บ.13ปท.ช่วยเมียนมาผลิตอาวุธ

บริษัทจากอย่างน้อย 13 ประเทศ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตอาวุธให้กับกองทัพเมียนมา อาวุธเหล่านั้นนำมาใช้เข่นฆ่าประชาชนที่เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมาตั้งแต่หลังรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564

              สำนักข่าวเอพีเผยรายงานของสภาที่ปรึกษาพิเศษต่อกรณีเมียนมาที่เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2566 ระบุว่า มีบริษัทต่างๆ จากอย่างน้อย 13 ประเทศทั่วโลก ที่่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตอาวุธให้กับกองทัพเมียนมา ตั้งแต่กองทัพก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564

              จากข้อมูลของสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองในเมียนมา หลังรัฐประหารที่ชาวเมียนมาทั่วประเทศเคลื่อนไหวชุมนุมต่อต้านจนนำไปสู่การปราบปรามของทหารและตำรวจ ทำให้พลเรือนเสียชีวิตมากกว่า 2,700 คน โดยมีเด็กเสียชีวิต 277 คน และมีผู้ถูกจับกุมมากกว่า 13,000 คน เชื่อว่าตัวเลขที่แท้จริงน่าจะสูงกว่านี้

              รายงานฉบันนี้ระบุว่า มีบริษัทต่างๆ อย่างน้อยใน 13 ประเทศในสหรัฐอเมริกา, เอเชียและตะวันออกกลางที่กำลังสนับสนุนห่วงโซ่อุปทานทางทหารให้กับกองทัพเมียมา เรียกร้องให้บริษัทเหล่านี้ทบทวนตัวเองว่าสิ่งที่ทำอยู่เป็นการเอื้อต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่

              อุตสาหกรรมผลิตอาวุธในประเทศของเมียนมาเติบโตขึ้น เนื่องจากบางประเทศมีมาตรการห้ามค้าอาวุธกับเมียนมา หรือคว่ำบาตรบุคคลหรือบริษัทของเมียนมาที่เกี่ยวข้องกับการค้าหรือผลิตอาวุธ

              เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว กระทรวงการคลังสหรัฐประกาศคว่ำบาตรออง โม มยินต์ นักธุรกิจชาวเมียนมาที่มีความใกล้ชิดกับทหารเมียนมา กล่าวหาว่าเขาเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการตกลงซื้ออาวุธให้กับกองทัพเมียนมา โดยกระทำในนามของนักธุรกิจผู้นี้

              สหรัฐยังคว่ำบาตรไล้ โม มยินต์ น้องชายของนักธุรกิจผู้นี้ และบริษัท ไดนาสตี อินเตอร์เนชั่นแนล คอมปานี บริษัทการค้าที่นักธุรกิจ 2 คนเป็นผู้ก่อตั้ง รวมถึงเมียว ทิสซาร์ ผู้อำนวยการคนหนึ่งของบริษัท

              เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ทางการสหรัฐบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อซัพพลายเออร์เครื่องบินของกองทัพเมียนมา โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากเครื่องบินรบของเมียนมาโจมตีทางอากาศต่อพลเรือน

              รายงานของสภาที่ปรึกษาพิเศษต่อกรณีเมียนมา กล่าวว่า ไม่มีบริษัทผลิตอาวุธเอกชนในเมียนมา ดังนั้นบริษัทที่ผลิตอาวุธในเมียนมาทั้งหมดดำเนินการโดยกระทรวงกลาโหมเมียนมาและคณะกรรมการอุตสาหกรรมกลาโหม

              รายงานดังกล่าวระบุว่า โรงงานผลิตอาวุธในเมียนมายังคงสามารถใช้เทคโนโลยีที่ได้รับใบอนุญาตและห่วงโซ่อุปทานในการผลิตอาวุธจากต่างประเทศ, การสนับสนุนด้านเทคนิคและการช่วยเหลือด้านอื่นๆ บางครั้งมีการส่งอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบอาวุธไปที่สิงคโปร์และไต้หวันเพื่ออัปเกรดและบำรุงรักษา

              คริส ซิโดตี ผู้เชี่ยวชาญของสภาที่ปรึกษาพิเศษต่อกรณีเมียนมากล่าวในถ้อยแถลงเรียกร้องให้รัฐบาลในประเทศที่บริษัทถูกกล่าวหาช่วยเมียนมาผลิตอาวุธสอบสวนในเรื่องนี้ และออกมาตรการจัดการกับบริษัทเหล่านั้น เพื่อไม่ให้กองทัพเมียนมาผลิตอาวุธมาเพื่อใช้โจมตีพลเรือนอย่างไม่เลือกหน้า บริษัทที่ได้กำไรจากความทุกข์ทรมานของชาวเมียนมาต้องรับผิดชอบ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สมช.' แจงไทยมี 3 จุดยืนในสถานการณ์เมียนมา

'สมช.' เข้าแจง 'กมธ.มั่นคงฯ' เพื่อรายงานการรับมือผลกระทบจากสถานการณ์สู้รบในเมียนมา ย้ำ 3 จุดยืน รักษาอธิปไตยไทย-ไม่ยินยอมให้ใช้ดินแดน-ดูแลผู้หนีภัยตามหลักมนุษยธรรมสากล

'ทบ.' เปิดแผนรับมือ สถานการณ์สู้รบชายแดนไทย-เมียนมา

รายงานข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก เปิดเผยแนวทางการปฏิบัติในการรองรับสถานการณ์ความไม่สงบด้านเมียนมา กรณีการปะทะระหว่างทหารเมียนมากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย

เตือนแรงงาน 3 สัญชาติ MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับปท. ภายใน 30 เม.ย. นี้

‘คารม’ เตือนแรงงาน MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางภายใน 30 เม.ย นี้ แนะนายจ้าง/ผู้ประกอบการยื่นคำร้อง นจ. 2 ล่วงหน้า หากประสงค์จะนำแรงงานกลับเข้ามาทำงานอีกครั้ง

‘เศรษฐา’ ลงพื้นที่ชายแดนแม่สอด 23 เม.ย. เกาะติดสถานการณ์สู้รบในเมียนมา

‘สุทิน’ เผยสถานการณ์สู้รบเมียนมาเข้มข้นขึ้น คนหนีภัยมาไทย ยอมรับกระทบเราแต่ไม่มีอะไรน่าวิตก ขอสบายใจกองทัพปกป้องอธิไตย-ดูแลประชาชนเต็มที่

'เศรษฐา' เตรียมบินไปแม่สอด 23 เม.ย. หลังปะทะเดือดใกล้ชายแดนเมียนมา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ทวิตข้อความผ่าน x ว่า “จากสถานการณ์การปะทะกันบริเวณสะพานมิตรภาพ 2 ฝั่งเมียนมา

นายกฯเศรษฐา กังวลสถานการณ์สู้รบในเมียนมา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ใช้เวลาช่วงวันหยุดติดตามงาน รวมถึงสถานการณ์สู้รบบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา พร้อมทวิตข้อความผ่าน x ว่า “ผมติดตาม