จีนเผชิญภัยแล้งกว่าค่อนประเทศ คลื่นความร้อนสูงสุดเป็นประวัติการณ์

ภัยแล้งจากคลื่นความร้อนกำลังก่อตัวรุนแรงแผ่ขยายไปทั่วประเทศจีน ลามไปถึงที่ราบสูงทิเบตที่ปกติจะมีอากาศเย็น

ภาพถ่ายทางอากาศเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม แสดงให้เห็นก้นแม่น้ำของแม่น้ำเจียหลิง ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำแยงซี ในเมืองฉงชิ่ง ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน (Photo by Noel Celis / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2565 กล่าวว่า พื้นที่กว่าค่อนประเทศของจีน กำลังเผชิญภัยแล้งรุนแรงจากคลื่นความร้อนที่แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อวันพฤหัสบดี

ดินแดนแห่งเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกต้องเผชิญกับคลื่นความร้อน, น้ำท่วมฉับพลัน และภัยแล้งมาเป็นเวลากว่า 70 วันแล้ว ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นต่อไปและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จนอาจพัฒนากลายเป็นหนึ่งในคลื่นความร้อนที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์โลก

แผนภูมิจาก National Climate Center เผยให้เห็นว่าพื้นที่ทางตอนใต้ของจีน ซึ่งรวมถึงที่ราบสูงทิเบต กำลังประสบกับภาวะแห้งแล้ง "รุนแรง" ไปจนถึงระดับ "ไม่ปกติ"

พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดคือ ลุ่มแม่น้ำแยงซี ซึ่งทอดยาวจากชายฝั่งเซี่ยงไฮ้ไปยังมณฑลเสฉวน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน รวมถึงเมืองฉงชิ่ง โดยจะส่งผลต่อประชากรกว่า 370 ล้านคน และศูนย์กลางการผลิตอีกหลายแห่ง

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของจีนคาดการณ์ว่าอุณหภูมิจะสูงถึง 40 องศาเซลเซียส (104 องศาฟาเรนไฮต์) ในเมืองฉงชิ่ง, มณฑลเสฉวน และมณฑลเจ้อเจียงในวันพฤหัสบดี

ระดับน้ำที่ต่ำเป็นประวัติการณ์ในแม่น้ำแยงซียังสร้างแรงกดดันต่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำของภูมิภาค โดยสำนักงานบริหารพลังงานแห่งชาติให้คำมั่นเมื่อวันพุธว่า จะชดเชยการขาดแคลนพลังงานจากน้ำโดยเพิ่มการผลิตพลังงานจากถ่านหินเป็นการทดแทน

เมื่อวันพุธ ทางการจีนประกาศสนับสนุนเงินช่วยเหลือ 1 หมื่นล้านหยวน (ประมาณ 52,000 ล้านบาท) เพื่อสนับสนุนเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง ซึ่งทางการกังวลว่าจะเกิดภัยคุกคามร้ายแรงต่อการเก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ร่วงปีนี้

จีนผลิตข้าว, ข้าวสาลี และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากกว่าร้อยละ 95 แต่การเก็บเกี่ยวที่ลดลงอาจหมายถึงความจำเป็นในการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นในประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก และอาจสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่ออุปทานทั่วโลกที่กำลังตึงเครียดจากความขัดแย้งในยูเครน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ฝนหลวงช่วยชีวิตเกษตรกรชุมพร หลังเจอวิกฤติภัยแล้งหนัก ทุเรียนยืนต้นตาย ผลผลิตลดฮวบ

จังหวัดชุมพรประสบภัยแล้งขั้นวิกฤติ หลังไม่ตกฝนทิ้งช่วงนานกว่า 3 เดือน อากาศร้อนจัด น้ำในลำคลองแห้งขอด แหล่งน้ำไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง พืชผลทางการเกษตรเสียหาย โดยเฉพาะทุเรียนที่ขาดน้ำมานานต่อเนื่อง ทำให้ผลร่วง ใบแห้ง ทยอยยืนต้นตายเป็นจำมากกว่า มีความเสียหายมากกว่า 100 ล้านบาทแล้ว

ชุมพร ประกาศเขตภัยพิบัติ 7 อำเภอ แล้งหนัก ฝนทิ้งช่วงนาน เร่งเยียวยาช่วยเหลือ

นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผวจ.ชุมพร ลงนามประกาศเขตประสบสาธารณภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ภัยแล้ง ลงวันที่ 31 พ.ค.66 ด้วยเกิดเหตุภัยแล้งเนื่องจากสภาวะฝนทิ้งช่วง สภาพอากาศที่แห้งแล้งติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

นายกฯ ปลื้ม 'ทุเรียนไทย' ฮอตต่อเนื่องในจีน ลุยส่งออกผ่านรถไฟจีน-ลาว

นายกฯ ยินดี “ทุเรียนไทย” ได้รับความนิยมต่อเนื่องในจีน หน่วยงานภาครัฐ – เอกชน นำเสนอทุเรียนไทย 5 สายพันธุ์ พร้อมส่งเสริมการส่งออกผ่านทางรถไฟจีน - ลาว คงคุณภาพทุเรียนไทย

โอกาส ความท้าทาย และแนวทางปรับตัวของไทย หลังสหรัฐฯ-จีนเปิดศึกแยกห่วงโซ่อุปทาน

สนค. เผยผลระดมสมองผลการแยกห่วงโซ่อุปทานหลังเกิดความขัดแย้งสหรัฐฯ กับจีน ต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ พบไทยมีทั้งโอกาสและความท้าทาย

อดีตบิ๊กข่าวกรอง ห่วงกลุ่มวัยรุ่นไทย ซ้ำรอย ‘Gang of 4’ จีน ยุคปี 1966-1976 

น่าเป็นห่วงต่อแนวความคิดของกลุ่มวัยรุ่นที่ถูกอ้างว่าเป็นมวลชนของคนก้าวหน้า ที่นิยมความรุ่นแรง ชอบการข่มขู่ ขยันลงถนน แถมชื่นชมแนวคิดพ่อแม่มีหน้าทึ่เลี้ยงลูก ไม่ถือเป็นบุญคุณที่จะต้องตอบแทน