28 ต.ค.2567-อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ เรื่อง “เกาะกูด ทักษิณ ชินวัตร ไร้น้ำยา ไม่สมราคาคุย หรือ ทักษิณ ชินวัตร มีข้อตกลงอะไรกับฮุนเซน หรือไม่ อย่างไร เป็นคำถามที่ค้างคาใจประชาชนคนไทยทั้งชาติ?” ระบุว่า ตาม สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 125 (ค.ศ. 1907) ฝรั่งเศสได้ยอมคืนดินแดนบางส่วน รวมถึง เกาะกูด และดินแดนในแถบจังหวัดตราดและด่านซ้ายให้แก่สยาม หลังจากที่ฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองบางพื้นที่ในช่วงวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 โดยตามสนธิสัญญาฉบับนี้ สยามได้สละสิทธิ์ในบางพื้นที่ของฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของลาว) แต่ได้รับดินแดนในฝั่งตะวันออกของอ่าวไทยคืน
ดังนั้น เกาะกูด และพื้นที่ที่ฝรั่งเศสได้คืนให้ตามสนธิสัญญานี้ จึงถือเป็นของไทยตามหลักกฎหมายและสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไทยจะมีหลักฐานจาก สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 125 (ค.ศ. 1907) ที่แสดงว่าฝรั่งเศสยอมคืนเกาะกูดและดินแดนในบางส่วนให้กับสยาม แต่ถ้ากัมพูชาเกิดอ้างสิทธิจนเรื่องราวไปถึงศาลโลกขึ้นมา ไทยก็อาจไม่ได้ชนะคดีทันที ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยหลายประการในระบบกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้การตัดสินข้อพิพาทไม่ได้ขึ้นอยู่กับหลักฐานทางประวัติศาสตร์เพียงอย่างเดียว:
1. แนวทางการแก้ไขปัญหาในระดับสากล: การตัดสินของศาลโลกมักจะคำนึงถึงแนวทางที่สร้างความยุติธรรมให้กับทั้งสองฝ่าย รวมถึงการเจรจาและข้อตกลงในอนาคต การตัดสินที่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจทำให้เกิดความตึงเครียดและเป็นปัญหาทางการทูต ดังนั้น ศาลโลกมักมองหาทางออกที่เป็นกลางและให้ทั้งสองฝ่ายได้รับผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน
2. หลักการกฎหมายระหว่างประเทศและ UNCLOS: ในกรณีของเขตน่านน้ำ ศาลโลกมักจะใช้ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) เป็นหลักในการพิจารณา โดยเฉพาะในเรื่องของเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (EEZ) ซึ่งจะใช้หลักเส้นกึ่งกลางในการแบ่งเขต หากพิจารณาแล้วว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มีสิทธิ์สมบูรณ์เหนือพื้นที่นั้น ศาลอาจเลือกที่จะตัดสินให้มีการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน
3. การตีความกฎหมายและสนธิสัญญา: ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ไม่ได้พิจารณาเฉพาะเอกสารหรือสนธิสัญญาเพียงอย่างเดียว แต่ยังคำนึงถึงการตีความกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น หลักการของสนธิสัญญาและการตีความขอบเขตอำนาจของแต่ละฝ่ายในพื้นที่พิพาท รวมถึงหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและใช้ประโยชน์พื้นที่นั้น
4. หลักฐานการควบคุมและประโยชน์: หากกัมพูชามีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่นั้นมาอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้รับการคัดค้านจากไทย ก็อาจเป็นหลักฐานที่ศาลนำมาพิจารณาว่าเป็นพื้นที่ที่มีข้อพิพาทซึ่งควรต้องมีข้อตกลงพิเศษในการแบ่งผลประโยชน์ หรือศาลอาจตัดสินว่าทั้งสองฝ่ายควรร่วมกันบริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่นั้น
ดังนั้น แม้ว่าไทยจะมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน การพิจารณาคดีในศาลโลกมีความซับซ้อนและใช้หลักการกฎหมายระหว่างประเทศหลากหลายด้าน ซึ่งทำให้ไม่สามารถรับรองได้ว่าไทยจะชนะคดีได้เสมอ
แต่จากหลักการในข้อที่ 4 หลักฐานการควบคุมและประโยชน์
ตามข้อมูลที่มีอยู่ เกาะกูดอยู่ภายใต้การควบคุมของประเทศไทย ตามที่กำหนดใน สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 125 (ค.ศ. 1907) ซึ่งฝรั่งเศสได้ยอมคืนเกาะกูดและจังหวัดตราดให้แก่สยาม ขณะนั้นกัมพูชาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส จึงไม่ได้โต้แย้งในอำนาจอธิปไตยของสยามเหนือเกาะกูด นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยังได้ยืนยันหลายครั้งว่าเกาะกูดเป็นของไทย “โดยไม่มีหลักฐานว่ากัมพูชาได้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องแต่อย่างใด“
ข้อพิพาทในพื้นที่ทะเลใกล้เคียง ซึ่งเรียกว่า เขตน่านน้ำที่ทับซ้อน (Overlapping Claims Area – OCA) เป็นพื้นที่ที่วันดีคืนดีกัมพูชาก็ลุกขึ้นมาอ้างสิทธิ์
ปัญหาเกิดขึ้นตรงที่ว่า ประเทศไทยโดยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร กลับไปลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในปี 2001 เพื่อยอมรับการเจรจาแบ่งปันทรัพยากรในพื้นที่นี้ ซึ่งครอบคลุมถึงแหล่งปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติที่มีมูลค่าสูง
ทั้งที่….
1. จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์: ในขณะที่กัมพูชาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสและฝรั่งเศสได้ยอมคืนเกาะกูดและจังหวัดตราดให้แก่สยาม ที่ปรากฏเป็นหลักฐานตาม สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 125 (ค.ศ. 1907) และกัมพูชาซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ไม่ได้โต้แย้งในอำนาจอธิปไตยของสยามเหนือเกาะกูด
2. จากหลักฐานการควบคุมและประโยชน์: ฝ่ายไทยยังได้ยืนยันหลายครั้งว่าเกาะกูดเป็นของไทย “โดยไม่มีหลักฐานว่ากัมพูชาได้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องแต่อย่างใด“
จากหลักฐาน 2 ประการเป็นอย่างน้อยนี้ก็เป็นหลักฐานยืนยันเชิงประจักษ์แล้วว่า เกาะกูดเป็นของไทย
แล้วถึงแม้ว่าถ้าสมมติกัมพูชาไปฟ้องศาลโลก ไทยก็ยังสามารถชนะคดีจากหลักฐานเชิงประจักษ์ดังกล่าว
คำถามคือ ทำไม รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จึงไปยอมรับโดยง่ายดายกับการอ้างสิทธิ์ของกัมพูชาทั้งที่ไม่มีสิทธิ์
ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งคุยหนักหนาว่าเป็นผู้นำที่เก่งรอบด้าน ทำไมอยู่ๆ กลับไร้ความสามารถในกิจการระหว่างประเทศกับประเทศที่เป็นรองประเทศไทยทุกด้าน ขึ้นมาในบัดดล
ผิดกับรัฐบาลของพระบาทสมพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ที่ถึงแม้สยามจะเป็นรองฝรั่งเศสมหาอำนาจอันดับ 2 ของโลกในขณะนั้น แต่ยังทรงใช้พระปรีชาสามารถเอาเกาะกูดมาเป็นของไทยได้
แผ่นดินที่เป็นของเรามาตั้งแต่ทักษิณยังไม่เกิด แต่เมื่อทักษิณเติบโตจนเป็นผู้นำประเทศ กลับไปยอมทำรับว่า เกาะกูดเป็นพื้นที่ทับซ้อนร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชา
พระมหากษัตริย์ทำให้ไทยได้คืนดีพื้นแผ่นดิน
แต่นักการเมืองทำให้ไทยสูญเสียแผ่นดิน
สรุป ทักษิณ ชินวัตร ไร้น้ำยา ไม่สมราคาคุย หรือ ทักษิณ ชินวัตร มีข้อตกลงอะไรกับฮุนเซน หรือไม่ อย่างไร เป็นคำถามที่ค้างคาใจประชาชนคนไทยทั้งชาติ
แพทองธาร ชินวัตร นายกฯทายาทนายกฯ จะสานต่องานที่พ่อทำไว้ให้กัมพูชาได้เกาะกูดเป็นพื้นที่ทับซ้อนหรือไม่ คงรู้คำตอบตั้งแต่ยังไม่เริ่มเจรจาแล้วใช่มั้ย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘เกาะกูด’ สงครามที่ ‘ทักษิณ’ ไม่มีทางชนะ จับตาจะถอยอย่างไร ไม่ให้ตัวเองเสียหน้า และ ‘ฮุนเซน’ เสียใจ
ประเด็นเรื่องเกาะกูดเป็นของไทยหรือไม่ นั้น ได้ข้อยุติจากคุณทักษิณเมื่อวานนั้น ว่ารัฐบาลไทยก็เห็นด้วย ว่าเป็นของคนไทย แต่จะเห็น
'อนุทิน' ยันไม่ใส่ใจคำพูด 'ทักษิณ' โชว์ห้าวตะเพิดพรรคร่วมฯ ขอฟังแค่นายกฯอิ๊งค์
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวผ่านรายการข่าวเที่ยง ทางไทยพีบีเอส ถึงกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวในการสัมมนาพรรคเพื่อ
'วรงค์' สวน 'ทักษิณ' โคตรควาย! จะเอาแต่ผลประโยชน์ ไม่สนใจเสียดินแดนตามมา
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ที่ปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า #ควายหรือโคตรควาย
ชี้เปรี้ยง ’ทักษิณ’ โชว์ฟอร์มไม่ง้อพรรคร่วมรัฐบาล-เอาใจชนชั้นนำ!
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตส.ส. นครศรีธรรมราชโพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง “ทักษิณ โชว์ฟอร์ม ไม่ง้อพรรคร่วม
แม้วยันเกาะกูดของไทย ไม่ใช่‘ควาย’ยกให้เพื่อน
“ทักษิณ” ลั่นล้านเปอร์เซ็นต์เกาะกูดเป็นของไทย ใครจะบ้ายกให้
'ทักษิณ' ลั่นมีแต่ควายเท่านั้น ยกประเทศให้เพื่อนบ้าน บอกกัมพูชาลากเส้นไม่ถูก
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะวิทยากรพิเศษ บรรยายพิเศษหัวข้อ สถานการณ์ทิศทางโลกและการปรับตัว โดยกล่าวตอนหนึ่งว่า ตนไม่ได้ครอบงำนายกรัฐมนตรี