'พิธา' สะดุ้ง 'ผู้ช่วยกรณ์' ชี้กฎหมายเลือกตั้งเขียนไว้โหดมาก 'หัวหน้าพรรค' อาจโดนคดีจำคุกถึง 5 ปี

'ผู้ช่วยกรณ์' เล่าตอนที่่กรณ์เป็นหัวหน้าพรรคต้องแบบความรับผิดชอบตรวจคุณสมบัติผู้สมัคร มีคนอยากลงสมัครหลายคนไม่ผ่านเกณฑ์คัดสรร ชี้กฎหมายเลือกตั้งเขียนไว้โหดมาก 'หัวหน้าพรรค' อาจโดนคดีได้โดยไม่ต้องมีใครแกล้ง จำคุกถึง 5 ปี

28 ก.ค.2566 - นายพัสณช เหาตะวานิช ผู้ช่วยดำเนินงานนายกรณ์ จาติกวณิช อดีตหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก หัวข้อ สิ่งที่ ‘หัวหน้าพรรค’ ต้องแบก!? มีเนื้่อหาดังนี้
.
เล่าให้ฟังครับ ตอนที่คุณ กรณ์ จาติกวณิช - Korn Chatikavanij ยังเป็นหัวหน้าพรรคอยู่ เรื่องนึงที่ทีมทุกคนต้องระวังมากที่สุดช่วงเลือกตั้งคือ “การตรวจคุณสมบัติผู้สมัคร”
.
กฎหมายเขียนไว้โหดมาก และผู้รับผิดชอบหนักสุดคนหนึ่งคือ “หัวหน้าพรรค” โดยเฉพาะหากมีการส่งผู้สมัครที่ 'ขาดคุณสมบัติ' หรือมี 'ลักษณะต้องห้าม' ลงสนามเลือกตั้ง
.
เชื่อมั้ยครับว่า มีคนอยากลงสมัครกับเราหลายคน “ไม่ผ่านเกณฑ์คัดสรร” เพราะไม่สามารถนำเอกสารราชการมายืนยันคุณสมบัติของตัวเองได้
.
ตอนนั้นขั้นตอนพื้นฐานในการตรวจสอบคือ
1. เช็คกับ กกต.ว่า ผู้สมัครทุกคนใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนหน้าครบถ้วนตามเงื่อนไขหรือไม่
.
2. เช็คกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่ามีประวัติอาชญากรรม เคยต้องคดีหรือไม่ เคยถูกพิพากษาจำคุกหรือไม่ เคยเข้าไปอยู่ในคุกจริงมั้ย สำคัญสุดคือ ประเภทคดีเป็นคดีอะไร
.
3. นอกจากทางกฎหมาย หลายพฤติกรรมเสี่ยงก็ถูกเช็ตและประเมินอย่างเป็นระบบเช่นกัน บูโรเป็นยังไง คบคนแบบไหน วุฒิต่างๆ ได้มาจริงตามที่กล่าวอ้างหรือไม่
.
จำได้เลยว่า ผู้สมัครหลายคนตัองไปคัดสำเนาคำพิจารณาคดีจากศาลมาเป็นหลักฐานให้กับพรรคว่า 'คดีสิ้นสุดแล้วจริง' ถึงจะได้ลง!
.
บางเคสจำได้ว่า ต้องรอสมัครวันสุดท้ายเลย เพราะความเข้นข้นของการตรวจสอบขั้นสุด
.
หัวหน้าทีมกฎหมายของพรรคทำงานหนักมาก เพราะนอกจากตรวจเอกสารแล้ว ยังมีการ ‘สอบปากคำ’ โดยตรงกับผู้สมัครอีกด้วย
.
คุณกรณ์เอง ช่วงนั้นต้องนั่งฟังการสอบปากคำ เพื่อความรัดกุมที่สุดด้วยแทบทุกรอบ
.
สิ่งที่ “หัวหน้าพรรค” แบกไว้นั้นหนักหนามากนะครับ
เพราะนี่คือสิ่งที่พรรคการเมืองต้องทำหน้าที่คัดสรรตัวแทนประชาชนที่ดีที่สุดในพื้นที่นั้นๆ มาให้ประชาชนเลือก
.
และยิ่งไปกว่านั้นหัวหน้าพรรคอาจจะโดนคดีได้โดยไม่ต้องมีใครแกล้งเลย ไม่ว่าจะเป็น..
.
พรป.พรรคการเมือง ม.56 ม.120
= จำคุกหัวหน้าพรรค 5 ปี
.
พรป.พรรคการเมือง ม.52 + ม.117
= จำคุก หัวหน้าพรรค + กรรมการบริหารพรรค 6 เดือน
.
พรป.เลือกตั้ง ส.ส. ม.151
= จำคุกตัวผู้สมัครเอง 1 - 10 ปี
.
หากพิสูจน์ไม่ได้ว่าตรวจคุณสมบัติมาอย่างดี และเข้มงวดแล้วไปเซ็นรับรองให้ใครต่อใครที่มีคุณสมบัติต้องห้าม ให้ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งล่ะก็ น่าจะรอดยาก..

ทั้งนี้นายนครชัย ขุนณรงค์ ส.ส.ระยอง เขต 3 พรรคก้าวไกล ได้ประกาศลาออกจากสส.ภายหลังถูกตรวจสอบพบว่าขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98 โดยยอมรับเคยต้องโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน ขณะที่กกต. อยู่ในขั้นตอนของการตรวจสอบ และรวบรวมพยานหลักฐานและข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนส่งศาลรํฐธรรมนูญเพื่อพิจารณา และมีคำสั่งให้นายนครชัย พ้นจากตำแหน่ง สส. คล้ายกระบวนการของนายสิระ เจนจาคะ อดีต สส.กรุงเทพฯ และมีคำสั่งให้ กกต.จัดการเลือกตั้งซ่อม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วุฒิสภา นัดถกรายงานเสนอ กกต. แก้กฎหมายเลือกตั้ง-พรรค ใช้โซเชียลหาเสียง

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ได้นัดประชุมในวันที่ 9 เม.ย. โดยมีวาระพิจารณาที่น่าสนใจ คือ การพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ที่มีนายเสรี สุวรรณภานนท์ สว.

กกต. วินิจฉัย 'โย พงศธร' ผู้สมัครก้าวไกล มีคุณสมบัติลงเลือกตั้งซ่อม สส.ระยอง

กกต.เผยแพร่คำวินิจฉัยยัน "พงศธร" ผู้สมัครกก.มีคุณสมบัติลงสมัครเลือกซ่อมส.ส.ระยอง เขต3 หลังถูกร้องยังเป็นผู้สมัครปาร์ตี้ลิสต์

รู้ดีทุกเรื่องยกเว้นเรื่องตัวเอง! ก้าวไกลบอกขอสอบเรื่อง สส.เคยเป็นนักโทษก่อน

'ณัฐวุฒิ' เผยก้าวไกลกำลังตรวจสอบปม สส.ระยองเคยต้องโทษอย่างรอบคอบ รอเอกสารเพิ่มเติมก่อนแถลง ยันตอนสมัครไม่พบปมนี้ พร้อมขอบคุณ 'เสรีพิศุทธ์' ที่ออกมาเปิดเรื่องนี้ ไม่คลางแคลงใจ