28 ต.ค.2567-นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์เฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala – – ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เรื่อง “หลักฐาน MOU44 ชัวร์หรือมั่วนิ่ม?” ระบุว่า นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า จะเดินหน้าเจรจาแบ่งผลประโยชน์ปิโตรเลียมกับกัมพูชา
ผมแนะนำว่า ควรพิจารณาหลักฐานก่อนว่า MOU 2544 ถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่? หลักฐานที่ปรากฏใน MOU44 คือ
1 มีการกำหนดพื้นที่ในอ่าวไทยสองพื้นที่ คือ พื้นที่ที่ต้องแบ่งเขต และ พื้นที่พัฒนาร่วม
2 กรอบขอบเขตทั้งสองพื้นที่ ทิศเหนือและทิศตะวันตก กำหนดโดยเส้นแบ่งเขตของกัมพูชาที่ประกาศในปี 2515 ทิศตะวันออก กำหนดโดยเส้นแบ่งเขตของไทยที่ประกาศในปี 2516
3 สำหรับพื้นที่ที่ต้องแบ่งเขต ให้เจรจากรอบขอบเขตให้ชัดเจน
4 สำหรับพื้นที่พัฒนาร่วม ทั้งสองประเทศยอมรับกรอบขอบเขตไปแล้ว ให้เจรจาสัดส่วนการแบ่งผลประโยชน์
นายภูมิธรรม จึงควรพิจารณาหลักฐานต่อไปนี้ว่า เส้นแบ่งเขตของกัมพูชาที่ประกาศในปี 2515 นั้น รัฐบาลไทยสามารถยอมรับว่าถูกต้องตามกฏหมายได้หรือไม่?
ทั้งนี้ เส้นแบ่งเขตที่พาดผ่านเกาะกูด นั้น เกิดจากเอกสารแนบสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ข้อ 1 ซึ่งมีข้อความว่า “เพื่อประไยชน์ ที่จะให้กรรมการซึ่งกล่าวไว้ในข้อ ๕ ของหนังสือสัญญาลงวันนี้ จัดการปักปันเขตร์แดนให้สะดวกดี และเพื่อที่จะไม่ให้เกิดมีข้อขัดข้องขึ้นได้ ในการปักปันเขตร์แดนนั้น รัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม กับรัฐบาลของรีปับลิกฝรั่งเศสจึงได้ตกลงยินยอมกันตามความที่กล่าวต่อไปนี้
ข้อ ๑
เขตร์แดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศสนั้น ตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามจากยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด เป็นหลักแล้ว …”
กัมพูชาจึงอาศัยข้อความนี้ ลากเส้นตั้งแต่ชายทะเล ผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด กินเนื้อที่เข้ามาในอ่าวไทย
ถามว่า การอ้างของกัมพูชาเช่นนี้ถูกต้องตามสนธิสัญญาฯ หรือไม่?
ตอบว่า ไม่ถูกต้อง ด้วยสามหลักฐาน
หนึ่ง สนธิสัญญาฯ ไม่เกี่ยวกับไหล่ทวีป
ใน ค.ศ. 1907 ไม่มีเรื่องไหล่ทวีป เพราะสหประชาชาติเพิ่งจะเจรจากำหนดอนุสัญญาเรื่องไหล่ทวีปใน ค.ศ. 1958
ดังนั้น สนธิสัญญาที่อ้างถึงยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด จึงไม่สามารถใช้เพื่อกำหนดพื้นที่ไหล่ทวีป ให้กินเนื้อที่เข้ามาในอ่าวไทย
สอง ข้อความในสนธิสัญญาฯ กล่าวถึงแต่พื้นที่บนชายฝั่ง ไม่ได้กล่าวถึงพื้นที่ในทะเล
ถ้าอ่านข้อความทั้งหมดในเอกสารแนบ จะเห็นได้ว่า เป็นคำบรรยายพื้นที่บนชายฝั่ง เพื่อกำหนดแบ่งแยกพื้นที่ระหว่างสยามกับกัมพูชา ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพื้นที่ในทะเลแต่อย่างใด
ข้อความทั้งหมดคือ
“เขตร์แดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศสนั้น ตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามจากยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด เป็นหลักแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปทางตะวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวาน และเป็นที่เข้าใจกันชัดเจนด้วยว่า แม้จะมีเหตุการณ์อย่างไรๆ ก็ดี ฟากไหล่เขาเหล่านี้ข้างทิศตะวันออกรวมทั้งที่ลุ่มน้ำคลองเกาะด้วยนั้น ต้องคงเป็นดินแดนฝ่ายอินโดจีนของฝรั่งเศส แล้วเขตร์แดนต่อไปตามสันเขาพนมกระวานทาง
ทิศเหนือ จนถึงเขาพนมทม ซึ่งเป็นเขาใหญ่ปันน้ำทั้งหลายระหว่างลำน้ำที่ไหลตกอ่าวสยามฝ่ายหนึ่ง กับลำน้ำน้ำที่
