สะท้านวงการ! ศาลเปิดให้ฟ้องคดีแรงงานทางออนไลน์ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

ดีเดย์! เปิดบริการแล้วระบบปรึกษาและยื่นคำคู่ความคดีแรงงานทางออนไลน์ ลูกจ้างฟ้องได้เองคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรรม ผ่านระบบ CIOS

21 ก.ย.2566 - นายสรวิศ ลิมปรังษี โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวว่า ที่ผ่านมาเมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม ลูกจ้างมีสิทธิที่จะฟ้องร้องดำเนินคดีต่อนายจ้างได้ แต่ต้องเดินทางไปที่ศาลแรงงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้บางครั้งลูกจ้างอาจประสบความยากลำบาก เนื่องจากอาจมีภารกิจอื่นที่ต้องรับผิดชอบทั้งในด้านครอบครัว หรือการหาเลี้ยงชีพ ศาลยุติธรรมได้เล็งเห็นว่าหากจะให้ลูกจ้างสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ดียิ่งขึ้น ควรต้องมีช่องทางที่อำนวยความสะดวกให้มากขึ้น โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อที่จะทำให้ลูกจ้างสามารถเข้าถึงกระบวนการทางศาลได้ โดยในขณะเดียวกันสามารถดูแลภาระความรับผิดชอบด้านอื่นไปพร้อมกันได้ ศาลยุติธรรมจึงได้พัฒนาระบบการยื่นคำคู่ความในคดีแรงงานทางระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยในระยะเริ่มแรกเรียกว่าระบบปรึกษาและยื่นคำคู่ความคดีแรงงานทางออนไลน์ (e-Service for labour cases) ผ่านระบบ CIOS

นายสรวิศกล่าวว่า ระบบดังกล่าวนี้เป็นไปตามนโยบายรักศาล ร่วมใจ รับใช้ประชาชน ของนายโชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ ประธานศาลฎีกา โดยเป็นช่องทางที่จะช่วยให้ศาลสามารถให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งระบบปรึกษาและยื่นคำคู่ความคดีแรงงานทางออนไลน์นี้ นอกจากจะอำนวยความสะดวกและลดภาระค่าใช้จ่ายแก่บรรดาลูกจ้างเช่น ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังศาลแรงงานแล้ว ยังมีส่วนช่วยทำให้ลูกจ้างได้รับคำแนะนำทางด้านกฎหมายที่ถูกต้องในช่องทางที่สะดวกอันจะทำให้สามารถดูแลรักษาสิทธิของตนได้อย่างเต็มที่ โดยศาลยุติธรรมจะเปิดบริการให้สามารถยื่นฟ้องทางออนไลน์ได้ด้วยตนเอง ซึ่งวันที่ 21 กันยายน 2566 เป็นวันแรก พร้อมให้บริการระบบปรึกษาและยื่นคำคู่ความคดีแรงงานทางออนไลน์อย่างเป็นทางการ

สำหรับขั้นตอนการยื่นคำคู่ความคดีแรงงานทางออนไลน์นั้น ให้ติดตั้งแอพพลิเคชั่น COJ Connect ซึ่งใช้ได้ทั้งระบบ ios และ Android โดยให้กดเข้าไปยังลิงก์เว็บไซด์ https://cios.coj.go.th/labour เพื่อดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น จากนั้นเข้าไปกรอกข้อมูล พิสูจน์และยืนยันตัวตนตามขั้นตอนที่ระบุไว้อย่างถูกต้องครบถ้วน จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนการกรอกข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ถูกเลิกจ้างหรือถูกปฎิบัติอย่างไม่เป็นธรรม เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนดังกล่าว นิติกรจะตรวจสอบข้อมูลในระบบที่ได้รับจากลูกจ้างซึ่งหากมีคำถามหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมนิติกรจะติดต่อกลับเพื่อสอบถามและให้คำปรึกษาในการร่างคำฟ้องทางออนไลน์ เมื่อลูกจ้างยืนยันตัวร่างคำฟ้องถูกต้องสมบูรณ์แล้ว ก็จะยื่นคำฟ้องเข้าในระบบต่อไป จากนั้นเมื่อเข้าสู่ขั้นตอนของศาลผู้พิพากษาก็จะพิจารณาในการสั่งประทับรับฟ้องหรือไม่รับฟ้อง ในกรณีที่มีการสั่งฟ้องแล้ว เจ้าหน้าที่ศาลจะกำหนดวันนัดพิจารณาผ่านทางระบบออนไลน์

