'อ.ไชยันต์' ยกประวัติศาสตร์ ขอพระราชทานอภัยโทษ เตือนครม.พิจารณาให้ดีถี่ถ้วนและรอบคอบ

'อ.ไชยันต์' ยกประวัติศาสตร์ การขอพระราชทานอภัยโทษ ยุคจอมพลป. เตือนครม.พิจารณาให้ดีถี่ถ้วนและรอบคอบ ระหว่าง ความยุติธรรม-ความสงบของบ้านเมือง-แบบอย่างที่ควรเป็นสำหรับอนาคต

1ก.ย.2566 - ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร แห่งภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า

การขอพระราชทานอภัยโทษตามกฎหมายปัจจุบัน
คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ขอให้พระราชทานอภัยโทษ
บัดนี้ ได้มีการทำหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษคุณทักษิณ ชินวัตร และมาถึงคุณวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีแล้ว
จะเป็นคณะรัฐมนตรีชุดไหนก็ตามที่จะทูลเกล้าฯขอพระราชทานอภัยโทษ
โปรดพิจารณาให้ ดี ถี่ถ้วนและรอบคอบ ระหว่าง ความยุติธรรม-ความสงบของบ้านเมือง-แบบอย่างที่ควรเป็นสำหรับอนาคต
และที่สำคัญคือ พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษขององค์พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐ
ที่มีสถานะแตกต่างจากอำนาจในการให้อภัยโทษของประมุขของรัฐที่เป็นประธานาธิบดี
————-
ในกรณีจำเลยคดีสวรรคตรัชกาลที่ 8 ที่ต้องคำพิพากษาประหารชีวิต

มีการเผยแพร่ข้อมูลว่า จอมพล ป พิบูลสงครามได้ทำเรื่องถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้นักโทษคดีสวรรคตถึง 3 ครั้ง

และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ยกฎีกาของจำเลยทั้งสามเสีย
ข้อมูลนี้ไม่เป็นความจริง

หลักฐานชิ้นแรกที่มีน้ำหนักเชื่อถือได้มากกว่าคำบอกเล่าจาก พล.ต.อนันต์ พิบูลสงคราม คือ

เอกสารหัวข้อการประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ 74/2497 วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม 2497 เรื่อง คำพิพากษาศาลฎีกาลงโทษประหารชีวิตนายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนี และนายบุศย์ ปัทมศริน ฐานสมคบกับพวกร่วมรู้ในการปลงพระชนม์ในหลวง ร.8 มีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 97

หลักฐานชิ้นนี้ยืนยันได้ว่า ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2497 จำเลยทั้งสามเป็นผู้ทูลเกล้าถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ โดยยื่นผ่านกรมราชทัณฑ์ และฎีกาของทั้งสามถูกนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2497

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขณะนั้น (จอมพล ป พิบูลสงคราม) ได้สอบสวนพิจารณาแล้ว ไม่เห็นควรจะพระราชทานอภัยลดโทษให้ โดยอ้างว่าเรื่องนี้เป็นการประทุษร้ายแก่บุคคลสำคัญของประเทศ ตามหลักการของกระทรวงมหาดไทยซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยแล้วนั้น จะไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้ ควรยกฎีกาเสีย
หลักฐานที่สองคือ ท่าทีของจอมพล ป. เองที่มีพฤติการณ์ขัดแย้งกับคำบอกเล่าว่า ตนเองถวายฎีกาไปถึง 3 ครั้ง
ช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2498 (10 เดือนหลังการประหารชีวิต) นางสุนีรัตน์ เตลาน ส.ส.นครสวรรค์ ได้เสนอ “ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐานกบฏและจลาจล” ต่อสภาผู้แทนราษฎร โดยมีบทบัญญัติครอบคลุมทั้งหมด รวมทั้ง “ผู้ที่ได้ถูกฟ้องและรับโทษตามคำพิพากษาแล้ว หรือยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล หรือในระหว่างสอบสวนของเจ้าพนักงานสอบสวน” ให้เป็นอันพ้นจากความผิดนั้น ๆ ทั้งสิ้น

ซึ่งจอมพล ป. ได้โต้แย้งว่าไม่ควรรับรองร่าง พ.ร.บ.นี้ เพราะคดียังไม่สิ้นสุด อีกทั้งในคดีสวรรคตนั้น ในหลวง ร.8 ก็เป็นถึงสมเด็จพระเชษฐาธิราชของรัชกาลปัจจุบัน ถ้าเราจะกราบบังคมทูลขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไป ทางรัฐบาลก็จำเป็นต้องระมัดระวังว่าจะเป็นการสมควรเหมาะสมหรือไม่ เพราะฉะนั้น คิดว่าในปัจจุบันนี้ประชาชนจะไม่ให้ความสนับสนุน ถ้าหากว่าเราได้ประกาศนิรโทษกรรมพวกเหล่านี้ไป

