสร้างไทย เป็นต้น​ ซึ่งเชิญไม่เกิน 10 พรรค ทั้งๆที่การเลือกตั้งครั้งนี้มีพรรคการเมืองส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งเกือบ 70 พรรคการเมือง มีผู้สมัคร 4,781 คน

“ถือเป็นการลำเอียง ไม่เสมอภาค​ และเที่ยงธรรมในการรายงานข่าว และสื่อบางช่องรายงานข่าวผู้สมัครบางคนทุกวัน โดยเฉพาะสื่อมวลชนที่เกี่ยวพันกับนักการเมือง ซึ่งอาจจะมีภรรยาไปลงเลือกตั้ง ส่วนตัวคิดว่าการเสนอข่าวแบบนี้ทำให้เกิดผลได้ และผลเสียต่อผู้สมัครรับเลือกตั้งบางคนบางพรรค จึงมาร้องให้ กกต.บังคับใช้กฎหมาย หรือสั่งการไปยังสื่อสำนักต่างๆ ว่าดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ใช่ชี้นำ ลำเอียง หรือรายงานข่าวเฉพาะคนที่ตัวเองสนใจ เพราะกฎหมายก็คือกฎหมายต้องยึดถือความเสมอภาค ความเป็นกลาง และเที่ยงตรง จึงจำเป็นต้องมายื่นให้ กกต. รับรู้และดำเนินการตามประเด็นที่กฎหมายกำหนด หาก กกต.เพิกเฉยหลังเลือกตั้งก็จะมีประเด็นที่นำมาสู่การฟ้องร้อง ซึ่งอาจจะนำไปสู่การทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะได้”

เมื่อถามว่าขณะมีการตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใด​ นายศรีสุวรรณ​ จึงไม่ร้องเรียนพรรคการเมืองอื่นบ้าง เช่น พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) โดยเฉพาะกรณีการหาเสียงโดยยิงแสงเลเซอร์ไปบนสะพานพระราม 8 นายศรีสุวรรณ ถามกลับผู้สื่อข่าวว่า แล้วมีประเด็นผิดอะไรหรือไม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยร้องเรียนเรื่องของการปราศรัยดึงสถาบันพระมหากษัตริย์มานั้นตนได้ร้องเรียนไปแล้ว ส่วนเรื่องพระราม 8 ขอให้ไปอ่านในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่ามีหนังสือของกกต. ตอบกลับไปยังพรรคการเมืองต่างๆ โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย ตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย.ที่ผ่านมา ว่าการใช้สื่อดิจิทัลดังกล่าวนั้น ไม่ผิดกฎหมาย ดังนั้นเมื่อไม่ผิดกฎหมาย ส่วนตัวเป็นนักกฎหมาย จะไปร้องให้อายตัวเอง แต่ในเรื่องของความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง อาจจะไม่เหมาะสมก็ได้ แต่ในแง่กฎหมายนั้นอาจจะไม่ผิดเพราะ กกต.กล่าวไปอย่างนั้นแล้ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกต.ป้ายแดง ไม่กดดันพิจารณาคดีร้อนยุบพรรค

นายสิทธิโชติ อินทรวิเศษ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์ถึงการเข้ารับตำแหน่งกกต. ว่า ก่อนหน้านี้กกต.ทำงานได้ดีอยู่แล้ว แต่ถ้ามองจากข้างนอกก็มีอุปสรรคปัญหาที่สะท้อนกลับมาในบางเรื่อง ซึ่งเป็นภาพรวมที่ว่ากกต.ทำอะไรกันอยู่ กกต.ทำอะไรถึงไหนแล้ว พอตนเข้ามานั่งอยู่ในตำแหน่งกกต. สิ่งหนึ่งที่อยากพัฒนาก็คือความสามารถ

ศาลอาญาคดีทุจริตฯ นัดฟังคำสั่ง 'ก้าวไกล' ฟ้อง 'กกต.' 2 มาตรฐาน ปมยุบพรรค

ศาลอาญาคดีทุจริตเเละประพฤติมิชอบกลาง อ่านคำสั่งในคดีที่ เรือเอก ย. เป็นโจทก์ยื่นฟ้องคณกรรมการการเลือกตั้งทั้ง6 เเละเลขาฯกกต.กับพวกรวม 7 คน คดีอาญาหมายเลขดำที่ อท 58/2567 ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157ประกอบมาตรา83

กกต.ได้เอกสาร 44 สส.ก้าวไกลลงชื่อแก้ 112 ส่งศาลรธน.พิจารณายุบพรรคแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากกรณีศาลรัฐธรรมนูญยังไม่พิจารณาคำร้องยุบพรรคก้าวไกลเนื่องจากมีเอกสารบางรายการที่กกต.ส่งไปไม่ชัดเจนและมีคำสั่งให้กกต. ส่งเอกสารที่ชัดเจนให้กับศาลรัฐธรรมนูญภายใน