ประธานาธิบดีเรเจป ทายยิป แอร์โดอัน ยอมรับว่ารัฐบาลของเขาตอบสนองต่อสถานการณ์ภัยพิบัติช้าเกินไป ทำให้ยอดเสียชีวิตจากแผ่นดินไหวในประเทศยังคงพุ่งสูง แม้จะผ่านไปแล้วเกือบ 3 วัน

เจ้าหน้าที่กู้ภัยใช้มือเปล่าขุดลงไปเพื่อเข้าถึงเด็กชายคนหนึ่งภายใต้ซากปรักหักพังของอาคารที่พังทลายของเมืองจินเดย์ริส ในพื้นที่ที่ยึดครองโดยกลุ่มกบฏซีเรีย เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ทั้งนี้พื้นที่ดังกล่าวยากแก่การเข้าถึงเพื่อให้ความช่วยเหลือได้ เพราะมีความไม่ปลอดภัยจากการสู้รบและประเด็นการเมืองในประเทศ (Photo by Bakr ALKASEM / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 กล่าวว่า ประธานาธิบดีเรเจป ทายยิป แอร์โดอัน ของตุรเคีย ยอมรับความบกพร่องของรัฐบาล หลังถูกวิจารณ์ว่าตอบสนองต่อเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ช้าเกินไป ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้จะผ่านไปแล้วกว่า 72 ชั่วโมงก็ตาม
ตัวเลขผู้เสียชีวิตรวมล่าสุดจากเหตุแผ่นดินไหวใหญ่อยู่ที่ 12,099 ราย แบ่งเป็น 9,057 รายในตุรเคีย และ 3,042 รายในซีเรีย
พื้นที่ภัยพิบัติในตุรเคียหยุดการขยายตัว และสถานการณ์เริ่มนิ่งแล้ว แต่เศษซากความเสียหายขนาดมหึมายังคงเป็นอุปสรรคในการขุดค้นหาผู้รอดชีวิต ที่เวลาผ่านไปเท่าไหร่ โอกาสในการอยู่รอดยิ่งน้อยลงเรื่อยๆ และจะแปรผันไปเป็นยอดผู้เสียชีวิตนั่นเอง
ปฏิบัติการสาธารณภัยยังคงดำเนินต่อไปท่ามกลางอากาศที่หนาวไม่รู้จบ ถึงแม้ผู้ประสบภัยจะได้รับการบรรเทาทุกข์จากนานาชาติบ้างแล้ว แต่ปัญหาหลักคือการไล่ขุดซากปรักหักพังเพื่อหาผู้รอดชีวิต ซึ่งไม่มีใครบอกได้ว่าควรจะจบลงเมื่อไหร่
ผู้รอดชีวิตในบางพื้นที่ที่ห่างไกลยังคงถูกทอดทิ้งให้ต้องแย่งชิงอาหารและที่พัก และในบางกรณีก็ต้องเฝ้าดูหลายๆชีวิตค่อยๆจากไปอย่างสิ้นหวังใต้ซากปรักหักพังที่ความช่วยเหลือมาไม่ถึง ซึ่งหลายฝ่ายกังวลว่าตัวเลขผู้เสียชีวิตหลังจากนี้บางส่วนอาจจะมาจากใต้ซากอาคาร และบางส่วนอาจเคยรอดชีวิต แต่ต้องมาตายข้างถนนแทนเพราะไม่ได้รับการบริบาล
เนื่องจากความสูญเสียมีมากกว่าความช่วยเหลือ โดยเฉพาะการขาดแคลนด้านบุคลากรและเครื่องจักรในการขุดเจาะและเคลื่อนย้ายซากปรักหักพัง เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายต้องยอมรับว่ายอดผู้เสียชีวิตจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ อยู่ที่ว่าจะหยุดนับเมื่อใด
ในซีเรีย เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหประชาชาติเรียกร้องให้มีการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงความช่วยเหลือไปยังพื้นที่ที่กลุ่มกบฏยึดครองทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ และเรียกร้องให้ยุติประเด็นทางการเมืองลงชั่วคราวเพื่อทุ่มเทด้านมนุษยธรรม พร้อมความกังวลที่ว่า นอกจากจะเข้าไม่ถึงพื้นที่ช่วยเหลือ สิ่งของบรรเทาทุกข์ต่างๆก็เริ่มร่อยหรอลงแล้วเช่นกัน
ล่าสุด สหภาพยุโรปกำลังวางแผนจัดการประชุมเปิดรับการบริจาคในเดือนมีนาคม เพื่อระดมความช่วยเหลือจากนานาชาติให้แก่ตุรเคียและซีเรีย ซึ่งในเวลานั้นคงเป็นเรื่องของการฟื้นฟูหลังภัยพิบัติไปแล้ว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ยูเครนป่วนสหภาพยุโรป ด้วยการแฉรายชื่อผู้สนับสนุนสงครามฝ่ายรัสเซีย
การเปิดเผยรายชื่อผู้ต้องสงสัยว่า “ให้การสนับสนุน” สงครามการรุกรานของรัสเซียล่าสุด ทำให้เกิดความปั่นป่วนในยุโรป หนึ่งในนั้นมีบริษัทใหญ่ของเยอรมนีอยู่ในลิสต์ด้วย
นายกฯ ห่วงคนไทยในญี่ปุ่น ระวังอาฟเตอร์ช็อก เหตุแผ่นดินไหวรุนแรงใกล้กรุงโตเกียว
นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่น ห่วงใย สั่งการดูแลคนไทยที่ญี่ปุ่นหากได้รับผลกระทบ หรือเกิด aftershocks
ซีเรียกลับสู่สันนิบาตอาหรับ ชัยชนะกลับมาเป็นของ 'บาชาร์ อัล-อัสซาด' อีกครั้ง
เมื่อปี 2011 ซีเรียถูกขับออกจากสันนิบาตอาหรับ หลังจากบาชาร์ อัล-อัสซาดปราบปรามกลุ่มประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย จนถึงทุกวันนี้สงครามกลางเมืองในซีเรียยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงอย่างสมบูรณ์
อึ้ง! เศรษฐาแจกแม้แต่ต่างชาติ ขายฝัน 'อียู' ผุดเขตธุรกิจใหม่ยกเว้นภาษีทุกประเภท
'เพื่อไทย' รับคณะทูตอียู 15 ประเทศ ขายฝันนโยบายเขตธุรกิจใหม่ นำร่อง 4 จังหวัด ยกเว้นภาษีทุกชนิดทั้ง ภาษีนำเข้า ภาษีรายได้ส่วนบุคคล ภาษีนิติบุคคล และภาษีที่ดิน