“อัยการคดีค้ามนุษย์” ร่วมสอบคดีคอลเซนเตอร์ เบรคหมายจับ “ดีเอสไอ”เเนะสอบพยานหลักฐานเพิ่มเติมรัดกุมก่อนขอออกหมายจับ “หม่องชิตตู” หวั่นศาลไม่ให้ เปิดขั้นตอนออกหมายจับ-ส่งผู้ร้ายข้ามเเดน
12 ก.พ.2568 - จากกรณีที่ร้อยตำรวจเอก สุรวุฒิ รังไสย์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมด้วยคณะทำงานได้เข้าหารือกับ นายศักดา คล้ายร่มไทร อัยการพิเศษฝ่ายสำนักงานคดีค้ามนุษย์ 1 เพื่อหารือกรณีที่จะยื่นคำร้องขอออกหมายจับผู้ต้องหาซึ่งคาดว่าประกอบด้วย พันเอก หม่องชิตตู , พันโท โมเต โธน และ พันตรี ทิน วิน ในความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์คอลเซนเตอร์
มีรายงานว่าเมื่อวันที่ 11 ก.พ. ทางพนักงานอัยการคดีค้ามนุษย์ซึ่งเป็นอัยการร่วมสอบสวนในคดีนอกราชอาณาจักร ได้หารือเบื้องต้นพบว่า พยานหลักฐานน่ายังไม่เพียงพอที่จะให้ศาลออกหมายจับได้ จึงเห็นควรให้ดีเอสไปสอบสวนหาพยานหลักฐานเพิ่มเติมให้รอบคอบรัดกุม ก่อนนำมาพิจารณาที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอออกหมายจับต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับพฤติการณ์ที่ DSI นำเข้าหารือกับพนักงานอัยการในเรื่องขออกหมายจับนั้น เนื่องด้วยเป็นกรณีที่กลุ่มผู้ต้องหามีการนำชาวอินเดียไปทำการค้ามนุษย์และบังคับทำงานเป็นแก๊งคอลเซนเตอร์ที่บ่อนเฮงเชง เมืองเมียวดี ประเทศเมียนมาร์ ฝั่งตรงข้าม อ.แม่สอด จ.ตาก ประเทศไทย แต่ทางการไทยสามารถช่วยกลับมาได้ 7 ราย โดยพบว่าทั้ง 7 รายมีลักษณะพฤติการณ์ถูกหลอกโดยใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่าน คล้ายคลึงกับกรณีซิง ซิง นักแสดงชาวจีนที่ถูกหลอกและทางการไทยสามารถช่วยเหลือได้ก่อนหน้านี้ จึงทำให้ต้องพิจารณาว่าจะดำเนินคดีขบวนการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับใครบ้าง
อย่างไรก็ตาม มีรายงานจาก DSI ว่า คดีนี้อาจจะมีชาวไทยเกี่ยวข้องประมาณ 2 ราย มีบทบาทเป็นกรรมการบริษัทและพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งที่ให้บริการจัดทำรีสอร์ตทั้งในไทยและในเมืองเมียวดี ประเทศเมียนมาร์ โดยเกี่ยวขัองกับขบวนการนำส่งคนไปทำงานแก๊งคอลเซนเตอร์
เเหล่งข่าวจากสำนักงานอัยการสูงสุดระบุว่า กรณีเรื่องการขอออกหมายจับเป็นเรื่องระหว่างพนักงานสอบสวน กับศาล ที่พนักงานสอบสวนจะยื่นคำร้องพร้อมเอกสารพยานหลักฐานให้ศาลพิจารณาออกหมายจับ ซึ่งเมื่อศาลพิจารณาออกหมายจับเเล้ว ทางพนักงานสอบสวนก็จะสามารถปฏิบัติตามหมายได้
ในกรณีที่ตัวผู้ต้องหาตามหมายจับหลบหนีอยู่ในต่างประเทศ ทางพนักงานสอบสวนผู้ร้องขอออกหมายจับจะมีการประสานขอออกหมายเเดง (อินเตอร์โพล) กับชาติสมาชิกอินเตอร์โพลทั้ง 194 ประเทศ ผ่านระบบออนไลน์ที่จะขึ้นในประเทศสมาชิก