หลักฐานสุดท้ายคือ คำกล่าวของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล จากบทความ เรื่อง “50 ปีการประหารชีวิต 17 กุมภาพันธ์ 2498” ที่แย้งบันทึกของ พล.ต.อนันต์ พิบูลสงคราม

โดยสมศักดิ์ฯ ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ทำนองว่า โดยสามัญสำนึกใครที่อ่านเรื่องนี้แล้ว ควรต้องสงสัยว่าการขอพระราชทานอภัยโทษในคดีเดียวจะสามารถทำได้ “ถึงสามครั้ง” หรือ?
ซึ่งคำบอกเล่าของ พล.ต.อนันต์ฯ ก็เป็นการรับฟังมาจาก จอมพล ป. อีกทอดหนึ่ง และการบอกเล่าของจอมพล ป. ก็เป็นเพียงคำบอกเล่าด้วยวาจาเท่านั้น

สรุปได้ว่า การที่จอมพล ป. กล่าวอ้างว่าตนได้ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้นักโทษคดีสวรรคตถึง 3 ครั้งนั้น ไม่เป็นความจริง เพราะจากหลักฐานทั้งหมด เป็นที่ชัดเจนว่า จำเลยทั้งสามเป็นผู้ทูลเกล้าถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ และแม้รัฐบาลจะทูลเกล้าถวายฎีกาไปยังในหลวง ร.9 ก็ตาม แต่รัฐบาลก็มีข้อแนะตามที่ลงมติไว้ด้วยว่า “ไม่ควรจะพระราชทานอภัยลดโทษให้ เนื่องจากเรื่องนี้เป็นการประทุษร้ายแก่บุคคลสำคัญของประเทศ”

และสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ผู้ตั้งคำถามต่อบันทึกของ พล.ต.อนันต์ พิบูลสงคราม ยังได้สรุปในประเด็นนี้เอาไว้ด้วยว่า การที่ในหลวงโปรดเกล้าฯ ให้ยกฎีกานี้ เพราะทรงอาศัยเหตุผลอย่างเดียวกับคณะรัฐมนตรีคือ “เป็นการประทุษร้ายแก่บุคคลสำคัญของประเทศ” ซึ่งเป็นเหตุผลที่อยู่บนความถูกต้องจากการพิจารณาและคำพิพากษาของศาลนั่นเอง

(ขอขอบคุณข้อมูลจาก luehistory)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อ.ไชยันต์' เปิดพระราชบันทึก Democracy in Siam พระปกเกล้าฯ เตรียมการสู่ปชต.

ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2567 โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า

'อ.ไชยันต์' โต้ 'อ.สุลักษณ์' ยันร่างรธน.ของร.7กล่าวถึงสภานิติบัญญัติ-การเลือกตั้งไว้ด้วย

'อ.ไชยันต์' ยกสาระสำคัญของเค้าโครงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง ที่ร.7จะพระราชทาน โต้ อ.สุลักษณ์ ยันร่างรธน.มิได้เพียงเสนอให้มีนายกฯเท่านั้น แต่ได้กล่าวถึงสภานิติบัญญัติ และการเลือกตั้งไว้ด้วย

'ทักษิณ' เปิดตัวโชว์ชัดๆว่าไม่ได้ป่วย ท้า คณะแพทย์ ราชทัณฑ์ รมว.ยุติธรรม แถลงความจริง

นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ซึ่งอยู่ระหว่างการพักโทษ เดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่ ว่า

จับตา 'ทักษิณ-เศรษฐา' นัดพบเชียงใหม่ แจ้งข่าวเจรจาดีลใหม่ต่ออายุนายกฯ

'จตุพร' เชื่อทักษิณ-เศรษฐา ส่อนัดพบเชียงใหม่ คาดแจ้งข่าวเจรจาดีลใหม่ขอเป็นนายกฯ จับตามีนาแรงกระเพื่อมถี่มีสถานการณ์ร้อนรุ่มเกิดขึ้น ชี้ข้อตกลงเดิมอาจพลิกเปลี่ยนไม่ราบรื่นได้ช่วงพริบตา ขอ ปชช.อย่านิ่งดูดาย แนะรวมพลังปกป้องประโยชน์ชาติ ยึดมั่นรักษาบ้านเมืองไว้