รัฐบาลศรีลังกาประกาศเคอร์ฟิวช่วงสุดสัปดาห์ในวันเสาร์ ขณะที่ทนายความหลายร้อยคนได้เรียกร้องให้ประธานาธิบดีโกตาบายา ราชปักษา ยกเลิกการประกาศภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ความไม่สงบจากประเด็นขาดแคลนเชื้อเพลิงและสินค้าเพื่อการดำรงชีวิต ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่เลวร้ายที่สุดในรอบหลายทศวรรษ
ผู้ชุมนุมถือป้ายประท้วงขับไล่ประธานาธิบดีโกตาเบยา ราชปักษา จากวิกฤตขาดแคลนเชื้อเพลิงและราคาสินค้าจำเป็นที่พุ่งสูงขึ้น ในกรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา เมื่อวันที่ 2 เมษายน (Photo by Ishara S. KODIKARA / AFP)
รอยเตอร์รายงานสถานการณ์การประท้วงในกรุงโคลัมโบเมื่อวันที่ 2 เมษายน กล่าวว่า เคอร์ฟิวทั่วประเทศจะเริ่มตั้งแต่ 18.00 น. ในวันเสาร์ที่ 2 เมษายน จนถึง 06.00 น. ของวันจันทร์ที่ 4 เมษายน ตามเวลาท้องถิ่น
ประธานาธิบดีโกตาบายา ราชปักษา ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินเมื่อวันศุกร์ โดยอ้างความจำเป็นในการปกป้องความสงบเรียบร้อยของประชาชน และไม่ให้เกิดสภาวะจลาจลกลางเมือง ซึ่งทำให้เกิดความวิตกในวงกว้างว่าจะมีการปราบปรามผู้ประท้วง เนื่องจากในอดีต ท่ามกลางประกาศภาวะฉุกเฉิน ทหารสามารถจับกุมและกักขังผู้ต้องสงสัยได้โดยไม่ต้องใช้หมายศาล
ประชากร 22 ล้านคนกำลังประสบปัญหาไฟฟ้าดับนานถึง 13 ชั่วโมงต่อวัน เพราะความแห้งแล้งทำให้ขาดแคลนน้ำในการผลิตไฟฟ้า ซ้ำร้ายรัฐบาลยังไม่มีเงินตราต่างประเทศเพื่อใช้ในการนำเข้าน้ำมันและสินค้าจำเป็นอื่นๆอีกต่างหาก ความอดทนที่หมดลงจากความเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้าในครั้งนี้ ทำให้ประชาชนลุกฮือและพุ่งเป้าไปยังการบริหารที่ล้มเหลวของประธานาธิบดีโกตาบายา ราชปักษา ด้วยความโกรธแค้น ผู้ประท้วงหลายร้อยคนเข้าปะทะกับตำรวจและทหารที่รักษาความปลอดภัยบริเวณรอบบ้านพักของราชปักษาเมื่อวันพฤหัสบดี พร้อมเรียกร้องให้ราชปักษาลาออกและจุดไฟเผารถตำรวจและทหารหลายคัน
ตำรวจจับกุมผู้ต้องสงสัยได้ 53 คน และประกาศเคอร์ฟิวในโคลัมโบและบริเวณโดยรอบเมื่อวันศุกร์ เพื่อควบคุมการประท้วงไม่ให้บานปลาย ด้านธุรกิจการค้าและการจราจรยังคงดำเนินการไปตามปกติ ยกเว้นตามสถานีบริการน้ำมันที่มีตำรวจประจำการอยู่ทุกแห่ง นัยว่าเพื่อป้องกันการปล้น มากกว่าการโจมตี
สถานการณ์ในศรีลังกากำลังได้รับการจับตาจากนานาชาติ ไม่ใช่ในแง่ของการช่วยเหลือ แต่เป็นประเด็นของการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดย จูลี่ ชุง เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำศรีลังกา กล่าวว่า “ชาวศรีลังกามีสิทธิที่จะประท้วงอย่างสันติ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการแสดงออกในระบอบประชาธิปไตย”
ด้านรัฐบาลศรีลังกาเอง กำลังดิ้นรนอย่างหนักในการหาแหล่งเงินกู้จากอินเดียและจีน เพื่อนำมาแก้ไขปัญหา และเริ่มมีข่าวดีขึ้นบ้างเมื่อรัฐบาลได้รับวงเงินสินเชื่อจากอินเดีย พร้อมความช่วยเหลือด้านอาหารครั้งใหญ่ เป็นข้าวสารจำนวน 40,000 ตัน ที่กำลังจะถูกจัดส่งมาทางเรือ
อินเดีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก ตกลงที่จะให้วงเงินสินเชื่อ 1 พันล้านดอลลาร์แก่ศรีลังกา เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนข้าวของที่จำเป็น ซึ่งรวมถึงเชื้อเพลิง อาหาร และยารักษาโรค.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บี้ประท้วง 'เมียนมา' ทุกระดับ ปล่อยตัวคนไทย คืนเรือ-ชดใช้
นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า
นายกฯอิ๊งค์ ควง 'เศรษฐา' สวมชุดอินเดีย เปิดงานดิวาลี 2024 ชูเป็นซอฟต์พาวเวอร์
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สวมชุดสไตล์อินเดีย เป็นประธานในพิธีเปิดงาน Amazing Thailand Diwali Festival Bangkok 2024
ประชาชนนับพันประท้วงต่อต้านความรุนแรงของตำรวจในเมืองหลวงของโปรตุเกส
การเสียชีวิตของชายผิวดำคนหนึ่งหลังปฏิบัติการของตำรวจ ทำให้เกิดจลาจลขึ้นในกรุงลิสบอน เมืองหลวงของโปรตุเกส เมื่อ
นักเรียนขอนแก่น บุกประท้วงเรียกร้องย้ายผอ.โรงเรียน พบพฤติกรรมไม่เหมาะสม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ว่าการอำเภอชุมแพ จ.ขอนแก่น ได้มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมโรงเรียนชื่อดังใน อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น กว่า 200 คนรวมตัวกันเดินทางมาประท้วงร้องเรียน ให้ตรวจสอบและย้ายผู้อำนวยการโรงเรียน
'ไทยออยล์' เผย 'UJV' ผู้รับเหมาหลักยังไม่จ่ายค่าจ้างให้กลุ่มแรงงานที่ประท้วง
จากกรณีกลุ่มผู้ใช้แรงงานรวมตัวชุมนุมบริเวณริมถนนสุขุมวิท หน้าโรงกลั่นไทยออยล์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาค