อาเซียนเตือนเมียนมา อย่าทำการประหารชีวิตนักโทษการเมืองอีก

กัมพูชา ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนในวาระปัจจุบัน เตือนเมียนมาไม่ให้ประหารชีวิตนักโทษอีก ภายหลังมีประเด็นการสังหารนักโทษการเมือง 4 คนด้วยการแขวนคอ โดย 2 คนในจำนวนนั้นเป็นบุคคลผู้มีบทบาทสำคัญในฝ่ายประชาธิปไตย ซึ่งก่อให้เกิดความไม่พอใจในระดับนานาชาติ

(จากซ้ายไปขวา) ไซฟุดดิน อับดุลลาห์ รัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซีย, เทเรซา ลาซาโร รักษาการปลัดกระทรวงต่างประเทศฟิลิปปินส์, วิเวียน บาลาคริชนาน รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์, ดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีต่างประเทศไทย, บุ่ย แทงห์ เซิน รัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนาม, นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน ของกัมพูชา, ปรัก สุคน รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา, เร็ตโน มาร์ซูดี รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย, อีริวาน ยูซอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศบรูไน, สะเหลิมไซ กมมะสิด รัฐมนตรีต่างประเทศลาว และลิม จ็อก ฮอย เลขาธิการอาเซียน ถ่ายภาพร่วมกันระหว่างพิธีเปิดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ครั้งที่ 55 ในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม (Photo by Mohd RASFAN / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพุธที่ 3 สิงหาคม 2565 กล่าวว่า การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนประจำปีนี้ เปิดฉากขึ้นแล้วในวันพุธ ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา โดยมีประเด็นร้อนในการหารือเรื่องการประหารชีวิตนักโทษการเมืองโดยรัฐบาลทหารเมียนมา ซึ่งสร้างกระแสความไม่พอใจไปทั่วโลก

โดยบรรดารัฐมนตรีต่างประเทศจากประเทศในอาเซียน กำลังหารือถึงวิธีการจัดการกับวิกฤตทางการเมืองที่กำลังร้อนแรงในเมียนมา จนถึงตอนนี้ ชาติอาเซียนทั้ง 10 ชาติได้พยายามช่วยเหลือและฟื้นฟูความสงบสุขให้กับเมียนมาหลังการรัฐประหารในปีที่แล้ว แต่ดูเหมือนจะไม่เกิดผลในทางที่ดีใดๆ เพราะไม่ได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลเผด็จการทหาร

รัฐบาลทหารทำการประหารชีวิตนักโทษการเมือง 4 รายเมื่อเดือนที่แล้ว โดยการกระทำดังกล่าวต่างโดนประณามจากชาติสมาชิกอาเซียน หลังผู้นำสูงสุดของทุกชาติอาเซียน รวมถึงมิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้นำรัฐประหารของเมียนมา เคยตกลงร่วมกันใน "ฉันทามติ 5 ประการ" เมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว โดยข้อตกลงดังกล่าวเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงและให้มีการเจรจาระหว่างกองทัพกับฝ่ายต่อต้านรัฐประหารโดยทันที เพื่อหาทางออกจากวิกฤตความรุนแรงในเมียนมา

“หากเมียนมามีการประหารชีวิตนักโทษเพิ่มอีก อาเซียนคงต้องกลับมาทบทวนบทบาทภายใต้ฉันทามติ 5 ประการที่เคยตกลงกันไว้” นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ของกัมพูชา กล่าวขณะเปิดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ

ฮุน เซน กล่าวว่า “อาเซียนผิดหวังและไม่พอใจกับการประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวในเมียนมา แม้จะมีการร้องขอให้ยับยั้งและทบทวนให้พิจารณาโทษประหารชีวิตใหม่ เพื่อประโยชน์ในการเจรจาทางการเมือง, สันติภาพ และความปรองดองแล้วก็ตาม” ซึ่งฮุน เซนเองก็ยอมรับว่าความขัดแย้งในเมียนมาเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ยาก

การทำรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว ทำให้เมียนมาตกอยู่ในความระส่ำระสาย โดยมียอดผู้เสียชีวิตจากการปราบปรามผู้เห็นต่างอย่างโหดเหี้ยมของทหารกว่า 2,100 ราย ตามรายงานของกลุ่มสังเกตการณ์ท้องถิ่น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สมช.' แจงไทยมี 3 จุดยืนในสถานการณ์เมียนมา

'สมช.' เข้าแจง 'กมธ.มั่นคงฯ' เพื่อรายงานการรับมือผลกระทบจากสถานการณ์สู้รบในเมียนมา ย้ำ 3 จุดยืน รักษาอธิปไตยไทย-ไม่ยินยอมให้ใช้ดินแดน-ดูแลผู้หนีภัยตามหลักมนุษยธรรมสากล

'ทบ.' เปิดแผนรับมือ สถานการณ์สู้รบชายแดนไทย-เมียนมา

รายงานข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก เปิดเผยแนวทางการปฏิบัติในการรองรับสถานการณ์ความไม่สงบด้านเมียนมา กรณีการปะทะระหว่างทหารเมียนมากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย

เตือนแรงงาน 3 สัญชาติ MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับปท. ภายใน 30 เม.ย. นี้

‘คารม’ เตือนแรงงาน MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางภายใน 30 เม.ย นี้ แนะนายจ้าง/ผู้ประกอบการยื่นคำร้อง นจ. 2 ล่วงหน้า หากประสงค์จะนำแรงงานกลับเข้ามาทำงานอีกครั้ง

‘เศรษฐา’ ลงพื้นที่ชายแดนแม่สอด 23 เม.ย. เกาะติดสถานการณ์สู้รบในเมียนมา

‘สุทิน’ เผยสถานการณ์สู้รบเมียนมาเข้มข้นขึ้น คนหนีภัยมาไทย ยอมรับกระทบเราแต่ไม่มีอะไรน่าวิตก ขอสบายใจกองทัพปกป้องอธิไตย-ดูแลประชาชนเต็มที่

'เศรษฐา' เตรียมบินไปแม่สอด 23 เม.ย. หลังปะทะเดือดใกล้ชายแดนเมียนมา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ทวิตข้อความผ่าน x ว่า “จากสถานการณ์การปะทะกันบริเวณสะพานมิตรภาพ 2 ฝั่งเมียนมา

นายกฯเศรษฐา กังวลสถานการณ์สู้รบในเมียนมา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ใช้เวลาช่วงวันหยุดติดตามงาน รวมถึงสถานการณ์สู้รบบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา พร้อมทวิตข้อความผ่าน x ว่า “ผมติดตาม