โฆษกศาลฯ แจงปมหัวหน้าศาลมุกดาหาร-อธิบดีศาลภาค 4 มีความเห็นควร 'ยกฟ้อง' ลุงพล

โฆษกศาลฯ ชี้ ความเห็นแย้งของหัวหน้าศาลและอธิบดีศาลภาค4 คดี น้องชมพู่ จะถูกส่งไปยังศาลอุทธรณ์พิจารณาส่วนมีน้ำหนักเปลี่ยนจุดคดีเเค่ไหนขึ้นกับองค์คณะศาลอุทธรณ์วินิจฉัย

21 ธ.ค.2566 - นายสรวิศ ลิมปรังษี โฆษกศาลยุติธรรม เปิดเผยกรณีศาลชั้นต้นจังหวัดมุกดาหาร สั่งจำคุก นายไชย์พล วิภา หรือลุงพล จำเลยคดีน้องชมพู่ จำคุก 20 ปี ว่า สามารถยื่นอุทรณ์ได้ตามขั้นตอนของกฎหมาย ส่วนที่อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 และผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ที่ตรวจสำนวนแล้วเห็นว่าควรยกฟ้อง(เห็นแย้ง)​ เนื่องจากพยานหลักฐานโจทก์มีข้อสงสัย ว่าคำเห็นแย้งก็จะแนบในสำนวนคำพิพากษา เมื่อเวลาคดีขึ้นสู่การพิจารณาศาลศาลอุทธรณ์องค์คณะศาลอุทธรณ์ก็จะเห็นทั้งตัวคำพิพากษาศาลชั้นต้นและความเห็นแย้ง

ซึ่งทางองค์คณะศาลอุทธรณ์ก็จะเอาข้อมูลทั้งหมดในสำนวนไม่ว่าจะเป็นคำพิพากษาศาลชั้นต้นรวมทั้งความเห็นแย้งต่างๆข้อที่คู่ความอุทธรณ์ขึ้นมาประกอบในการพิจารณาทำคำพิพากษาชั้นอุทธรณ์ แต่ความเห็นแย้งดังกล่าวคงไม่ได้เป็นจุดเปลี่ยนคำพิพากษาชั้นอุทธรณ์โดยตรง เพราะตัวความเห็นหลักยังเป็นความเห็นขององค์คณะผู้พิพากษาศาลชั้นต้น เพราะองค์คณะผู้พิพากษาเป็นคนสืบพยานเป็นผู้ที่เห็นข้อเท็จจริงในตอนที่พยานมาเบิกความ เห็นข้อเท็จจริงพยานหลักฐานต่างๆอย่างใกล้ชิด ส่วนน้ำหนักความเห็นแย้งจะมีมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับมุมมองขององค์คณะผู้พิพากษาชั้นอุทธรณ์ หากยังเห็นคล้อยไปตามเสียงข้างมากขององค์คณะผู้พิพากษาก็เป็นดุลยพินิจของศาลในชั้นอุทธรณ์ ที่จะต้องวิเคราะห์วินิจฉัยจากข้อเท็จจริงจากคำเบิกความที่รับฟังมา ทั้งพยานเบิกความมา จากพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ต่างๆมาประกอบกัน และเห็นว่าตัวข้อเท็จจริงพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์กับคำเบิกความมีความสอดคล้องกันเพียงพอเชื่อมั่นได้ว่าจำเลยน่าจะเป็นคนที่กระทำความผิด