ตกทะเลสาปอีกฝ่ายหนึ่ง ตั้งแต่เขาพนมทมนี้เขตร์แดนไปตามทิศพายัพก่อนแล้ว จึงไปตามทิศเหนือตามเขตร์แดน ซึ่งเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ระหว่างเมืองพระตะบองฝ่ายหนึ่ง กับเมืองจันทบุรีแลเมืองตราดอีกฝ่ายหนึ่งแล้ว ต่อไปจนถึงที่เซตร์แดนนี้ข้ามลำน้ำใส ตั้งแต่นี้ต่อไปตามลำน้ำนี้จนถึงปากที่ต่อกับลำน้ำน้ำศรีโสภณ และตามลำน้ำศรีโสภนต่อไปจนถึงที่แห่งหนึ่งในลำน้ำนี้ ประมาณสิบกิโลเมตร์หรือสองร้อยห้าสิบเส้นใต้เมืองอารัญ ตั้งแต่นี้ตีเส้นตรงไปจนถึงเขาแดงแรก ตรงระหว่างกลางทางช่องเขาทั้ง ๒ ที่เรียกว่าช่องตะโกกับช่องเสม็ด แต่ได้เป็นที่เข้าใจกันว่า เส้นเขตร์แดนที่กล่าวมาที่สุดนี้ จะต้องปักปันกันให้มีทางเดินตรงในระหว่างเมืองอารัญกับซ่องตะโกคงไว้ในเขตร์กรุงสยาม ตั้งแต่ที่เขาแดงแรกที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เขตร์แดนต่อไปตามเขาปันน้ำที่ตกทะเลสาปและน้ำโขงฝ่ายหนึ่ง กับที่ตกน้ำมูนอีกฝ่ายหนึ่งแล้วต่อไปจนตกลำแม่น้ำโขงใต้ปากมูน ตรงปากห้วยดอนตามเส้นเขตร์แดน ที่กรรมการปักปันแดนครั้งก่อนได้ตกลงกันแล้วเมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๕ คริสตศักราช ๑๔๐๗”
สรุปแล้ว ข้อความทั้งหมดบรรยายเกี่ยวกับพื้นที่บนชายฝั่ง
สาม แผนที่แนบสนธิสัญญาฯ ก็บรรยายสภาพภูมิประเทศบนชายฝั่ง
สนธิสัญญาฯ ระบุว่า “ได้เขียนเส้นพรมแดนประเมินไว้อย่างหนึ่ง ในแผนที่ตามความที่กล่าวในข้อนี้ติดเนื่องไว้ท้ายสัญญานี้ด้วย”
จะเห็นได้ว่า แผนที่แนบสนธิสัญญาฯ มีแต่สภาพภูมิประเทศบนชายฝั่ง เพื่อกำหนดพรมแดนคร่าวๆ หลักฐานสามอย่างนี้สรุปได้ว่า การที่กัมพูชาลากเส้นผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด ไม่เป็นไปตามสนธิสัญญาฯ ด้วยประการทั้งปวง
ผมจึงเห็นตามหลักฐานเหล่านี้ว่า MOU44 อาจจะผิดกฎหมาย ผมจึงขอแนะนำให้นายภูมิธรรม ระวังดำเนินการที่ผิดกฎหมาย
ควรเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ยกเลิก MOU44 พร้อมแจ้งกัมพูชาว่า การที่ในปี 2515 กัมพูชาลากเส้นผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด ออกไปยังอ่าวไทย เพื่อกำหนดเขตไหล่ทวีปนั้น ไม่เป็นไปตามสนธิสัญญาฯ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ทักษิณ' ลั่นล้านเปอร์เซ็นต์ 'เกาะกูด' ของไทย ไม่บ้ายกให้กัมพูชา จ่อติวเข้ม สส. แจงปชช.
'ทักษิณ' ลั่นล้านเปอร์เซ็นต์ 'เกาะกูด' เป็นของไทย โต้เฟกนิวส์ใช้เอไอปล่อยข่าวมั่ว ชี้ใครจะบ้ายกให้ เตรียมติว สส. เพื่อไทย แจงประชาชนถึงที่มา MOU 44
ฮึ่ม! โชว์ภาพแกนนำทุกวงการ เขย่าขวัญรัฐบาลเพื่อไทย นัดเยี่ยม ป.ป.ช.ถามปมป่วยทิพย์ชั้น 14
'จตุพร' เผย ฝ่ายปชช.แทบทุกวงการนัดหารือปัญหาชั้น 14 จ่อขยับไปเยี่ยม ปปช.ทวงถามทำหน้าที่ตรวจสอบป่วยทิพย์ จี้รัฐบาลเลิก MOU 44 หวั่นก่อปัญหาระหว่างประเทศ ย้ำต้องเจรจาเขตแดนก่อนหารือผลประโยชน์ เตือนสิ่งทีรัฐบาลทำไม่ต่างจากเรียกทหารออกมายึดอำนาจ
ตั้งป้อมชน 'ระบอบทักษิณใหม่' ประเดิม 18 ธ.ค. บุก ป.ป.ช. หึ่งล็อบบี้หนักล้มคดีชั้น 14
วงหารือฝ่ายต้านรัฐบาล ตั้งป้อมชน 'ระบอบทักษิณใหม่' นำร่อง 18 ธ.ค. บุกตึก ป.ป.ช. หลังได้กลิ่นล็อบบี้หนัก 3 กรรมการฯ ล้มคดีชั้น 14
'ทักษิณ' สื่อสารถึง 'สนธิ' : 'การทำอย่างเดิม ก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนเดิม'
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีนายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
เอาแล้ว! กองเชียร์หัวเสีย ทุบกระบอกเสียงรัฐบาลอิ๊งค์ ทำไมสู้ฝ่ายต้านไม่ได้
นายวันชัย สอนศิริ อดีตสมาชิกวุฒิสภา(สว.) โพสต์เฟซบุ๊กว่า กระบอกเสียงหรือกระบอกเสีย รัฐบาล
สีข้างถลอก! เพื่อไทย โต้ 'สนธิ' MOU 44 ยังไม่มีประเด็นหารือ ไม่ใช่กฎหมายที่ต้องเข้าสภาฯ
ที่รัฐสภา น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี ประเด็นปัญหา MOU 44 ว่า ผู้ที่มีส่วนเกี่