ระทึก! ศาลปกครองอ่านคำพิพากษา 'มหากาพย์โฮปเวลล์'

แฟ้มภาพ

17 ก.ย.2566 –  วันจันทร์ที่ 18  กันยายน 2566  เวลา 13.30 น. ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำพิพากษา ในคดีหมายเลขดำที่ ๑๐๗/๒๕๕๒ คดีหมายเลขดำที่ ๒๐๓๘/๒๕๕๑ คดีหมายเลขดำที่ ๑๓๗๙/๒๕๕๒ คดีหมายเลขแดงที่ ๓๖๖-๓๖๘/๒๕๕๗ ระหว่าง กระทรวงคมนาคม ที่ ๑ กับพวกรวม ๒ คน (ผู้ร้อง) กับ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด (ผู้คัดค้าน) คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง (คำขอพิจารณาคดีใหม่)

คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดง ที่ อ. ๒๒๑ – ๒๒๓/๒๕๖๒ ให้ยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง และให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการโดยให้ผู้ร้องทั้งสองปฏิบัติตามคำชี้ขาด ให้แล้วเสร็จภายใน ๑๘๐ วันนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด

ต่อมาผู้ร้องทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ ซึ่งศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่ง

ให้รับคำขอพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ของผู้ร้องทั้งสองไว้พิจารณา และให้ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาคำขอให้ศาลมีคำสั่งงดการบังคับคดีของผู้ร้องทั้งสองต่อไป เนื่องจากศาลปกครองสูงสุด

โดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ ๕/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๔ ที่วินิจฉัยว่า มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ครั้งที่ ๑๘/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงเป็นกรณีที่ข้อกฎหมายที่ศาลปกครองสูงสุด       ใช้ในการทำคำพิพากษาหรือคำสั่งเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ ซึ่งทำให้ผลแห่งคำพิพากษาหรือคำสั่ง

ขัดกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น กระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงชอบที่จะขอให้ศาลปกครองพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีปกครองใหม่ได้ ตามมาตรา ๗๕ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒

แม้ว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญข้างต้นไม่มีผลทำให้คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขแดงที่ อ. ๒๒๑ – ๒๒๓/๒๕๖๒ ซึ่งทำขึ้นโดยอาศัยมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดดังกล่าว ใช้บังคับมิได้หรือต้องสิ้นผลบังคับผูกพันลง ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๒ วรรคสาม แต่มิได้มีผลเป็นการห้ามมิให้คู่กรณีหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด

ในคดีนี้ นำผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญข้างต้นมาใช้เป็นข้ออ้างในการขอให้ศาลปกครองพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีนี้ใหม่ ตามมาตรา ๗๕ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่อย่างใด

ณ ห้องพิจารณาคดี 10 ชั้น 3 อาคารศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดเบื้องหลัง สว.ตีตก สกัด”วิษณุ”นั่งเก้าอี้ ประมุขศาลปกครอง

มติการออกเสียงของที่ประชุมวุฒิสภา เมื่อวันจันทร์ที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ที่สมาชิกวุฒิสภาหรือสว. ลงมติด้วยคะแนนเสียงข้างมาก 158 เสียง ต่อ 45 คะแนน

ศาลปกครองสูงสุดกลับคำสั่งศาลชั้นต้นให้รับฟ้องเพิกถอนควบรวม ทรู-ดีแทค

ศาลปกครองสูงสุด กลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น โดยให้รับคำฟ้องของผู้บริโภค 5 รายในคดีขอให้เพิกถอนมติคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) กรณีรับทราบ

'วิรังรอง' บอกใครเข้าใจผิด โปรดอ่านคำชี้แจง ศาลปกครองไม่เคยมีคำสั่งบังคับคดีอุเทนถวาย

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ และนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 30 โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ศาลปกครองชี้แจงไม่ได้พิพากษาบังคับคดีอุเทนถวาย คำชี้แจงของศาลปกครองชัดเจนนะคะ