นายสรวิศย้ำว่าในการบังคับบัญชาของผู้พิพากษาหรือตุลาการไม่เหมือนกับข้าราชการฝ่ายอื่น เพราะถึงแม้ว่าโดยสายของการบังคับบัญชาในองค์กร ผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะฯ จะอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของหัวหน้าศาล อธิบดีผู้พิพากษา แต่การบังคับบัญชาไม่มีผลต่อการพิพากษาคดี เพราะหลักการพิพากษาคดีเป็นอิสระ ไม่ว่าจะเป็นอิสระจากการแทรกแซงภายนอกและภายใน ผู้พิพากษาสามารถใช้ดุลยพินิจในการพิพากษาออกไปได้ โดยที่ไม่ได้เน้นผลของการบังคับบัญชา แต่ในฐานะที่หัวหน้าและอธิบดีศาล เป็นผู้รับผิดชอบราชการในงานของศาลนั้น ก็มีส่วนในการดูแลความเรียบร้อยของศาลที่อยู่ในการดูแลอยูแล้ว ดังนั้นหากผู้บริหารศาลมีอะไรที่เห็นส่วนตัวอาจจะแตกต่างไปจากองค์คณะผู้พิพากษา ก็มีอำนาจตามกฎหมายตามรัฐธรรมนูญที่จะทำความเห็นเเย้งไว้ในสำนวนได้

ส่วนกลุ่มนักกฎหมายที่ออกมาแสดงความเห็นนั้น ตนเองยังไม่ทราบรายละเอียดว่าออกมาแสดงความเห็นกันอย่างไรบ้าง แต่กระบวนการตรงนี้เป็นกระบวนการตามขั้นตอนของกฎหมายอยู่แล้ว ที่องค์คณะผู้พิพากษามีอิสระในการรับฟังพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงในการวินิจฉัยไปตามเหตุและผลจากพยานหลักฐาน ส่วนความเห็นแย้ง เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ให้อำนาจหัวหน้าศาลและอธิบดีศาลภาคไว้

ส่วนการที่หัวหน้าศาลและอธิบดีศาลภาคมีความเห็นแย้งจะต้องไปนั่งบัลลังก์ด้วยหรือไม่นั้น ระบุว่า เป็นคนละกรณีกันกรณีที่ไปนั่งในห้องพิจารณาถือเป็นคณะส่วนหนึ่งในการพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ปกติแล้วคนที่จะพิจารณาพิพากษาคดีได้จะต้องเป็นองค์คณะที่พิจารณาคดีนั้นมาแต่ต้น หรือได้รับการแต่งตั้งเข้ามาแทนที่กรณีสุดวิสัย แต่อำนาจในการตรวจสำนวนและทำความเห็นแย้งเป็นอำนาจเพิ่มเติมที่รัฐธรรมนูญศาลยุติธรรมกำหนดมาให้หัวหน้าศาล อธิบดีผู้พิพากษา หรือประธานศาล แม้จะไม่ได้นั่งพิจารณาเองแต่ในฐานะที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูศาล ก็สามารถตรวจสำนวนและทำความเห็นแย้งไว้ได้ หากเห็นว่าเป็นกรณีที่สมควรต้องทำความเห็นแย้งไว้

ทั้งนี้ องค์คณะผู้พิพากษาศาลจังหวัดปกติจะมี2คน และต้องเป็นคนละองค์คณะกับผู้พากษาศาลอุทธรณ์ ที่จะมี3คนโดยองค์คณะศาลอุทธรณ์จะเป็นผู้พิพากษาที่ทำงานในศาลอุทธรณ์ และได้รับการจ่ายสำนวน จากประธานศาลอุทธรณ์

