'สังศิต' ชี้ 3 ปัจจัยหลัก นำพาจีนพ้นความยากจนสำเร็จ

'สังศิต' ชี้ 3 ปัจจัยหลักสำคัญคือ แนวทางชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์อันเข้มแข็ง ระบบการศึกษา และการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน นำพาจีนพ้นความยากจนสำเร็จ

26พ.ค.2566-ช่วงบ่ายวันอังคารที่ 23 พฤษภาคม 2566 เวลา 16:20 นาฬิกา นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภาและคณะ เดินทางถึงมหาวิทยาลัยกว่างซี พบกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยกว่างซี ประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การแก้ไขปัญหาความยากจน และแนวทางว่าด้วยยุทธศาสตร์การฟื้นฟูชนบท โดยมี Mr.Fan Zuojun รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยกว่างซี และคณะให้การต้อนรับ

Mr.Fan Zuojun นำเสนอแนวคิด ข้อมูลการแก้ปัญหาความยากจนของจีนให้นายสังศิตและคณะกรรมาธิการฯ ว่า “มหาวิทยาลัยกว่างซีก่อตั้งเมื่อปี 1928 ปัจจุบันมีนักศึกษาประมาณ 40,000 คน มีอาจารย์ประจำ 3,600 คน มีทั้งหมด 26 คณะ 38 หลักสูตร ซึ่งนอกจากบทบาทและหน้าที่ในการดูแลนักศึกษาที่มีฐานะยากจนในมหาวิทยาลัยกว่างซีแล้ว มหาวิทยาลัยกว่างซียังมีบทบาทที่สำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนในมณฑลกว่างซีจ้วงตามนโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยทางมหาวิทยาลัย ได้รับผิดชอบการแก้ไขปัญหาความยากจนใน 6 หมู่บ้าน”

“มหาวิทยาลัยจะส่งเจ้าหน้าที่อาสาสมัครนำเทคโนโลยีและความรู้ใหม่ๆ ส่งเสริมการทำเกษตรกรรมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งเสริมด้านการตลาดและยังนำผลผลิตทางการเกษตรมาสู่กลุ่มผู้บริโภคภายในมหาวิทยาลัยด้วย จนสามารถแก้ไขปัญหาความยากจนในส่วนที่รับผิดชอบให้สำเร็จลุล่วง ตามนโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้สำเร็จ”

นายสังศิต กล่าวว่า จากการประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหารมหาวิทยาลัยกว่างซีกับคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ รัฐบาลสีจิ้นผิงของประเทศจีน สามารถบรรลุภารกิจที่สำคัญที่สุดของประเทศ จนส่งผลสะเทือนไปทั่วโลก สามารถแก้ปัญหาความยากจนได้สำเร็จจาก 3 ปัจจัยสำคัญที่สุดคือ

1. บทบาทของพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีแนวทาง นโยบาย มาตรการ วิธีการ คำชี้แนะ และคำสั่งที่เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของประเทศจีน การมีองค์การจัดตั้งของพรรคฯ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน อำเภอ เมือง มณฑลจนถึงระดับชาติ การมีผู้ปฏิบัติงานและสมาชิกพรรคที่ทุ่มเทและเสียสละเพื่อประชาชน เพื่อชาติและเพื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนอย่างถึงที่สุด

2. การสร้างระบบการการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศของโลกควบคู่กันไปกับการเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาและส่งเสริมคุณภาพทางการศึกษาให้แก่นักเรียนและนักศึกษาให้กว้างขวางมากที่สุด ด้วยระบบการอบรมการศึกษาและวิธีการศึกษาแก่นักศึกษาที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงแบบจีน และ

3. การส่งเสริมและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาทุกๆ ด้านของสังคม ตั้งแต่การพัฒนาด้านการเกษตรในระดับหมู่บ้านที่มีการนำเทคโนโลยีระดับสูงเข้ามาช่วย การตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อการแปรรูปสินค้าเกษตร และการตลาดทั้งภายในประเทศและตลาดโลก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดกาสิโน มีโอกาส เกิดในรัฐบาล เศรษฐา แต่ต้องไม่ล็อก-เอื้อกลุ่มใด

ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา ได้ลงมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาศึกษาเรื่อง การเปิดสถานบันเทิงครบวงจร(ENTERTAINMENT COMPLEX)

'สังศิต' เผยแพร่บทความ 'ตำรวจ : เดินหน้าหรือถอยหลัง' หนุนปฏิรูปเป็นตำรวจจังหวัด

รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา เพยแพร่บทความเรื่อง ตำรวจ : เดินหน้าหรือถอยหลัง มีเนื้อหาดังนี้

'สังศิต' จวก ส.ส.โง่เขลา ตัดงบฯ 'ฝายแกนดินซีเมนต์' ผลักไสชาวบ้านจมลึกสู่ความยากจน

รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา เผยแพร่บทความ เรื่อง หยุดผลักไสชาวอีสาน ชาวเหนือจมลึกสู่ความยากจน!? ตัดงบประมาณ “ฝายแกนดินซีเมนต์” 2567

การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน

หนึ่งในทรัพยากรที่มีความสำคัญในการดำเนินธุรกิจ และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ คือทรัพยากรมนุษย์ เนื่องจากประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์

'สังศิต' เผยแพร่บทความ 'การควบคุมคอร์รัปชัน : บทเรียนจากเยอรมัน' ความแตกต่างกับไทย

รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา เผยแพร่บทความ เรื่อง การควบคุมคอรัปชั่น: บทเรียนจากเยอรมัน มีเนื้อหาดังนี้่

แฉเหตุ 'สายพันธุ์ข้าวไทย' ที่ถูกจดทะเบียน ตกอยู่ในมือของกลุ่มธุรกิจผูกขาด

'ดร.สังศิต' ลุยพื้นที่แปลงวิจัยพัฒนาพัฒนาพันธุ์ข้าว เผยการพัฒนาสายพันธุ์ข้าว เป็นงานที่ยากลำบาก แต่เมื่อทำเสร็จกลับไม่สามารถขึ้นทะเบียนตามกฎหมายได้เพราะมีราคาแพงลิบลิ่ว สายพันธุ์ข้าวที่ถูกจดทะเบียน จึงตกอยู่ในมือของกลุ่มธุรกิจผูกขาดเพียงกลุ่มเดียว