'จตุพร' ซัดกมธ.ศึกษานิรโทษกรรมฯโง่ดักดานศึกษาแล้วศึกษาอีก แนะออกพรก.ไม่ต้องหารือแล้ว

'จตุพร' ซัดกมธ.ศึกษานิรโทษกรรมฯ โง่ดักดานศึกษาแล้วศึกษาอีก เสนอเริ่มต้นดูวิธีการออกนโยบาย 66/23 พร้อมนำผลศึกษาสมัย"ประยุทธ์"มารื้อสร้างเอาจริงกัน แนะดันออก พรก. ไม่ต้องหารือกันแล้ว

8 มี.ค. 2567 - นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ ว่า การทำนิรโทษกรรมประชาชนที่ขัดแย้งทางการเมืองเป็นเรื่องของคนต้องมีใจใหญ่เพื่อประเทศกันจริงๆ และสิ่งสำคัญควรลงมือทำจริง ไม่แค่ทำท่าพูดคุยเพื่อกลบกระแสแรงเหวี่ยงจากบางสถานการณ์ที่กำลังก่อหวอดขึ้นในอนาคต

นายจตุพร กล่าวว่า นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม (กมธ.ศึกษาการนิรโทษกรรม) จะชวนผู้มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ต่างๆ มาหารือ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก

อย่างไรก็ตาม เคยมีการตั้งวงพูดคุยเพื่อนิรโทษกรรมไม่เป็นทางการมาแล้ว โดยชวนตัวแทนทุกพรรคการเมืองและนายชูศักดิ์ ประธาน กมธ. รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความขัดแย้งตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันไปหารือกันก่อนหน้านี้แล้ว

"ผมเสนอในวงพูดคุยนี้ โดยให้เริ่มต้นก่อนว่า จะทำจริงหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาได้แต่ทำท่าศึกษา แล้วก็ศึกษา เมื่อศึกษาเสร็จก็เอาเก็บใส่ลิ้นชักเหมือนเดิม ดังนั้นการทำนิรโทษกรรมจะเรียกชื่ออย่างใดก็ตาม แต่คนที่จะทำเรื่องนี้ต้องใจใหญ่ และต้องศึกษาแนวทาง วิธีการของจุดเริ่มต้นเพื่อไม่ต้องเสียเวลาอีก"

นายจตุพร กล่าวว่า การทำนิรโทษกรรมมีโอกาสความสำเร็จยากมาก โดยส่วนใหญ่หากเริ่มต้นจากผู้มีอำนาจมาจากพรรคการเมืองหรือถือปืนเข้ามาก็ตาม จะหาความสำเร็จได้ยาก เพราะต้องการยกเรื่องนี้มาพูดทำท่าเพื่อลดกระแสแรงเหวี่ยงของสังคม

อีกทั้ง ย้ำว่า ขณะนี้เมื่อเดินหน้าสู่การนิรโทษกรรม แต่คดีความขัดแย้งเก่าได้อยู่ในรัฐบาลทั้งหมด ส่วนความขัดแย้งใหม่อยู่ในฝ่ายค้าน และภาคประชาชน ดังนั้น ถ้าประเมินถึงโอกาสจะทำได้แล้ว ย่อมเกิดจากการพิจารณาแรงรุกจากภายในของฝ่ายรัฐบาลกันเอง หากต้องการทำจริง ไม่แค่ทำท่าเท่านั้น

"ผมเสนอแนวทางเพื่อไม่ต้องการให้เสียเวลา ขอฝากความไปถึงนายกฯเศรษฐา ทวีสิน ให้ไปดูที่กรณีของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีตนายกฯ ที่ออกนโยบาย 66/23 ต้องไปพบใครก่อนที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จในการหยุดยั้งสงครามกลางเมืองฆ่ากันมาเป็นสิบปี ตายฝ่ายละเป็นหมื่นๆ ชีวิต ซึ่งเทียบกับความขัดแย้งตั้งแต่ปี 2548 ถึงปัจจุบันเป็นเรื่องขี้ปะติ๋วมาก"