โฆษกศาลยุติธรรม ระบุว่า ส่วนความเห็นแย้งของอธิบดีศาลและหัวหน้าศาลมีความสงสัยตามสมควรจึงเห็นควรยกประโยชน์ให้จำเลยตรงนี้จะทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ประโยนช์หรือไม่ ระบุว่า คงไม่ได้เป็นประโยชน์โดยตรง เพราะความเห็นแย้งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นความเห็นแย้งของเสียงข้างมากในคดีนั้น ดังนั้นผลของคำพิพากษาตัวคำความเห็นแย้งตรงนี้ไม่ได้มีผลในการเปลี่ยนแปลงของคำพิพากษาโดยตรง เพียงแต่เป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาในชั้นสูงขึ้นไป และเรื่องการยกประโยชน์แห่งความสงสัยเป็นเงื่อนไขปกติในกฎหมายซึ่งในคดีอาญาหลายคดีก็ต้องพิจารณาอยู่แล้วว่าพยานหลักฐานที่ฝ่ายโจทก์นำสืบมามีเหตุทำให้วิญญูชนทั่วไปเกิดความสงสัยได้หรือไม่ว่าตัวจำเลยหรือผู้ต้องหากระทำความผิดจริง ซึ่งพยานหลักฐานเหล่าที่ที่ผู้ทำความเห็นแย้งดูเป็นพยานหลักฐานชุดเดียวกันเพียงแต่บางจุดหรือข้อเท็จจริงบางส่วนอาจจะมีมุมมองที่เห็นต่างกันได้ แต่ในการวินิจฉัยมีหลักอยู่แล้วตามเงื่อนไขของกฎหมายหากมีเหตุสงสัยสามารถยกประโยชน์ให้จำเลยได้

การเห็นแย้งของหัวหน้าศาลและอธิบดีศาล เคยเกิดขึ้นอยู่เป็นระยะและก่อนหน้านี้ในศาลใหญ่ๆก็เคยมีเหตุการณ์คล้ายๆกันไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ เพราะเป็นเรื่องของการตรวจสำนวนตั้งข้อสังเกตไว้ชั้นสำนวนปกติ ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงที่ผิดปกติไป ที่ผ่านมาจะเห็นบางคดีที่มีการอุทธรณ์หรือฎีกาขึ้นไป คำพิพากษาของศาลชั้นสูงก็อาจแตกต่างไปอาจจะกลับหรือแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้ เพราะแม้พยานหลักฐานชุดเดียวกันแต่อาจจะมีความเห็นหรือมุมมองที่ต่างกันได้ ผู้พิพากษาแต่ละท่านก็จะใช้ประสบการณ์ความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะตัวมาดูแต่ละคนก็มีมุมมองที่แตกต่างกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘ทนายรัชพล’ เตรียมข้อมูลขึ้นศาลแพ่ง ฟ้อง สตช. คดีสารวัตรแจ๊ะจับแพะ ติดคุกฟรีปีกว่า

นายรัชพล ศิริสาคร ทนายความ โพสต์เฟซบุ๊กทนายรัชพล ศิริสาคร หัวข้อสารวัตรแจ๊ะ จับแพะ ติดคุกฟรีปีกว่า

งามไส้! คุก 2 เดือน 'ลูก รมต.' เมาขับฝ่าด่าน

นายประยุทธ เพชรคุณ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยความคืบหน้าเรื่องนี้ว่า วันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา พนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลเเขวง 1

ศาลอาญาดีเดย์ต้น เม.ย.เปิดแผนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

เม.ย.อธิบดีศาลอาญาเปิดเเผนกคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีจัดผู้พิพากษาเชี่ยวชาญนั่งพิจารณาคดีบัญชีม้า เว็บพนันฉ้อโกงออนไลน์ทันท่วงที ต่อยอดการเป็นศาลดิจิทัลสืบพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์

คุกอ่วม 468 ปี 'อดีตพระอาจารย์คม' ยักยอกเงินวัดป่าธรรมคีรี กว่า 300 ล้าน

ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถนนเลียบรางรถไฟ ศาลอ่านคำพิพากษา ในคดีที่พนักงานอัยการ สำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต 1 ยื่นฟ้อง นายคมฯ หรือ พระอาจารย์คมอดีตเจ้าอาวาสวัดป่าธรรมคีรี กับพวกรวม9 คนเป็นจำเลย

คุกอ่วม! แก๊งนำเข้า-ส่งออกตัวอ่อนให้มีการตั้งครรภ์แทน เพื่อประโยชน์ทางการค้า

ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ที่ห้องพิจารณาคดี 902 ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดีอุ้มบุญข้ามชาติ หมายเลขดำ อ.1172/2563 ที่พนักงานอัยการฝ่าย