เปิดใจ 'พี่แจ๋ม' ฮีโร่ตัวจริงช่วยแรงงานไทยในอิสราเอล บินกลับบ้านร่วมงานศพแม่ที่หนองบัวลำภู

17 ต.ค.2566- ที่ท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น ผู้สื่อข่าวได้พบกับ นางวิภาวดี วรรณชัย หรือแจ๋ม อายุ 40 ปี อยู่บ้านเลขที่ 305 ม.3 บ้านหนองแวง ต.กุดดู่ อ.โนนสังข์ จ.หนองบัวลำภู ซึ่งเป็นเจ้าของเฟซบุ๊ค “Jam Vannachai” ที่ได้ทำการไลฟ์สด ขณะเข้าช่วยเหลือแรงงานไทยที่ประเทศอิสราเอล ในช่วงเกิดเหตุรุนแรงที่กลุ่มฮามาส และเป็นคนไทย ที่แรงงานไทยในอิสราเอลมีการพูดถึงและขอบคุณมากที่สุดในเวลานี้

นางวิภาวดี กล่าวว่า แต่งงานกับสามีชาวอิสราเอล ซึ่งมีอาชีพเป็นทนายความและเปิดสำนักงานทนายความ เพื่อรับปรึกษาและว่าความในอิสราเอล รวมถึง รับเรื่องร้องเรียนจากแรงงานไทยในอิสราเอลมากว่า 15 ปีแล้ว มีบุตรด้วยกัน 3 คน แต่ปัจจุบันได้เลิกกับสามีแล้ว และวันเกิดเหตุรุนแรงได้ไปอยู่กับแม่น้อง คนไทยอีกคน ที่ร่วมกันตระเวนช่วยเหลือแรงงานไทยในอิสราเอล

“ช่วงเกิดเหตุรุนแรงที่กลุ่มกบฎฮามาสโจมตีอิสราเอลนั้น มีแรงงานไทยที่เคยติดต่อกับสำนักงานทนายความ โทรศัพท์มาหา แชทข้อความมาหา มาขอความช่วยเหลือ จึงจับมือคุยกับแม่น้องว่า เกิดมาชาติเดียว ตายครั้งเดียว เราจะทำทุกอย่างเพื่อช่วยคนไทย จากนั้นก็พากันขับรถออกไปพบกับแรงงานที่ขอความช่วยเหลือมา แรงงานบางคน แคมป์ที่พักถูกเผาทำลายไม่เหลือเอกสารสำคัญติดตัว เมื่อเกิดเหตุรุนแรง ได้รับบาดเจ็บ ต้องการกลับบ้าน ก็ต้องดำเนินการจัดการติดต่อกับทุกฝ่าย เพื่อให้คนไทยได้กลับบ้าน โดยเฉพาะโอโน่กับชาตรี แรงงานไทยที่ถูกยิง ไม่มีเอกสารติดตัว แต่ลงทะเบียนเดินทางกลับประเทศไทย ในขณะเดียวกันก็มีแรงงานไทยที่ทราบเรื่อง ก็เดินทางมาหาที่สนามบิน จึงได้ติดต่อกับทุกฝ่ายจนทุกคนได้พาสปอร์ตขาว จากนั้นก็เดินทางกลับมาที่ประเทศไทยได้พร้อมกันทุกคน”

นางวิภาวดี กล่าวต่ออีกว่า การช่วยเหลือแรงงานไทยที่ร้องขอความช่วยเหลือมานั้น ไม่ง่าย เพราะอันตรายทุกจุด บางจุด ทหารก็ไม่ให้เข้า แต่จำเป็นต้องเข้าไปเพื่อช่วยเหลือคนไทยออกมา ทหารก็เข้าใจ และรักษาความปลอดภัยให้ จนช่วยเหลือแรรงานไทยได้ ทุกครั้งที่เดินทางเข้าไปช่วยเหลือแรงงานไทยนั้น ไม่มีเครื่องลางของขลังหรือสิ่งศักดิ์ใด มีเพียงบอกกล่าวพระเจ้าให้เปิดทาง คุ้มครองให้ทุกอย่างที่ตั้งใจทำ ราบรื่นและปลอดภัย

