'ไอลอว์' ชวนลุ้นระทึก! 21 ธ.ค.กฎหมายสมรสเท่าเทียมเข้าสภาส่งท้ายปีหรือไม่

20 ธ.ค.2566 - เพจโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) หรือไอลอว์ โพสต์เนื้อหาระบุว่า 19 ธันวาคม เศรษฐา ทวีสิน ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่าครม. จะเสนอร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมเข้าสภาวันที่ 21 ธันวาคม

นอกจากร่างที่ ครม. เสนอ ยังมีร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมที่เสนอโดย สส. และร่างฉบับภาคประชาชน รวมสามฉบับ

1.ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมฉบับภาคประชาชน : ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมหลายองค์กรในนาม ภาคีสีรุ้งเพื่อสมรสเท่าเทียม ใช้กลไกการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย รวบรวมรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกิน 10,000 ชื่อเพื่อเสนอร่างกฎหมาย ได้รายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกิน 10,000 ชื่อแล้ว บรรจุวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันที่ 20 ธันวาคม 2566 แล้ว

2.ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับเสนอโดย สส. พรรคก้าวไกล : เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566 สส.พรรคก้าวไกลเสนอร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมต่อสภาผู้แทนราษฎร โดยเนื้อหาร่างเป็นฉบับเดียวกันกับที่เคยเสนอสภาชุดก่อนที่มาจากการเลือกตั้งในปี 2562 โดยร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมฉบับนี้ ก็ถูกบรรจุในวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรแล้วเช่นกัน รอเข้าสู่การพิจารณาวาระหนึ่ง

3.ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับกระทรวงยุติธรรม เสนอโดย ครม. : ฟากกรมคุ้มครองสิทธิเสรีและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ก็ผลักดันร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม เพื่อแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาเปิดเผยกับสื่อหลังการประชุม ครม. ว่า ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบให้เสนอร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมต่อสภาในวันที่ 21 ธันวาคม 2566

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 21 ธันวาคม 2566 ก็มีนัดสำคัญน่าจะจับตาคือการพิจารณาร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม สามฉบับจากสามภาคส่วนที่เสนอ เนื่องจากร่างกฎหมายทั้งสามฉบับมีหลักการทำนองเดียวกัน สภาสามารถพิจารณาไปพร้อมกันได้ และสามารถลงมติรับหลักการหรือไม่รับหลักการร่างทุกฉบับในวาระหนึ่งได้ หากสภาลงมติรับหลักการร่างกฎหมายแล้ว ลำดับถัดไปก็จะเป็นการลงมติว่าจะใช้ร่างใดเป็นร่างหลักในการพิจารณาในวาระสอง (ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2562 ข้อ 117)

หากสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมทุกฉบับไปพร้อมกันและมีมติรับหลักการร่างทุกฉบับ เนื่องจากมีร่างภาคประชาชนด้วย ก็จะส่งผลให้ตัวแทนภาคประชาชนได้โควตาเข้าไปเป็นกรรมาธิการพิจารณารายละเอียดด้วย (ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2562 ข้อ 122)

ต้องจับตากันต่อไปว่า ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม จะเข้าสภาทันวันที่ 21 ธันวาคม 2566 หรือไม่และ สส. ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จะลงมติออกเสียงเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายดังกล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เพื่อไทย' จ่อเคลียร์ใจ 'ปานปรีย์' ชวนนั่งกุนซือพรรค ไม่รู้ 'นพดล' เสียบแทน

'เลขาฯ เพื่อไทย' รับต้องคุย 'ปานปรีย์' หลังไขก๊อกพ้น รมว.ต่างประเทศ แย้มชงนั่งที่ปรึกษาพรรค มั่นใจไม่เกิดแรงกระเพื่อม ปัดวางตัว 'นพดล' เสียบแทน ชี้ 'ชลน่าน-ไชยา' หน้าที่หลักยังเป็น สส.

พท. จัดใหญ่! '10 เดือนที่ไม่รอ ทำต่อให้เต็ม 10' ตีปี๊บผลงาน 'รัฐบาลเศรษฐา'

'เพื่อไทย' เตรียมจัดงาน '10 เดือนที่ไม่รอ ทำต่อให้เต็ม 10' สรุปผลงาน 'รัฐบาลเศรษฐา' 3 พ.ค.นี้ เดินหน้าเติมนโยบายที่สัญญาไว้กับประชาชน พร้อมเปิดตัวผู้สมัครนายก อบจ.

‘เศรษฐา’ แจงยิบปรับครม. ขอโทษ ‘ปานปรีย์’ ทำให้ไม่สบายใจ บอกมีคนแทนในใจแล้ว

‘เศรษฐา’ เผย ส่งข้อความผ่านกลุ่มงานต่างประเทศขอโทษ ‘ปานปรีย์’ ถ้าทำให้ไม่สบายใจ บอกได้คุยกันก่อนปรับ ครม.แล้ว ชี้มีทั้งคนสมหวัง-ผิดหวัง พร้อมรับผิดชอบ แย้มมองหาคนใหม่ตั้งแต่เมื่อคืน ดีกรี การทูต-การเมือง ทำงานเบื้องหลัง’เพื่อไทย’ มานาน

‘จตุพร’ ซัดอำนาจเบื้องหลังปรับครม. ยังมีจิตปกติหรือไม่ แนะไปตรวจสุขภาพจิต

‘จตุพร’เย้ยอำนาจเบื้องหลังปรับ ครม.ยังมีจิตปกติหรือไม่ แนะรีบไปตรวจสุขภาพจิต อ้างเขี่ยทิ้งชลน่าน สะท้อนเอาแต่ใจตัวเอง ไม่มีมาตรฐานอารมณ์ ส่วน ‘ปานปรีย์’ลาออก รมต.ต่างประเทศ บอกความนัยคนจริง ยึดหลักการ สั่งซ้ายหันขวาหันไม่ได้

‘เด็กเศรษฐา’ ข้องใจ ‘ปานปรีย์’ ลาออกหลังมีพระบรมโองการ ชี้ไม่เคยมีใครทำ

ตกใจกับการตัดสินใจ ที่เกิดขึ้นหลังมีพระบรมราชโองการฯ ซึ่งไม่เคยมีใครกระทำแบบนี้มาก่อน เพราะมันไม่ได้หมายถึงการปฏิเสธตำแหน่งเพียงอย่างเดียว