เมื่อข้อมูลการออกหมายเเดงกระจายไปยังประเทศสมาชิก เเละพบว่าผู้ที่ถูกออกหมายจับนั้นพำนักอยู่ในประเทศนั้น ตำรวจในประเทศปลายทางก็จะตามจับกุมตัว ในกรณีที่มีการจับกุมตัวได้ทางประเทศปลายทางก็จะมีการกุมตัวไว้ตามหมายจับชั่วคราวเเละเเจ้งประเทศต้นทางที่เป็นสมาชิกให้ทำเรื่องขอส่งผู้ร้ายเเดนส่งมาโดยการเเจ้งจะเเจ้งผ่านอินเตอร์โพล ซึ่งเมื่อได้รับเเจ้งจากอินเตอร์โพลก็จะทำเรื่องมายังอัยการสูงสุด ในฐานะผู้ประสานงานกลาง ตั้งเเต่แรกเริ่มทุกขั้นตอนจะส่งผ่านอัยการสูงสุดเพื่อทราบว่าบุคคลตามหมายจับถูกกุมตัวเเละพำนักในประเทศใด
เมื่อได้รับทราบพิกัด หรือควบคุมตัวเเล้วทางอัยการสูงสุดจะเป็นผู้ประสานงานกลางในการทำเรื่องขอส่งผู้ร้ายข้ามเเดนไปยังกระทรวงการต่างประเทศเพื่อขอตัวผู้ร้ายข้ามแดนตามหมายจับมาดำเนินคดีในไทย
โดยหลักเกณฑ์ในการขอผู้ร้ายข้ามแดนก็จะมีรายละเอียดเช่น เป็นคดีอาญามีโทษร้ายเเรง เป็นคดีอาญาที่เป็นความผิดของทั้งสองประเทศ เเละไม่เป็นคดีทางการเมือง หรือศาสนา
การขอส่งผู้ร้ายข้ามเเดนจะมีการขอได้ 2 เเบบคือ 1.กรณีมีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามเเดนจะพิจารณาจากการมีสนธิสัญญาที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศ และ 2.กรณีที่ไม่มีสนธิสัญญาก็จะมีหลักสัญญาต่างตอบแทนโดยการทำคำมั่นสัญญาว่าหากส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนมายังประเทศต้นทางในครั้งหน้าก็จะดำเนินการต่างตอบแทนเช่นเดียวกัน
การร้องขอให้มีการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน มิใช่ว่าจะได้รับความร่วมมือทุกครั้งไป แล้วแต่ประเทศปลายทางจะเป็นผู้พิจารณา ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะใช้ศาลในประเทศนั้นเป็นผู้พิจารณาคำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน เเละจะมีการเปิดโอกาสให้มีการอุทธรณ์คำพิพากษาได้ ตรงนี้แต่ละประเทศก็จะมีขั้นตอนระยะเวลาอยู่
อย่างไรก็ตามในบางประเทศ การจะส่งผู้ร้ายข้ามแดน แม้ศาลจะอนุญาตเเล้วก็ยังต้องได้รับอำนาจกลั่นกรองโดยฝ่ายบริหาร หรือที่เรียกว่า executive review ที่ฝ่ายบริหารอาจจะต้องมาพิจารณา ที่ผ่านมาเคยมีกรณีที่ศาลอนุมัติเเล้วแต่ฝ่ายบริหารประเมินเเล้วมีเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศพิจารณาเเล้วไม่ส่งก็มี เช่นเป็นกรณีที่บางทีผู้ร้ายเป็นที่ต้องการขอตัวของหลายประเทศหากส่งไปให้ประเทศใดประเทศหนึ่งเเล้วจะกระทบความสัมพันธ์ได้
ซึ่งคดีดังกล่าวที่จะมีการปรึกษาในเรื่องการขอออกหมายจับมีรายงานว่า เป็นคดีเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ชาวอินเดีย เมื่อปี 2565 สำหรับพฤติการณ์ที่ DSI จะนำหารือกับพนักงานอัยการนั้น เนื่องด้วยเป็นกรณีที่กลุ่มผู้ต้องหามีการนำชาวอินเดียไปทำการค้ามนุษย์และบังคับทำงานเป็นแก๊งคอลเซนเตอร์ที่บ่อนเฮงเชง เมืองเมียวดี ประเทศเมียนมาร์ ฝั่งตรงข้าม อ.แม่สอด จ.ตาก ประเทศไทย
แต่ทางการไทยสามารถช่วยกลับมาได้ 7 ราย โดยพบว่าทั้ง 7 รายมีลักษณะพฤติการณ์ถูกหลอกโดยใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่าน คล้ายคลึงกับกรณีซิง ซิง นักแสดงชาวจีนที่ถูกหลอกและทางการไทยสามารถช่วยเหลือได้ก่อนหน้านี้ จึงทำให้ต้องพิจารณาว่าจะดำเนินคดีขบวนการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับใครบ้าง