“ขอให้คนไทยที่ทำงานในอิสราเอล มีสติ และมีความปลอดภัย เชื่อฟังเจ้าหน้าที่ อย่าออกนอกพื้นที่ เพราะหากเกิดเหตุร้ายไม่มีใครช่วยเหลือเราได้ ยอมรับว่า ทุกคนลำบาก แต่ถ้ามีสติ ตั้งใจ ทุกอย่างก็จะผ่านไปได้ ส่วนสถานการณ์ในอิสราเอลนั้น ทุกวันนี้ ยังไม่มีความคลี่คลายลงเลย ขอให้ทุกคนระวัง รักษาตัวเองให้ดี และดีใจกับคนไทยที่ปลอดภัยและได้กลับบ้าน เสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตทุกรายด้วย”

นางภาวดี กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า กลับมาที่บ้านในครั้งนี้ เพราะมารดาเสียชีวิตเมื่อวันศุกร์ที่ 13 ต.ค.ที่ผ่านมา จึงมาเคารพศพแม่และร่วมพิธีฌาปนกิจศพคุณแม่ และจะอยู่ที่บ้านจนถึงเดือน ธ.ค.2566 จึงจะเดินทางกลับประเทศอิสราเอล แต่ในช่วงที่กลับมาที่บ้าน แรงงานไทย และคนไทยที่อิสราเอล ยังคงติดต่อสื่อสารกันได้ตามปกติ และในพื้นที่ก็ยังมีแม่น้องคนไทยที่ ยังคอยให้ความช่วยเหลือคนไทยอยู่อีกด้วย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พิพัฒน์' รุดเยี่ยมครอบครัวแรงงาน เสียชีวิตจากอิสราเอล กำชับแรงงานจังหวัดดูแลสิทธิประโยชน์ทายาทให้ครบถ้วน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และคณะ ลงพื้นที่ไปยังบ้านของนายนิพล อัครศรี และนางอมร อัครศรี บิดาและมารดาของนายสนธยา อัครศรี แรงงานไทยที่เสียชีวิตจากการไปทำงานที่รัฐอิสราเอล

“พิพัฒน์”เผยความคืบหน้าแรงงานไทยจากอิสราเอลยื่นขอรับเงินเยียวยา 50,000 บาท แล้ว 7,622 ราย คิดเป็น 78.60 %

วันที่ 27 ธันวาคม 2566 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า หลังจากที่กระทรวงแรงงานได้เปิดให้แรงงานไทยจากอิสราเอลมายื่นคำร้องเพื่อขอรับเงินเยียวยาแรงงานไทยจากสถานการณ์ความไม่สงบในอิสราเอล รายละ 50,000 บาท ไ

หนุ่มแรงงานชาวบุรีรัมย์ ยอมเสี่ยงกลับไปทำงานอิสราเอลอีก แม้ยังสู้รบ

หนุ่มแรงงานชาวบุรีรัมย์ ยอมเสี่ยงเดินทางกลับไปทำงานอิสราเอลอีกรอบให้ครบสัญญาจ้าง แม้จะยังมีการสู้รบกันเพราะด้วยภาระหนี้สินหลายแสนและครอบครัวที่ต้องดูแล ทำให้ไม่มีทางเลือก ขณะแม่จุดธูปไหว้ศาลตายายหน้าบ้านขอให้คุ้มครอง

งามไส้! เปิดผลสอบ 'สส.ก้าวไกล' อ้างชื่อ กมธ.แรงงาน หาซีนหล่อให้ 'พิธา' ประสานอิสราเอล

เพจเฟซบุ๊ก วันนี้ก้าวไกลโกหกอะไร โพสต์ข้อความว่า ทุกคนคะ กรณีคุณพิธาได้โพสต์ลงโซเชียล มอบหมายให้ สส. สุเทพ อดีต กมธ.แรงงาน เป็นผู้ประสานงาน " กรณีช่วยเหลือแรงงานไทยในอิสราเอล "

กต.แจ้งข่าวดี ฮามาสปล่อยตัวประกันคนไทยเพิ่มอีก 4 ราย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่า เมื่อวันที่ 29 พ.ย. (ตามเวลาอิสราเอล) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ แจ้งเพิ่มเติมว่า มีคนไทยชุดที่ 5 ได้รับการปล่อยตัวอีก 4 ราย ได้แก่ 1. ไพบูลย์ รัตนิล 2.กง แซ่เล่า 3.จักรพันธ์ สีเคนา และ4.ฉลิมชัย แสงแก้ว

แรงงานไทยในอิสราเอล ปลื้ม!!! ก.แรงงาน ส่งผู้ตรวจฯ รุดเยี่ยม มอบสิ่งของสร้างขวัญกำลังใจถึงที่

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายสมาสภ์ ปัทมะสุคนธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย