อินโดนีเซียเตือนประเทศมหาอำนาจว่าอย่าใช้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็น 'ตัวแทน' ในการพิพาทกันเอง

บรรยากาศการประชุมคณะมนตรีประสานงานอาเซียนครั้งที่ 32 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ (Photo by BAY ISMOYO / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 กล่าวว่า อินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ 2566 (AMM Retreat 2023) และการประชุมคณะมนตรีประสานงานอาเซียนครั้งที่ 32 (32nd ACC Meeting) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ ณ กรุงจาการ์ตา
ในช่วงเริ่มต้นของการเจรจา 2 วันระหว่างบรรดารัฐมนตรีต่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ของอินโดนีเซีย กล่าวในการพูดคุยก่อนการประชุมเมื่อวันศุกร์ว่า "อาเซียนไม่ควรเป็นตัวแทนของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง" ซึ่งเป็นประโยคเดิมที่เขาเคยกล่าวไว้ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในกัมพูชาเมื่อปีที่แล้ว พร้อมขอชาติสมาชิกให้มีเอกภาพและร่วมมือให้เกิดความคืบหน้าในวิกฤตเมียนมา
ทั้งนี้ ข้อพิพาทเหนือทะเลจีนใต้ทำให้ชาติสมาชิกอาเซียนบางส่วนมีท่าทีต่อต้านรัฐบาลจีนและเพิ่มความเห็นอกเห็นใจไปทางมหาอำนาจตะวันตกอย่างสหรัฐฯที่คัดค้านท่าทีของจีน ขณะที่ชาติสมาชิกอื่นๆ แสดงการสนับสนุนมหาอำนาจเอเชียอย่างจีน
ส่วนวิกฤตในเมียนมาที่ปกครองโดยทหารและเต็มไปด้วยความไม่สงบตั้งแต่กองทัพเข้ายึดอำนาจในปี 2564 กระบวนการแก้ไขยังไม่เป็นไปตามมติอาเซียนที่กดดันเมียนมาด้วย 'ฉันทามติ 5 ประการ' ซึ่งรัฐบาลทหารไม่ให้ความร่วมมือ แม้เมียนมายังคงเป็นชาติสมาชิกอาเซียน แต่ก็ถูกกีดกันจากการประชุมสุดยอดหลายครั้งจากเหตุดังกล่าว.
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 กล่าวว่า อินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ 2566 (AMM Retreat 2023) และการประชุมคณะมนตรีประสานงานอาเซียนครั้งที่ 32 (32nd ACC Meeting) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ ณ กรุงจาการ์ตา
ในช่วงเริ่มต้นของการเจรจา 2 วันระหว่างบรรดารัฐมนตรีต่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ของอินโดนีเซีย กล่าวในการพูดคุยก่อนการประชุมเมื่อวันศุกร์ว่า "อาเซียนไม่ควรเป็นตัวแทนของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง" ซึ่งเป็นประโยคเดิมที่เขาเคยกล่าวไว้ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในกัมพูชาเมื่อปีที่แล้ว พร้อมขอชาติสมาชิกให้มีเอกภาพและร่วมมือให้เกิดความคืบหน้าในวิกฤตเมียนมา
ทั้งนี้ ข้อพิพาทเหนือทะเลจีนใต้ทำให้ชาติสมาชิกอาเซียนบางส่วนมีท่าทีต่อต้านรัฐบาลจีนและเพิ่มความเห็นอกเห็นใจไปทางมหาอำนาจตะวันตกอย่างสหรัฐฯที่คัดค้านท่าทีของจีน ขณะที่ชาติสมาชิกอื่นๆ แสดงการสนับสนุนมหาอำนาจเอเชียอย่างจีน
ส่วนวิกฤตในเมียนมาที่ปกครองโดยทหารและเต็มไปด้วยความไม่สงบตั้งแต่กองทัพเข้ายึดอำนาจในปี 2564 กระบวนการแก้ไขยังไม่เป็นไปตามมติอาเซียนที่กดดันเมียนมาด้วย 'ฉันทามติ 5 ประการ' ซึ่งรัฐบาลทหารไม่ให้ความร่วมมือ แม้เมียนมายังคงเป็นชาติสมาชิกอาเซียน แต่ก็ถูกกีดกันจากการประชุมสุดยอดหลายครั้งจากเหตุดังกล่าว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไทยขึ้นแท่น ที่ 1 อาเซียน 'ฟ้องปิดปาก' นักปกป้องสิทธิ
องค์กร Protection International เปิดตัวรายงาน “การต่อต้านคือพลัง เสริมสร้างกลไกคุ้มครองผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย” พบไทยใช้กฎหมายปิดปากนักปกป้องสิทธิมากที่สุดในอาเซียน 9 ปีเกือบ 600 คดี และยังต้องสู้กับอำนาจของกลุ่มทุน จี้ ก.ยุติธรรม ให้นิยาม “การคุ้มครองผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิ” พร้อมเร่งออกกฎหมายต่อต้านการฟ้องปิดปาก SLAPPs ควบคู่กับการปฎิรูปกองทุนยุติธรรมให้เข้าถึงได้จริง ฟื้นความเป็นอิสระของกสม. พร้อมเจตจำนงทางการเมืองที่คุ้มครอง
ศาลไม่อนุญาตให้ ’ทักษิณ‘ เดินทางไปประชุมอาเซียนที่อินโดนีเซีย
ศาลอาญามีคำสั่งยกคำร้องของนายทักษิณ ชินวัตร ที่ขออนุญาตเดินทางไปประชุมอาเซียนที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยให้เหตุผลว่ายังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะอนุญาตให้ออกนอกราชอาณาจักร
ยื่นหนังสือจี้ ‘อันวาร์’ ทบทวนบทบาท ‘ที่ปรึกษาประธานอาเซียน’
เอาแล้ว! พรรคไทยภักดี ยื่นหนังสือถึงสถานทูตมาเลเซีย ส่งต่อ ‘อันวาร์ อิบราฮิม’ ทบทวนบทบาท ‘ทักษิณ’ ที่ปรึกษาประธานอาเซียน หลังลงพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แสดงตนเกินขอบเขต ที่ควรจะเป็น หวั่นกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