ซึ่งก่อนหน้านี้มีรายงานจาก DSI ว่า คดีนี้อาจจะมีชาวไทยเกี่ยวข้องประมาณ 2 ราย มีบทบาทเป็นกรรมการบริษัทและพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งที่ให้บริการจัดทำรีสอร์ตทั้งในไทยและในเมืองเมียวดี ประเทศเมียนมาร์ โดยเกี่ยวขัองกับขบวนการนำส่งคนไปทำงานแก๊งคอลเซนเตอร์
ประเด็นสำคัญที่จะทำให้ศาลออกหมายจับได้นั้นอยู่ที่ “พยานหลักฐาน” ที่ทำให้ศาลเชื่อได้ว่าน่าจะมีการกระทำผิด
รายงานข่าวยังระบุว่า หากมีการดำเนินคดีนี้เป็นคดีนอกราชอาณาจักร ที่กฎหมายให้อัยการสูงสุดเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบหรือมีอำนาจตั้งพนักงานสอบสวน ซึ่งโดยปกติเมื่อมีการตั้งพนักงานสอบสวนแล้วอัยการสูงสุดก็จะตั้งพนักงานอัยการจากสำนักงานการสอบสวนมาร่วมสอบสวน
แต่ที่ผ่านมากจะพบว่าเมื่อเป็นคดีนอกราชอาณาจักรเเละเป็นความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ฯส่วนมากอัยการสูงสุดก็จะให้พนักงานอัยการจากสำนักงานคดีค้ามนุษย์ร่วมสอบสวนกับพนักงานสอบสวนเลยเพื่อให้คดีเป็นไปอย่างราบรื่นต่อเนื่องกันเนื่องจากมีสำนักงานอัยการคดีค้ามนุษย์เฉพาะ ซึ่งก็มีหลายฝ่ายเองมองว่าอาจขัดกับหลักการถ่วงดุลตรวจสอบ เพราะจะกลายเป็นสอบสวนเเละสั่งคดีเองในสำนักงานเดียวกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ทักษิณ' ปัดล้างบางสว.สีน้ำเงิน รับคุย 'เนวิน-อนุทิน' เสถียรภาพรัฐบาลแน่น!
'ทักษิณ ชินวัตร' ปัดล้างบาง สว. สีน้ำเงิน เปิดปากยอมรับพูดคุยกับ 'อนุทิน-เนวิน' จริงแต่เป็นการให้คำปรึกษาเท่านั้น ไม่มีอำนาจสั่งการ พร้อมย้ำเสถียรภาพรัฐบาลยังคงมั่นคงดี ไม่มีปัญหา
ลุยสางคดี 'อดีตผกก.โจ้' เรียกแม่-น้องแจงยิบ ตั้งแต่ต้นถึงวันเสียชีวิต
มีรายงานข่าวภายในคณะอนุกรรมการกลั่นกรองข้อเท็จจริงกรณีการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายว่า วันนี้ทางคณะอนุกรรมการฯ ได้มีการนัดหมายญาติของ พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล หรือ อดีตผู้กำกับโจ้
'ผบ.อ๊อบ' จับเหยื่อต้องสงสัย แก๊งคอลเซ็นเตอร์ 7 ราย ขณะตรวจการปฏิบัติของทหารกกล.นเรศวร
พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน (ผอ.ศอ.ปชด.)
'นิพิฏฐ์' ชำแหละ คดีฮั้วเลือกสว. พันกันเหมือนงูกินหาง เงาแห่งหายนะมาเยือน
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตส.ส.พัทลุง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เงาแห่งหายนะมาเยือน
'บิ๊กอ้วน' เมินเสียงโอด BGF
'ภูมิธรรม' ไม่ก้าวล่วง BGF หลังโอดแบกภาระดูแลชาวต่างชาติ 'แก๊งคอลเซ็นเตอร์' ลั่นหากไทยช่วยต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ
ผบ.ทหารสูงสุด ลงพื้นที่แม่สอด ลุยแก้อาชญากรรมข้ามชาติ หลังนายกฯตั้งศูนย์ ปชด.
พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน หรือ ผอ.ศอ.ปชด.ลงพื้นที่อำเภอแม่สอด