ส่วนประเภทคดีที่สามารถยื่นฟ้องผ่านระบบได้นั้น ได้แก่ 1.คำฟ้องเรียกค่าชดเชย 2.คำฟ้องเรียกค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 3.คำฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และ 4.คำฟ้องเรียกค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด สำหรับประเภทนายจ้างที่อาจถูกฟ้อง ได้แก่ 1.บุคคลธรรมดา 2.ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 3.ห้างหุ้นส่วนจำกัน 4.บริษัทจำกัด และ 5.บริษัทมหาชนจำกัด

“ศาลยุติธรรมมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการพัฒนาระบบปรึกษาและยื่นคำคู่ความคดีแรงงานทางออนไลน์ ผ่านระบบ CIOS จะยกระดับการอำนวยความยุติธรรมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมใหม่มาสนับสนุนเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการบริการของศาลยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก ประหยัด รวดเร็ว เสมอภาค และเท่าเทียม อันเป็นการกระจายการเข้าถึงความยุติธรรมในคดีแรงงานให้ทั่วถึง ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลแรงงานกลางและศาลแรงงานภาค 1 - 9 ซึ่งถือว่าเป็นมิติใหม่ที่ลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีถูกเลิกจ้างหรือถูกปฎิบัติอย่างไม่เป็นธรรมสามารถเป็นโจทก์ยื่นฟ้องด้วยตนเองผ่านทางระบบออนไลน์ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศาลอาญาดีเดย์ต้น เม.ย.เปิดแผนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

เม.ย.อธิบดีศาลอาญาเปิดเเผนกคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีจัดผู้พิพากษาเชี่ยวชาญนั่งพิจารณาคดีบัญชีม้า เว็บพนันฉ้อโกงออนไลน์ทันท่วงที ต่อยอดการเป็นศาลดิจิทัลสืบพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์

โฆษกศาลฯแจงไทม์ไลน์คดี 'ยิ่งลักษณ์' ศาลฎีกาใช้เวลาพิจารณาเพียง1 ปี 5 เดือน

โฆษกศาลยุติธรรมแจงไทม์ไลน์คดียิ่งลักษณ์ศาลฎีกาใช้เวลาพิจารณาพิพากษาเพียง 1 ปี 5 เดือนเศษไม่ใช่ 12 ปีตามที่สื่อบางแห่งเสนอ

‘ลุงพล’ยกเหตุ ไม่ได้เจตนาฆ่า สู้ในชั้นอุทธรณ์

โฆษกศาลฯ ระบุความเห็นแย้งของหัวหน้าศาลและอธิบดีศาลภาค 4 "คดีน้องชมพู่" จะถูกส่งไปยังศาลอุทธรณ์ไม่ได้มีผลในการเปลี่ยนแปลงของคำพิพากษาโดยตรง

โฆษกศาลฯ แจงปมหัวหน้าศาลมุกดาหาร-อธิบดีศาลภาค 4 มีความเห็นควร 'ยกฟ้อง' ลุงพล

นายสรวิศ ลิมปรังษี โฆษกศาลยุติธรรม เปิดเผยกรณีศาลชั้นต้นจังหวัดมุกดาหาร สั่งจำคุก นายไชย์พล วิภา หรือลุงพล จำเลยคดีน้องชมพู่ จำคุก 20 ปี ว่า สามารถยื่นอุทรณ์ได้ตามขั้นตอนของกฎหมาย ส่วนที่อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 และผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ที่ตรวจสำนวนแล้วเห็นว่าควรยกฟ้อง(เห็นแย้ง)​

เปิดไทม์ไลน์ คดีผู้ต้องหาเยอรมันซื้อบริการเด็กต่ำกว่า 15 ปี ได้ประกันตัวออกนอกประเทศ

นายสรวิศ ลิมปรังษี โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวว่า ประธานศาลฎีกาทราบข้อมูลตามที่ปรากฏข่าวแล้วไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ติดตามความคืบหน้าและให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบเหตุและข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าว ซึ่งอธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 ที่เป็นผู้รับผิดชอบดูแลในเขตภาค 2