นายจตุพร กล่าวว่า ถ้าต้องการแค่ทำท่าจะทำนิรโทษกรรมโดยตั้ง กมธ.ศึกษา ซึ่งใช้เวลาไปแล้ว 60 วัน แล้วยังต้องการขยายเวลาอีก จึงเท่ากับเป็นการศึกษาแล้วศึกษาอีก แสดงถึงความโง่ดักดานที่สุด เพราะสมัยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ ก็ศึกษาเรื่องนี้อยู่หลายรอบ แล้วเอาผลการศึกษาใส่ไว้ในลิ้นชักเหมือนเดิม ไม่เคยนำมาปฏิบัติ

"ผมจึงขอฝากความไปว่า ถ้าต้องการความสำเร็จต้องเริ่มที่แห่งใด หากทุกอย่างลงตัวแล้วไม่ต้องโชว์กันก็ตราเป็นพระราชกำหนดก็เรียบร้อย ถ้ายังพูดกันในที่ประชุมสภาผู้แทนหรือสภา สว. ซึ่งไม่มีวันจบสิ้นได้เลย เพราะต่างฝ่ายต้องสำแดงฤทธิ์กันอย่างเต็มที่ และยังจะตัดตอนให้นิรโทษกรรมถึงปี 2557 เท่านั้น ส่วนหลังจากนั้นที่มีปัญหา ม.112 ก็ไม่พร้อมเดินหน้าต่อไป"

นายจตุพร ย้ำว่า ถ้าจะนิรโทษกรรมกันแล้วควรเริ่มต้นในแต่ละกรณีกันเลย หากกลัวจะถูกทำซ้ำอีก ก็เขียนสกัดไว้ในกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงประเทศและประชาชน

"ดังนั้น ถ้าต้องการความสำเร็จกับการนิรโทษกรรมจริงแล้ว ตนไม่รู้ว่านายเศรษฐา จะอยู่ถึงความสำเร็จนั้นหรือไม่ แต่ขอเสนอความฝากย้ำถึงว่า ไปศึกษาสมัยพล.อ.เปรม ทำอย่างไร"

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มึน! 'อุ๊งอิ๊ง' ชวนคนทั้งโลกมาสาดน้ำช่วงสงกรานต์ แต่ตัวเองไปเที่ยวฮ่องกง

'ตู่' มึน 'อุ๊งอิ๊ง' ชวนคนทั้งโลกมาสาดน้ำ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 21 วัน แต่ตัวเองไปเที่ยวฮ่องกง งง ทำไปทำไม ติงควรมีดีเอ็นเอรับผิดชอบ อย่ายึดตัวตน

'ทักษิณ' เริงร่า เล่นน้ำยกดัมเบล เลี้ยงหลาน เย้ยดีลกลับบ้าน ไม่ตื่นเต้นคำขู่

'จตุพร' อ่านไต๋ 'ทักษิณ' เริ่งร่า เล่นน้ำยกดัมเบล เลี้ยงหลานสุดคึกคัก ส่งนัยเย้ยดีลกลับบ้าน ไม่ตื่นเต้นคำขู่ จับตา! 10 เม.ย. ตัดสินฟ้องหรือไม่ คดี 112 ระบุเป็นจุดเริ่มเปลี่ยนชะตาคน

'จตุพร' ชี้ข่าวปล่อย ปรับครม.ดึงปชป.ร่วมรบ. มั่นใจ 'ก้าวไกล' ทิ้งทวนซักฟอกก่อนถูกยุบ

'จตุพร' ชี้ปรับ ครม. ดึง ปชป.ร่วมรัฐบาลเป็นข่าวปล่อย มั่นใจ'ก้าวไกล' ทิ้งทวนซักฟอกให้เป็นนัดแห่งความทรงจำ ก่อนถูกยุบพรรคใน เม.ย.นี้

ศึกทะเลาะเบาะแว้งใน สตช. บ่งชี้บี้ทวงดีลบีบ 'เศรษฐา' หนักมือยิ่งขึ้น

'จตุพร' เชื่อศึกทะเลาะเบาะแว้งใน สตช. เป็นสิ่งบ่งชี้บี้ทวงดีลบีบ 'เศรษฐา' หนักมือยิ่งขึ้น เหตุไร้ภาวะผู้นำ ไม่มีศักยภาพปรับเปลี่ยนยกเครื่องวงการตำรวจเป็นที่พึ่ง ปชช.